Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
efinanceThai - สำนักข่าวหุ้น และการลงทุน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
2 พ.ค. เวลา 08:05 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รมว.คลัง ยังหวังจีดีพี Q1/68 โตเกิน 2.5% เล็งทบทวนงบปี 69-ดิจิทัลวอลเล็ต เตรียมรับมือภาษีทรัมป์
พิชัย” ประเมินจีดีพีไตรมาส 1/68 เติบโตเกิน 2.5% ยอมรับเศรษฐกิจไทยตกหลุมอากาศชั่วคราว พร้อมทบทวนงบปี 69 - ดิจิทัลวอลเล็ต และโครงการไม่เร่งด่วน หวังนำเงินมาใช้บรรเทาผลกระทบภาษีทรัมป์
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/68 จะขยายตัวได้เกิน 2.5% หรือมีโอกาสขยายตัวได้ใกล้เคียงที่ระดับ 3% ได้
ขณะที่ผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐ ยอมรับว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และรุนแรง ดังนั้นสิ่งที่ไทยจะต้องเร่งดำเนินการ คือ กลับมาพิจารณาว่า ไทยจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงน้อยที่สุด
“เชื่อว่า เหตุการณ์เกิดครั้งนี้รุนแรง เกิดขึ้นไปทั่วโลก เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงเป็นรายวัน มีความเชื่อว่า สุดมท้ายแล้ว โลกน่าจะกลับไปประสานอยู่ร่วมกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเศรษฐกิจ จะตกหลุมอากาศชั่วคราว ในช่วง 6 เดือนแรก หลุมอากาศจะใหญ่แค่ไหนคงต้องดูหลังจากนี้ และต้องประเมินไปข้างหน้า”นายพิชัย กล่าว
ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รัฐบาลจะเตรียมมาตรการเพื่อบรรเทา และรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการทบทวนงบประมาณประจำปี 69 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะนำมาทบทวนว่า มีโครงการไหนบ้างที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วน จะมาปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับกับโครงการที่เร่งด่วนก่อนได้หรือไม่
“ส่วนการกู้หนี้ หรือ การสร้างหนี้ใหม่ ยืนยันว่า จะไม่ทำถ้าไม่มีความจำเป็น ตอนนี้ที่มองคือ การทบทวนงบปี 69 ถ้าอันไหนยังไม่เร่งด่วน ก็นำมาใช้ในโครงการอื่นก่อน ส่วนการทบทวนโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้น คงต้องให้หน่วยงานกลับไปพิจารณาดูก่อน ตอนนี้ยังพูดไม่ได้” นายพิชัย กล่าว
ด้านการแก้ไขหนี้ ผ่านโครงการคุณสู้ เราช่วยนั้น ภายในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. นี้ จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาปรับเกณฑ์ และเงื่อนไขในโครงการดังกล่าว เพื่อให้ครอบคลุมลูกหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเงื่อนไขมาตรการจ่าย ปิด จบ ที่กำหนดเงื่อนไขสำหรับลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (NPL)
แต่มียอดหนี้คงค้างไม่สูง ไม่เกิน 5 พันบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ขั้นต่ำเพียง 10% ของยอดหนี้คงค้าง เพื่อปิดหนี้ได้ทันที โดยเบื้องต้นจะมีการปรับเพิ่มวงเงินหนี้คงค้างเป็น 1-3 หมื่นบาทต่อบัญชี เพื่อให้ครอบคลุมลูกหนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ จะมาดูแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สำหรับมูลหนี้ต่ำกว่า 100,000 บาท แบ่งเป็นลูกหนี้จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยเฉพาะ ธนาคารออมสินประมาณ 4 แสนกว่าราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ประมาณ 6.7 หมื่นราย โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้คงค้างนานมาก จะนำมาพิจารณาเงื่อนไขเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป ส่วนลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ วงเงินรวมราว 1 หมื่นล้านบาท ก็อาจจะต้องไปหารือว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ด้านลูกหนี้ในกลุ่มนอนแบงก์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด วงเงินรวมราว 7-8 หมื่นล้านบาท ยอมรับว่าอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เบื้องต้นจะต้องหารือรายละเอียดกับนอนแบงก์แต่ละแห่ง โดยต้องมีการแยกประเภทลูกหนี้ เพื่อหารือถึงแนวทางในการแก้ไขต่อไป
ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มที่หนี้มีมากกว่า 100,000 บาท ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2 ล้านคน โดยพบว่ามีจำนวนถึง 5 แสนราย ที่มีหนี้มากกว่า 1 ล้านบาท ดังนั้นจะต้องเร่งหารือกับ สถาบันการเงินเพื่อพิจารณาถึงแนวทางในการให้ความช่วยหลือที่เหมาะสม ซึ่งเบื้องต้นมองว่าการปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
เศรษฐกิจ
การลงทุน
หุ้น
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย