เมื่อวาน เวลา 10:18 • ความคิดเห็น

Gen ที่ควรเข้าใจ แต่ไม่ต้องตามใจ

ในที่ทำงานวันนี้ เราไม่ได้เจอแค่ความต่างของวัย
แต่เจอความต่างของ “วิธีการที่แต่ละคนเติบโตมา”
บางคนโตมากับสนามจริง ถูกปล่อยให้ล้มเอง เจ็บเอง รู้ว่าเงินที่ได้มาจากการยืนหยัดในวันเหนื่อยที่สุด
แต่บางคนโตมากับสนามจำลอง เต็มไปด้วยเบาะรอง, ร่มเงาของครอบครัว และคำว่า “ไม่เป็นไรลูก เดี๋ยวแม่จัดการให้”
เมื่อสองโลกนี้มาอยู่ร่วมกัน มันไม่ใช่แค่ความต่าง แต่มันคือความอึดอัดที่ไม่มีใครกล้าพูด มันคือความเงียบในวงประชุม
มันคือการแอบถอนหายใจเบา ๆ เวลาเด็กบางคนพูดคำว่า “รู้สึกว่าไม่ใช่ตัวเอง”
Gen Z ไม่ได้ผิดที่เกิดช้า
แต่บางคน อาจไม่เคยถูกฝึกให้พร้อมสำหรับโลกจริงเลย
พอเข้าสู่ระบบงานที่ต้องเจอคำว่า “รับผิดชอบ” ทุกวัน ที่ทำงานกลายเป็น shock therapy ทางอารมณ์
มีเจ้านายแปลว่ามีความกดดัน
มีเดดไลน์คือเริ่มรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
มีงานซ้ำ ๆหมายถึงเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนี้
เด็กบางคนไม่ได้เกลียดการทำงาน
แต่ไม่เคยต้องทำอะไร ต่อเนื่องจริงจังเลยตั้งแต่ต้น ความเหนื่อย แปลสัญญาณได้ว่าโลกผิด
ซึ่งไม่ใช่กระบวนการปกติของการเติบโตของเขา
ข้อมูลจาก Deloitte Global 2023
พบว่า Gen Z ทั่วโลกให้ความสำคัญกับ สุขภาพจิต มากเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะในที่ทำงาน
และกว่า 40% รู้สึกเครียดกับการจัดการงานประจำวัน ซึ่งสะท้อนว่าความเปราะบางนี้ เป็น global pattern ไม่ใช่แค่เรื่องในไทย
ไม่ใช่แค่ช่องว่างของวัย
แต่มันคือระบบที่ผลิตความเปราะบาง
เด็กบางคน โตมากับบ้านที่พ่อแม่ห่วงตลอดเวลา ห่วงจนลูกไม่เคยเจอคำว่าอดทน พ่อแม่บางคนพูดว่า
“ลูกจะไม่ต้องลำบากแบบฉันอีกต่อไป”
แล้วก็ลงเอยด้วยการลบล้างโอกาสในการฝึกอดทนทุกอย่าง
เด็กบางคนไม่เคยล้างจานเอง ไม่เคยเดินทางเอง
ไม่เคยต้องคุยกับคนแปลกหน้า ไม่เคยโดนปฏิเสธแล้วต้องลุกขึ้นด้วยตัวเอง
McKinsey เคยตั้งข้อสังเกตว่า
Gen Z ต้องการพื้นที่ทำงานที่ ไม่บาดใจ มากกว่าที่จะเติบโตแบบรวดเร็ว และเมื่อขาดพื้นที่สะดวกใจ การปะทะกับ feedback ตรง ๆ กลายเป็นเรื่อง trigger
แล้วองค์กรต้องรับมือ ลูกของใคร?
เด็กบางคนเข้าสู่องค์กรพร้อม mindset ที่เชื่อว่า
งานควร flexible เหมือนที่บ้าน เจ้านายควรเข้าใจเขาโดยไม่ต้องอธิบาย
“ยังไม่พร้อม” คือเหตุผลที่เพียงพอแล้วสำหรับการพลาดเดดไลน์
ทีมเริ่มต้องพยุง พยุงงานแทนในวันที่เขาขอลา
พยุงอารมณ์ในวันที่เขาเงียบ พยุงบรรยากาศประชุมเพราะไม่มีใครกล้าพูดตรง
เหตุการณ์ที่หลายทีมเคยเจอ
1. ประชุมที่เงียบสนิท เดิมทุกคนเสนอ feedback ได้ตรงไปตรงมา แต่เมื่อน้องใหม่เข้ามา ทีมเริ่มกลัวว่า “พูดแรงไป เด็กจะลาออก” จบลงด้วย “โอเคค่ะ” ทั้งที่ไม่มีใครโอเคจริง
2. ลางานกะทันหันจาก ‘mental not ready’
มีโปรเจกต์เร่งด่วนที่ต้องส่ง น้องส่งไลน์บอกว่า “ยังไม่พร้อมทางใจ ขอ off หนึ่งวัน”
ทีมต้องเร่งทำแทน โดยไม่มีคำขอโทษ
3. ลาออกเพราะ ไม่ใช่ตัวเอง
ผ่านโปรเพียงไม่กี่วัน ก็ลาออกโดยให้เหตุผลว่า
“รู้สึกว่างานไม่ตรง passion”
ทั้งที่ยังไม่เคยรับผิดชอบงานใดเต็มรูปแบบ หรือเสนออะไรเลย
Gallup รายงานว่า
Gen Z และ Millennials มีแนวโน้มลาออกสูงที่สุด
โดยมี “emotional mismatch” เป็นเหตุผลหลัก
แม้จะยังอยู่ในช่วงทดลองงาน
ในขณะที่ คนดี ๆในทีมเริ่มรู้สึกว่า
ฉันทำงานหรือฉันกำลังเลี้ยงเด็ก?
คนรุ่นกลางเหนื่อย ไม่ใช่เพราะเด็กไม่เก่ง แต่เพราะบางคนไม่เคยพยายามจะโตเลย
ไม่ใช่ทุกคนใน Gen Z จะอ่อนแอ
เด็กดี ๆ มีอยู่จริง และพวกเขาน่ายกย่องมาก
บางคนโตมาแบบเดียวกัน แต่เลือกจะลุกไม่ใช่นอนรอ บางคนไม่มีพ่อแม่คอยช่วย แต่ใช้ความเงียบฝึกฝนตัวเอง
บางคนเหนื่อยพอ ๆ กันกับคนรุ่น X,Y หรืออาจเหนื่อยกว่า แต่ไม่เคยพูดคำว่า ทำไมไม่มีใครเข้าใจฉันเพราะเขารู้ว่า
เราโต เมื่อเรายอมแบกอะไรบางอย่างโดยไม่บ่น
เด็กเหล่านี้ไม่ร้องขอ empathy แบบสำเร็จรูป
เขายอมรับความเหนื่อยเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง และนั่นคือความแข็งแรงเงียบ ๆ ที่สวยงามที่สุด
ถ้าองค์กรอยากรอด ต้องไม่ลูบหัว
การอยู่ร่วมกันระหว่างรุ่นไม่ใช่ปัญหา
แต่การไม่กล้า feedback กันเลยต่างหากที่เป็นปัญหา
องค์กรที่อยากเติบโต ต้องแยกระหว่าง “การเข้าใจ” กับ “การตามใจ”
ต้องให้คนดี ๆ พูดได้ โดยไม่ถูกทำให้รู้สึกผิด
ต้องกล้าพูดตรงกับคนที่ไม่พร้อมจะเหนื่อย
แม้รู้ว่าเขาอาจไม่อยู่ต่อ
ถ้าเราเงียบเพราะกลัวเขาลาออก แปลว่าเรากำลังบอกว่า
ความจริงไม่สำคัญเท่าความอยู่รอดระยะสั้น
เด็กที่ดี ที่พร้อมจะปีนขึ้นมาได้ แม้ไม่เอามือเราไปดึง สิ่งที่เด็กดีต้องการ ไม่ใช่การโอ๋ แต่คือระบบที่บอกว่า
“เหนื่อยได้ แต่อย่าปฏิเสธความจริง”
“อ่อนแอได้ แต่อย่าปลอมว่ามันคือจุดแข็ง”
เราต้องสร้างพื้นที่ให้พวกเขาเหนื่อยอย่างมีศักดิ์ศรี
และให้คนที่พยายามลุกได้มีที่ยืนโดยไม่ต้องเหนื่อยเพิ่มจากการต้องแบกคนที่ไม่ลุกเลย
ไม่ใช่ Gen Z ทุกคนจะเปราะบาง
แต่ถ้าเราไม่กล้าพูดกับคนที่เปราะบางเกินไป
เด็กที่เข้มแข็งจริง ๆ จะไม่มีที่ให้ยืนเลย
ถึงเวลาให้ feedback จริง ๆ แล้วหรือยัง?
ในที่ประชุมครั้งต่อไป
กล้าพูดไหมว่า ว่างานวันนี้ยังไม่ผ่าน โดยไม่ต้องห่วงว่าใครจะรู้สึกเสียใจ
ในทีมของคุณ กล้า feedback ไหมว่า เราไม่ควรปล่อยให้ใครทิ้งทีมกลางคันโดยไม่มีเหตุผล โดยไม่ต้องกลัวว่าเขาจะบอกว่า คุณไม่เข้าใจ Gen Z
ถ้าเรายังพูดไม่ได้ แปลว่าเราไม่ได้ทำงานร่วมกัน
แต่กำลังอยู่ในระบบที่ต้อง อุ้มความอ่อนไหวตลอดเวลา
ความเข้าใจไม่ได้เท่ากับการยอมจำนน
เราทุกคนโตมาต่างกัน แต่เมื่อเข้ามาในระบบเดียวกัน เราควรยืนด้วยมาตรฐานเดียวกัน เหนื่อยได้ พักได้ ถอยได้ แต่ต้องรู้ว่า
โลกจริงไม่ได้จ่ายเงินให้คนที่ยังไม่พร้อม โลกจริงไม่ได้หยุดหมุนเพื่อรอให้ใครที่ยังรู้สึกไม่พร้อมจะโต
คำถามสุดท้าย
คุณกำลังทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หรือกำลังเลี้ยงคนที่ไม่เคยเรียนรู้ว่าความรับผิดชอบคืออะไร?
แล้วถ้าคุณพูดความจริงวันนี้ไม่ได้ จะพูดได้อีกทีเมื่อไหร่?
#GenZ
#โลกการทำงาน
#เจ้านายพูดได้ไหม
#ความจริงในที่ทำงาน
โฆษณา