Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungsri Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
6 พ.ค. เวลา 09:28 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปภาวะตลาดประจำสัปดาห์ที่ 28 เม.ย. – 2 พ.ค. 2568
ภาพรวม
●
ตลาดหุ้นฟื้นตัวจากความหวังเรื่องการเจรจาการค้า และการจ้างงานสหรัฐฯ ดีกว่าคาด
●
จีนส่งสัญญาณพร้อมเจรจากับสหรัฐฯ และการผ่อนคลายภาษีบางส่วนซึ่งส่งผลดีต่อสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้า
●
ตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ ดีกว่าคาด แต่ GDP หด -0.3% จากการเร่งนำเข้าสินค้า
●
ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของสหรัฐฯ ไตรมาส 1 ดีกว่าคาด โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี
●
Fed ยังไม่เร่งลดดอกเบี้ย นักลงทุนคาดการณ์เลื่อนไปเดือน ก.ค.
●
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงดอกเบี้ย ขณะที่ลดคาดการณ์ GDP และเงินเฟ้อ
●
Moody’s ลดแนวโน้มเครดิตไทย แต่ตลาดยังคงบวกหลัง กนง. ลดดอกเบี้ย
สถานการณ์ตลาด
●
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินโดยรวมฟื้นตัวขึ้น หลังการผ่อนคลายของความตึงเครียดทางการค้าจากนโยบายทรัมป์ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) สหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ส่งผลให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
●
สถานการณ์การเจรจาการค้า
๐ จีนอยู่ระหว่างประเมินความเป็นไปได้ในการเปิดการเจรจาการค้ากับสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน
๐ สก็อต เบสเซนต์ รมต. คลัง สหรัฐฯ รายงานความคืบหน้าการเจรจาการค้ากับประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และการที่จีนมีการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าบางรายการ สะท้อนถึงความเต็มใจที่จะบรรเทาความตึงเครียดทางการค้า
๐ ความตึงเครียดน่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วตั้งแต่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา และหากมีพัฒนาการเชิงบวกเกี่ยวกับการเจรจา น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนตลาดโดยรวม
●
การประชุม OPEC+ มีมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอีก 411,000 บาร์เรล/วัน ในเดือน มิ.ย. นับเป็นการปรับเพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง
●
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ
๐ ตัวเลข Nonfarm Payroll เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่ง สูงกว่าคาดที่ 138,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.2% สอดคล้องกับที่ตลาดคาด ส่งผลให้ช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
๐ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) น่าจะรอประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีของทรัมป์ ก่อนตัดสินใจปรับนโยบายการเงิน หลังตัวเลขการจ้างงานออกมาดีกว่าคาด โดยนักลงทุนในตลาดได้เลื่อนคาดการณ์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของ Fed จากเดิม มิ.ย. เป็น ก.ค.
๐ GDP สหรัฐฯ ไตรมาสแรก หดตัว -0.3% ต่ำกว่าคาดที่ +0.2% เทียบกับไตรมาส 4 ปีที่แล้วที่ขยายตัว 2.4%
๐ สาเหตุหลักของการหดตัว GDP มาจากการสต็อกสินค้านำเข้าที่เร่งตัวขึ้นถึง 41% ก่อนที่สหรัฐฯ จะบังคับใช้มาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) วันที่ 2 เม.ย.
๐ เงินเฟ้อ Core PCE มี.ค. ปรับขึ้น +2.6% YoY ตามคาด และลดลงจากเดือนก่อนที่ +3.0% ขณะที่ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบรายเดือน (MoM)
๐ ประเมินว่าผลกระทบจาก Tariff ต่ออัตราเงินเฟ้อจะเป็นลักษณะชั่วคราว และไม่เกิดแรงกดดันเชิงโครงสร้างในระยะยาว
●
ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
๐ บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในสหรัฐฯ รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ดีกว่าที่ตลาดคาด ทั้งในแง่รายได้และกำไรสุทธิ
๐ Microsoft: ธุรกิจ Cloud เติบโตดีกว่าคาด และผู้บริหารให้แนวโน้มรายได้ในไตรมาสถัดไปดีกว่าที่ตลาดประเมิน
๐ Meta Platforms: รายได้จากโฆษณายังเติบโตแข็งแกร่ง โดยมี AI เข้ามาช่วยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) อย่างแม่นยำ
๐ Apple: รายได้และกำไรออกมาดีกว่าคาด แต่ตลาดกังวลต่อผลกระทบจากภาษี โดยผู้บริหารระบุว่าต้นทุนในไตรมาสถัดไปจะเพิ่มขึ้น 900 ล้านดอลลาร์ และยังไม่สามารถประเมินผลกระทบจาก Tariff ได้อย่างชัดเจน
๐ Amazon: รายได้และกำไรดีกว่าคาดเช่นกัน แต่มุมมองของผู้บริหารสำหรับไตรมาสถัดไป ต่ำกว่าคาด ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง
๐ โดยรวมหุ้นใน S&P 500 ที่ประกาศงบไปแล้วในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่ดีกว่าตลาดคาด อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามมุมมองจากฝ่ายบริหารต่อผลกระทบของ Tariff ในระยะถัดไป
1
●
นโยบายการเงินของญี่ปุ่น (BOJ)
๐ BOJ คงดอกเบี้ยตามคาด พร้อมปรับลดคาดการณ์ GDP และเงินเฟ้อ จากความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีและผลกระทบต่อการส่งออก
๐ เลื่อนเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ออกไปจากเดิม และยังคงย้ำว่า หากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป
๐ ตลาดประเมินว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ BOJ จะขึ้นอยู่กับทิศทางของการเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดย Goldman Sachs ได้เลื่อนคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยครั้งถัดไปจากก.ค. 2568 เป็น ม.ค. 2569
●
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทย
๐ Moody’s ได้ปรับลดมุมมองเครดิตประเทศไทยจาก “Stable” เป็น “Negative” แต่ตลาดหุ้นไทยยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
๐ ปัจจัยสนับสนุนมาจาก กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลง 0.25% โดยเสียงข้างมากเห็นควรลดดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ ขณะที่เสียงข้างน้อยต้องการคงดอกเบี้ยไว้เพื่อรักษาขอบเขตการดำเนินนโยบายในอนาคต
๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินภาพเศรษฐกิจเป็น 2 กรณี
- กรณี 1: เจรจาการค้ามีความยืดเยื้อ สหรัฐฯ ผ่อนผันภาษีนำเข้า ยังเก็บใกล้เคียง 10% และจีนเจรจาลดภาษีกับสหรัฐฯ ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้ GDP ไทยปีนี้ +2%
- กรณี 2: ทุกประเทศเจรจาและลดภาษีนำเข้าลงได้ครึ่งหนึ่งจากที่สหรัฐฯ ประกาศ ซึ่งจะส่งผลให้ GDP ไทยปีนี้ +1.3%
นโยบายการลงทุนและคำเตือน
●
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
●
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
●
ผู้ลงทุนสามารถขอข้อมูลหนังสือชี้ชวนได้ที่สำนักงานของบริษัทจัดการ หรือจาก
www.krungsriasset.com
หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย หรือเจ้าหน้าที่ขายหน่วยลงทุน
ติดตามกองทุนกรุงศรี อัปเดตข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่
Website -
https://www.krungsriasset.com
Facebook -
https://www.facebook.com/krungsriasset.official
LINE -
https://lin.ee/e9u3LEL
YouTube -
https://www.youtube.com/c/KrungsriAssetManagement
Blockdit -
https://www.blockdit.com/krungsriasset.official
TikTok -
https://www.tiktok.com/@krungsriasset
X -
https://twitter.com/krungsriasset
#KrungsriAsset #กองทุนกรุงศรี #Weeklymarketview #สรุปภาวะตลาดรายสัปดาห์
เศรษฐกิจ
การลงทุน
หุ้น
2 บันทึก
2
1
2
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย