Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
“วันละเรื่องสองเรื่อง”
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 12:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Agile ในประเทศไทย “มาเรียนรู้อดีตเพื่อก้าวให้ถูกทางกัน” 🚀📚🔍
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Agile เคยเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยในองค์กรไทย ถึงขนาดที่ว่า “องค์กรไหนไม่พูดว่ากำลังทำ Agile นี่จะเหมือนองค์กรโบราณทันที” แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคของ AI และเทคโนโลยีอัตโนมัติแบบก้าวกระโดด คำถามที่สำคัญที่เปลี่ยนไป คือ
“Agile ที่องค์กรไทยลงทุนไปมหาศาลนั้น… ได้ผลจริงหรือเปล่า?” 🤔🌏🧠
* จากรายงานของ AWA Global ปี 2024 พบว่ามีเพียง 9% ขององค์กรไทยที่ทำ Agile ได้ผลจริง
* ขณะที่ค่าเฉลี่ยโลกจาก BCG ระบุว่า ROI ของ Agile Transformation อยู่ที่ 50% 🔢🌐📉
* ตัวเลขนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงความห่างของประสิทธิภาพ แต่ยังตอกย้ำว่า "Agile ที่ทำ และลงทุนในไทยกว่าทศวรรษอาจไม่ได้แก้ปัญหาธุรกิจจริงเลย" ❗📉🔍
====
สิ่งที่องค์กรไทยกำลังเข้าใจผิด คือ “Agile ไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์ที่ซื้อได้” 🎭⚠️💸
องค์กรไทยจำนวนมากเริ่มต้นการทำ Agile จากการลอกต้นแบบจากต่างประเทศ โดยไม่ปรับให้เข้ากับบริบทไทย
* ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ Framework อย่าง SAFe หรือ LeSS มาทั้งชุด
* หรือติดตั้ง Scrum โดยไม่เปลี่ยนแปลง
* หรือจ้าง Consult ที่สัญญาว่าจะเปลี่ยนองค์กรได้ในไม่กี่เดือน แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือความสับสน งบประมาณที่สูญเปล่า และพิธีกรรมที่ไม่มีใครเข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร? 🛑🔄💼
ตัวอย่างจาก - บริษัทซอฟต์แวร์รายหนึ่งที่หวังจะเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรด้วย Agile แต่กลับสร้างระบบราชการขนาดย่อมในชื่อ “คณะกรรมการ Agile” แทน ผลคือ Roadmap ที่ควร deploy ทุกเดือน กลายเป็นแค่สไลด์ที่ค้างในห้องประชุมหลายเดือน ✋📄💤
ที่น่าเจ็บกว่านั้น คือหลายองค์กรไทยถูกหลอกให้ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น บอกว่า “ทำ Agile ต้องมี Jira Enterprise”, “ทำ Agile ต้องมี Slack”, “ต้องทำ Automation Test”, “ต้องทำ DevOps” หรือ “ต้องซื้อกระดานลากเส้นกับ Post-it สีรุ้งเต็มบริษัท”
“ทั้งที่ Agile คือ mindset และความสามารถในการส่งมอบ ไม่ใช่เครื่องมือหรือบรรยากาศ” 🤹♂️💰📉
====
ทำไม Agile ถึงกลายเป็นแค่ “พิธีกรรมที่ดูดี” มากกว่า “วิธีเปลี่ยนองค์กร”? 🎭⚙️💡
“Agile คือคำตอบจริงไหม? หรือแค่พิธีกรรมที่ทำให้เรารู้สึกทันสมัย” 🧘♂️🪄🖼️
หลายองค์กรไทยทุ่มเงินหลายสิบล้านบาท (บางที่เป็นร้อยล้านบาท) เพื่อจัดตั้ง Agile Transformation Office พร้อมตั้งคณะกรรมการ Agile ที่ดูดีในโครงสร้างองค์กร แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่า “ทีมยังออก product ได้ช้า แถมช้ากว่าเดิม” เพราะมีขั้นตอนการทำงาน หรือข้ออ้างในกระบวนการใหม่เต็มไปหมด เช่น ทุกฟีเจอร์ต้องผ่านการอนุมัติหลายขั้นตอนขึ้น 🧱🛑🐌
====
ความจริงที่ควรยอมรับเกี่ยวกับ Agile ในบ้านเรา 🧠🚪📉
1. “Agile ไม่ได้เหมาะกับทุกทีมเสมอไป” 🧮🏛️⚖️
* ไม่ใช่ทุกงานต้อง Agile—เช่น งานที่เกี่ยวกับกฎหมาย การเงิน หรือความปลอดภัยสูง สิ่งที่องค์กรควรทำคือเลือกใช้ Agile “เฉพาะจุด” ไม่ใช่ใช้ “แบบครอบจักรวาล” 🔍🎯🔐
2. “Product Owner ตำแหน่งงานใหม่สุดฮิตที่สร้างขึ้นมากลับไม่มี Ownership จริงตามชื่อ”📱🚫🔐
* PO ที่มีตำแหน่ง แต่ไม่มีอำนาจจริง ต้องขออนุมัติจากทุกทิศ จนกลายเป็นเพียง "ผู้ประสานงาน" มากกว่า "เจ้าของผลิตภัณฑ์"
3. “Scrum Master ที่ไร้อนาคต” 🧍♀️📉🕳️
* กลายเป็นตำแหน่งที่ถูกลดความสำคัญ เหลือเพียงคนจองห้องประชุมและจดบันทึก
4. “มักทำแต่ทีมเล็ก ขาดการเชื่อมกับ Strategy หรือ Business KPI” 🎯🧩⛓️
* ทีม Agile ไม่รู้ว่าองค์กรจะไปทางไหน ทำให้แม้จะทำงานเร็ว แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ธุรกิจ
5. “บทบาทหน้าที่ซ้ำซ้อนไปหมด เช่น บทบาท PO–BA–Scrum Master–UX–PM” 🔁👥📉
* ทีมงง ใครคือตัวตัดสินใจ และสุดท้ายกลายเป็นการโทษกันเองเมื่อของไม่ออก 🧩🤔📛
6. “วัฒนธรรม Hierarchical ขวางทาง Agile” 🧱🏢🚫
* ต้องเซ็นผ่าน 7 ชั้นก่อน deploy ทำให้ lose momentum หมดความ Agile ไปตั้งแต่เริ่มต้น
7. “วัดผลผิดเป้า” 📊🎯📉
* ยังวัด story point, velocity มากกว่าการวัด Business Impact เช่น Revenue, NPS, หรือ Lead Time จริงๆ
8. “ผู้บริหารยังเข้าใจผิด และพูดกันติดปากว่า Agile ต้อง “เร็วและเปลี่ยนแปลงได้” ทันที” 💨💸❌
* พอ Agile ไม่ให้ผลลัพธ์ทันที หลายองค์กรก็เลิก ทั้งที่ Agile ต้องการเวลาเรียนรู้และปรับตัว
9. “ขาดการสร้าง Talent จริงจัง เพราะเน้นว่าต้องมี Role ให้ครบก่อน” 🤹♀️🧠🔍
* ต้องทำทั้ง BA + PO + PM ในคนเดียว ผลคืองานไม่ลึก ไม่แม่น และคุณภาพโดยรวมตก
“Framework สำเร็จรูปไม่เข้ากับไทย” 🇺🇸📦🇹🇭
* ใช้ Scrum, SAFe หรือ LeSS ตรงๆ โดยไม่ปรับให้เข้าบริบทไทย = "Agile Theatre” 🎭🧳🪞
====
ทางรอดของ Agile ที่แท้จริงต้อง “สร้างใหม่จากความเข้าใจ ไม่ใช่ลอกแบบ” 🛠️🏗️🧭
ทางออกคืออะไร?
* 🔍 เลือกใช้ Agile ให้ตรงบริบท เช่น ใช้เฉพาะ Product, R&D หรือหน่วยที่ต้อง iterate
* 📈 เชื่อม Agile เข้ากับ Business Outcome ไม่ใช่ ritual
* 🎯 นิยามเส้นทางอาชีพให้ชัด เช่น PO หรือ Scrum Master จะโตเป็นอะไรในองค์กร?
* 🤖 ผสาน Agile กับ AI, Lean, Automation
* 🧠 สร้างองค์กรที่กล้าลองผิดลองถูก และกล้าเปลี่ยนแนวคิดไม่ใช่มีเพียง top-down แบบเดิมๆ ไม่งั้นไม่ควรใช้ Agile
ตัวอย่างเช่น Spotify ที่ไม่ได้ทำ Agile เพื่อดูดี แต่ผูก Agile เข้ากับ OKR ระดับบริษัทชัดเจน 🔗📋🚀 หรือ “GovTech Singapore” ที่ทำ Agile กับระบบบริการประชาชน โดยวัดผลด้วย SLA และ CSAT แบบชัดเจน ไม่ใช่ความรู้สึก 😊📊🇸🇬
====
บทเรียนในทศวรรษที่ผ่านมาที่ต้องจำ 💥📘⚠️
Agile ไม่ใช่ยาอเนกประสงค์สำหรับทุกปัญหา และยิ่งไม่ใช่คำตอบถ้าใช้แบบพิธีกรรมโดยไม่ปรับให้เข้ากับองค์กรนั้นๆ
Agile ที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกบริบท ยังสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรไทยได้มาก — “ถ้าเรากล้ารื้อโครงสร้าง วัฒนธรรม และ mindset ที่ไม่ตอบโจทย์” 💡🚪🧭
องค์กรไทยไม่ต้องทำ Agile ให้ดูดีอีกต่อไป แต่ต้องทำ Agile ให้ "ได้ผลจริง"
====
อ้างอิง
* AWA Global, The future of Agile transformation in Thailand,
https://www.adventureswithagile.com/the-future-of-agile-transformation-in-thailand
* BCG, Why Companies Get Agile Right—and Wrong,
https://www.bcg.com/publications/2024/why-companies-get-agile-right-wrong
#วันละเรื่องสองเรื่อง #Agile
#Transformation
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย