Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TMO-SK
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 01:16 • ข่าว
ปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร เข้มงวด เฝ้าระวังป้องกันโรคแอนแทรกซ์ ในโค กระบือ แพะ แกะ
ในขณะนี้ พบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคแอนแทรกซ์ที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกตาหาร 1 ราย โดยผู้ป่วยรายดังกล่าว ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลดอนตาล และย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลมกดาหาร ด้วยอาการแผลมือขวา ต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้ขวา ผู้ป่วยมีประวัติชำแหละ และรับประทานเนื้อโคดิบ
โดยแพทย์วินิจฉัยเบื้องตัน คือ septic shock และ ต่อมา ได้รับผลทางห้องปฏิบัติการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธกรณสุข ยืนยันตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย (bacillus anthracis) ซึ่งเป็นสาเหตุ
โรคแอนแทรกซ์ (anthrax) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย (bacillus antharacis) สัตว์ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือหญ้าเข้าสู่ร่างกาย หรือ จากการกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อปะปนเข้าไป เมื่อเชื้อเข้าตัวสัตว์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นพร้อมสร้างสารพิษให้สัตว์ป่วย และตายในที่สุด
ในระหว่างสัตว์ป่วยเชื้อขับออกมาทางอุจจาระปัสสาวะหรือน้ำนม เมื่อทำการเปิดป่าซากเนื้อสัมผัสกับอากาศจะสร้างสปอร์ ทำให้คงทนในสภาพแวตล้อมได้นาน โค กระบือ แพะ แกะ ที่ป่วยมีอาการแบบเฉียบพลัน คือ สัตว์ป่วยจะตายอย่างรวดเร็ว มีเลือดสีดำคล้ำไหลอออกตามทวารต่าง ๆ ซากไม่แข็งตัว สำหรับคนที่ทำการผ่าซาก หรือบริโภคเนื้อสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้แบบสุก ๆ ดิบ ๆ จะพบแผลหลุมตามนิ้วมือ แขน หรือช่องปาก และมีอากาการเจ็บปวดในช่องท้อง โรคนี้ทำให้คนตายได้หากตรวจพบโรคช้า
สำหรับสถานการณ์ ณ ปัจจุบันจากการเฝ้าระวังและค้นหาโรค ยังไม่พบสัตว์ป่วยตายผิดปาติในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ส่วนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารได้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ เนื้อแห้ง หนังแห้ง ของสุกรและโค เนื้อสัตว์ และเลือดที่อยู่บนเขียงที่ใช้ในการขำแหละ อุจจาระของโคเพื่อส่งตรวจหาเชื้อที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร ขอความร่วมมือเกษตรกรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ หากพบสัตว์แสดงอาการอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุแบบเอียบพลัน ห้ามเปิดผ่าซาก ห้ามเคลื่อนย้ายซากหรือชำแหละเพื่อการบริโภค ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ในพื้นที่ หรือ โทรศัพท์ 0 4271 1756 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข่าวที่ใช่ ต้องขยาย
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย