2 พ.ค. เวลา 08:47 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Agile ยังอยู่ แต่ตลาด Agile อาจไม่กลับมาอีกแล้ว?

(เมื่อ AI เข้ามาเปลี่ยนเกมการขายหรือขยายของคำว่า Agile ในตลาด)
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา “Agile” เคยเป็นคำตอบของการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกต่างโหมลงทุนในการทำ Agile Transformation เพราะต้องการภาพลักษณ์ที่ทันสมัย มีวิสัยทัศน์ และแสดงถึงความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล แต่มาถึงวันนี้ “ตลาด Agile ที่เราเคยรู้จัก อาจจะไม่มีวันกลับมาอีก?”
====
💬  “ตลาด Agile จะไม่ฟื้นกลับมาอีก?”
ในบทความ The Agile Market is Not Coming Back ของ Jose Casal (https://businessagilityreview.substack.com/p/the-agile-market-is-not-coming-back) เขาระบุชัดว่า “ยุคทองของ Agile ที่องค์กรทุ่มงบมหาศาลเพื่อเปลี่ยนวิธีทำงาน ได้สิ้นสุดลงแล้ว และจะไม่กลับมาอีก เพราะแท้จริงแล้ว หลายโครงการ Agile Transformation ในอดีต ไม่ได้ตั้งใจเปลี่ยนองค์กรอย่างแท้จริง แต่เป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารดู “กลยุทธ์” และ “ทันสมัย” มากกว่า”
“Agile ในยุคที่ผ่านมาเลยกลายเป็น “สิ่งที่ควรมี” เพื่อสร้างภาพลักษณ์ มากกว่า “สิ่งที่สร้างคุณค่า” จริงๆ สังเกตุได้ในยุคที่ผ่านมา ผู้บริหาร หรือผู้นำองค์กรมักพูดว่า “ต้องทำ Agile”, “องค์กรต้อง Agile” เป็นต้น
====
🤖 AI: ปรากฏการณ์ใหม่ที่เข้ามาแทนที่
Casal ชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา โลกธุรกิจเผชิญหลายวิกฤติ — ทั้งผลกระทบจากโควิด-19 สงครามในยูเครน และปัญหาทางเศรษฐกิจ
“ทำให้ความสนใจใน Agile ถดถอยลง แต่สิ่งที่เข้ามาแทนที่ทันทีคือ AI”
เพราะ AI กลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของความก้าวหน้า ผู้บริหารที่เคยผลักดัน Agile หรือ Buzzword เทคโนโลยีอื่นๆ ทั้ง Web3, Metaverse, Blockchain, Crypto currency เป็นต้น ต่างเบนเข็มมาสู่โครงการ AI แทน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางกลยุทธ์ หรือเพื่อสร้างภาพลักษณ์ทันสมัยเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นโครงการด้าน Machine Learning, Data Strategy หรือ Generative AI ที่สามารถดึงดูดงบประมาณจำนวนมากในระดับ C-suite ได้ทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ผลลัพธ์ระยะสั้นมากนัก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ครั้งหนึ่งเคยผลักดันตลาด Agile ในอดีต
====
🔄 Agile ยังอยู่ แต่รูปแบบเปลี่ยนไป!
Casal ไม่ได้บอกว่า Agile หมดความจำเป็น — ในทางตรงกันข้าม เขาระบุว่า “Agility is not going to disappear. It is essential.” แต่ Agile ที่องค์กรต้องการวันนี้ ไม่ใช่ Agile ที่อยู่แค่ระดับทีมแบบในอดีต
Agile แบบเดิม (เช่น Scrum, Kanban หรือ SAFe) อาจไม่เพียงพออีกต่อไป วันนี้องค์กรต้องการ “Business-level Agility” ที่วัดผลได้จริง ไม่ใช่แค่มี stand-up meeting หรือ retrospective แบบพิธีกรรม
และไม่ใช่เพียงแค่การทำให้ flow การทำงานไหลลื่น แต่ต้องเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ด้านธุรกิจ เช่น ลดเวลาส่งมอบ (Time-to-Market), เพิ่มรายได้จากนวัตกรรมใหม่ หรือแม้แต่ลด churn rate ของลูกค้า
====
🎯 จาก “Agile ที่ดูดี” สู่ “Agile ที่ได้ผลจริง”?
คำถามสำคัญที่ Casal ชวนคิดคือ ‘Agile ที่เคยเป็น “แฟชั่นองค์กร” กำลังถูกแทนที่ด้วยสิ่งที่ตอบโจทย์ได้ชัดเจนกว่า นั่นคือ AI และระบบที่วัดผลเป็นรูปธรรมได้ทันที เช่น real-time analytics, automation, และ data-driven prioritization’
องค์กรไม่ต้องการ “ทีม Agile” ที่แค่ทำให้ดูเหมือนคล่องตัวอีกต่อไป แต่ต้องการระบบที่ส่งผลต่อรายได้ ลดความเสี่ยง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างชัดเจน
และนั่นหมายความว่า คนทำงานสาย Agile ต้องเปลี่ยน mindset จาก “ขับเคลื่อนทีม” ไปสู่ “ขับเคลื่อนระบบธุรกิจ” ด้วย
====
🧩 ทักษะใหม่ของคนทำงาน Agile ในยุคนี้
หากคุณยังอยู่ต้องทำงานเกี่ยวกับ Agile สิ่งที่ควรทำไม่ใช่รอให้ตลาดเดิมกลับมา แต่ต้อง “upskill” ครั้งใหญ่
* 🔄 เข้าใจการทำงานในระดับองค์กร (Flow-based management)
* 🧠 ใช้ระบบคิดแบบ Systems Thinking
* 📊 วัดผลด้วย Business Outcomes ไม่ใช่แค่ Story Point
* 🤖 ผสาน Agile เข้ากับ AI และระบบอัตโนมัติ
* 🎯 ทำ Agile ให้ตอบโจทย์ธุรกิจ ไม่ใช่พิธีกรรม
* 📈 เข้าใจวิธีใช้ Data และ UX เพื่อ feedback-loop ที่เร็วขึ้น
====
🇹🇭 แล้วประเทศไทยล่ะ? เราเรียนรู้อะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้นบ้าง?
ที่ผ่านมา องค์กรจำนวนมากในไทย “ซื้อ” Agile Transformation เพราะเชื่อในโมเดลจาก Consult ทั้งในและต่างประเทศ หลายองค์กรลงทุนงบประมาณจำนวนมาก ทำเวิร์กช็อปหลายรอบ ติดตั้ง Scrum Master และ Product Owner ตามตำรา แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่ได้กลับเป็นแค่ “Agile Theatre” — คือการแสดงออกว่าองค์กรเป็น Agile แต่ไม่สามารถส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ชัดเจนได้
“Agile แบบนี้ไม่ช่วยลดเวลา ไม่ช่วยลดต้นทุน และไม่ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้นด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นภาระ เพราะกระบวนการและพิธีกรรมที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับความเป็นจริง”
ในขณะที่องค์กรชั้นนำระดับโลก เช่น Amazon, Spotify หรือ Uber เดินหน้าสร้างระบบที่ deploy ได้รายวัน วัดผลได้แบบ near real-time — องค์กรในไทยหลายแห่งยังวนเวียนอยู่กับ stand-up ที่ไม่มีเป้าหมาย business outcome ชัดเจน หรือ retrospective ที่จดไว้แต่ไม่เคยนำไปใช้
Agile ที่ประสบความสำเร็จในไทยมีเพียงหยิบมือเท่านั้น และมักเกิดจากทีมภายในที่เข้าใจปัญหาธุรกิจ และลงมือพัฒนาแบบ iterative จริงๆ มากกว่าเป็นผลจาก “Agile Package” จากภายนอก
องค์กรไทยจึงควรทบทวนอย่างจริงจังว่า เราต้องการ “Agile เพื่อให้ดูดี” หรือ “Agile เพื่อให้ได้ผล”
====
📌 ดังนั้น Agile จะอยู่รอด แต่คุณต้องเปลี่ยน!!!
Agile ไม่ได้ตาย แต่ตลาดที่เคยมีงาน Agile Transformation ใหญ่ๆ เต็มไปหมด อาจไม่กลับมาอีก ดังนั้น คำถามสำคัญคือ
“คุณยังทำ Agile แบบเดิมอยู่หรือเปล่า?”
“คุณกำลังสร้างคุณค่าทางธุรกิจ หรือแค่สร้างภาพ?”
“คุณใช้ Agile เพื่อเรียนรู้จากผู้ใช้จริง หรือแค่ทำให้ผู้บริหารดูดี?”
Agile ยุคใหม่ต้องเป็นเครื่องมือที่สร้าง “ผลลัพธ์” ไม่ใช่ “ภาพลักษณ์”
และการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ อาจเป็นโอกาสดีที่สุดที่เราจะได้ทบทวน Agile ให้กลับมาเป็น “เครื่องมือที่มีความหมาย” อีกครั้ง — ไม่ใช่เพียง “สิ่งที่ดูดี” เท่านั้น
#วันละเรื่องสองเรื่อง
#Agile
#AITransformation
โฆษณา