Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 11:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
NAV ต่ำ ใช่ว่าถูก, NAV สูงใช่ว่าแพง , NAV ไม่เปลี่ยน ใช่ว่าเงินทุนเท่าเดิม
ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ NAV ที่ควรเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม
มือใหม่ที่เริ่มสนใจอยากลงทุนในกองทุนรวม มีโอกาสสูงมากที่คุณจะเคยได้ยินคำว่า “NAV”
บางคนอาจรีบเลือกกองทุนที่ NAV ต่ำ เพราะคิดว่า “ราคาถูกกว่า”
บางคนก็กลัวกองทุน NAV สูง เพราะดู “แพงเกินไป”
แต่จริง ๆ แล้ว… นี่คือความเข้าใจผิดที่อาจทำให้ตัดสินใจพลาดตั้งแต่ก้าวแรก
บทความนี้จะพาคุณมารู้จัก “NAV” ให้ลึกขึ้น ว่าแท้จริงแล้ว NAV คืออะไร? และความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ NAV ที่ควรเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม พร้อมแล้วมาดูกัน
[ NAV คืออะไรและดูได้ที่ไหน? 🔍 ]
NAV ย่อมาจาก Net Asset Value แปลตรงตัวคือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
ซึ่งสิ่งนี้คือตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกองทุน ว่าเติบโตหรือไม่ มีกำไร-ขาดทุนอย่างไร มีราคาซื้อ หรือ ราคาขายคืนกองทุนรวม ในวันนั้นๆ เท่าไหร่
โดยจะคำนวณจาก
👉 รายได้ค้างรับ + เงินสด – หนี้สิน = มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
ซึ่ง บลจ. จะเป็นผู้คํานวณราคา มูลค่าต่อหน่วยลงทุน หรือ NAV ต่อหน่วย* โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ และ เปิดเผยข้อมูลทุกสิ้นวันทําการ ผู้ลงทุนสามารถสอบถามได้จาก บลจ. ต้นสังกัดหรือเว็บไซต์ โดย NAV ต่อหน่วย ที่ บลจ. ประกาศ จะเป็นมูลค่าที่คํานวณได้จากราคาตลาดของทรัพย์สินในวันทําการก่อนหน้า วันที่ประกาศหนึ่งวันเสมอ
[ NAV ต่อหน่วย บอกอะไร? 🧐 ]
เวลาที่เราซื้อกองทุนรวม สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องเห็นแน่ ๆ คือคำว่า NAV ต่อหน่วย (หรือ NAV/Unit)
ซึ่งก็คือ “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด”
พูดง่าย ๆ มันคือ “ราคาต่อ 1 หน่วย” ที่เราจะใช้เงินไปซื้อกองทุนนั่นเอง
ยกตัวอย่าง เช่น
📌 ตอนกองทุนออกขายครั้งแรก (IPO)
ตั้งราคา NAV เริ่มต้นไว้ที่ 10 บาท/หน่วย ถ้าคุณมีเงิน 5,000 บาท ไปซื้อในช่วงนี้ ก็จะได้
5,000 ÷ 10 = 500 หน่วย
📈 ถัดมา 1 เดือน NAV ขึ้นเป็น 12 บาท/หน่วย
ถ้าคุณขายหน่วยลงทุนตอนนี้ จะได้เงินกลับมา
500 × 12 = 6,000 บาท (มีกำไร 1,000 บาท)
📉 แต่ถ้า NAV ลดลงเหลือ 9 บาท/หน่วย
คุณจะได้เงินแค่ 1,000 × 9 = 9,000 บาท (ขาดทุน 1,000 บาท)
💡 ดังนั้น NAV ต่อหน่วย จะเปลี่ยนไปตามมูลค่าของทรัพย์สินในกองทุน
และเป็นตัวบอกว่า “หน่วยที่เราถืออยู่” ตอนนี้มีมูลค่าเท่าไหร่
[ ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ NAV ขึ้นและลง 🪙 ]
ความเข้าใจผิดส่วนใหญ่มักมาจากความเข้าใจปัจจัย ราคาของ NAV คลาดเคลื่อนเพราะ NAV ไม่ได้ขึ้นหรือลงลอย ๆ แต่มี “ปัจจัย” หลายอย่างที่เป็นตัวกำหนด เช่น
✅ ราคา NAV มีแนวโน้ม “สูงขึ้น” เมื่อ…
- กองทุนมีอายุมาก มีเวลาสะสมผลตอบแทนมานาน
- ไม่มีการจ่ายปันผล เงินปันผลยังคงอยู่ในกอง ทำให้ NAV ไม่ถูกหัก
- มีแนวโน้มได้กำไร เช่น มีดอกเบี้ยค้างรับ หรือมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น
- สินทรัพย์ในกองทุนมีคุณภาพดี ช่วยสร้างผลตอบแทนบวกให้กอง
- ค่าใช้จ่ายของกองทุนต่ำ ทำให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่ถูกหักไปมาก
❌ ราคา NAV มีแนวโน้ม “ลดลง” เมื่อ…
- กองทุนอายุน้อย ยังไม่มีผลตอบแทนสะสมมากพอ
- มีการจ่ายปันผล ทำให้ NAV ถูกหักลงทุกครั้งที่จ่าย
- มีแนวโน้มขาดทุน มูลค่าลด ผลตอบแทนติดลบ
- ค่าใช้จ่ายของกองทุนสูง หักจากผลตอบแทน ทำให้ NAV โตยาก
[ เรื่องที่นักลงทุนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ NAV ]
🤨 NAV ถูกกว่า แปลว่าดีกว่าหรือเปล่า? หรือ NAV แพงกว่าเท่ากับดีกว่าใช่ไหม?
ถ้าให้เลือกลงทุนระหว่างกองทุน A ที่มี NAV 20 บาท กับกองทุน B ที่มี NAV 10 บาท คุณจะเลือกกองทุนไหน?
บางคนอาจตอบ “B” เพราะคิดว่า… “ถูกกว่า ได้หน่วยลงทุนเยอะกว่า” แต่เดี๋ยวก่อน!
🔍 ลองดูตัวอย่างนี้ให้ดี
- กองทุน A มี NAV 20 บาท
- กองทุน B มี NAV 10 บาท
มีเงินลงทุน 200,000 บาท เท่ากัน
✅ ถ้าลงทุนใน A จะได้ 10,000 หน่วย
✅ ถ้าลงทุนใน B จะได้ 20,000 หน่วย
หลายคนอาจจะเผลอคิดว่า “B คุ้มกว่า เพราะได้หน่วยเยอะ”
แต่ลองดูตอนที่ทั้งสองกองทุนให้ผลตอบแทน เพิ่มขึ้น 10% เท่ากันสิ
🅰️กองทุน A 20 บาท + 10% = 22 บาท/หน่วย
มูลค่าที่ถือครอง = 10,000 หน่วย × 22 บาท = 220,000 บาท
📍กำไร = 220,000 - 200,000 (ต้นทุน) = 20,000 บาท
🅱️กองทุน B 10 บาท + 10% = 11 บาท/หน่วย
มูลค่าที่ถือครอง = 20,000 หน่วย × 11 บาท = 220,000 บาท
📍กำไร = 220,000 - 200,000 (ต้นทุน) = 20,000 บาท
มูลค่ากองทุนของทั้งสองก็จะเท่ากันที่ 20,000 บาท แม้ว่าจะได้จำนวนหน่วยต่างกันก็ตาม
💡 สิ่งที่ต้องเข้าใจให้ชัดคือ… NAV สูงหรือต่ำไม่มีผลต่อกำไรที่ได้รับเลย ถ้า % ผลตอบแทนเท่ากันและเงินลงทุนเท่ากัน ดังนั้น สิ่งที่ผู้ลงทุนควรพิจารณา จึงเป็นเรื่องของแนวโน้มผลตอบแทนของกองทุนรวมเป็นหลัก
🤨NAV ไม่เปลี่ยน แปลว่า “เงินทุนเท่าเดิม” ใช่หรือเปล่า?
สมมติว่าเราไปซื้อกองทุนไว้ 5,000 ตอนที่ NAV อยู่ที่ 15 บาทต่อหน่วย 1 ปีผ่านไป NAV ก็ยังอยู่ที่ 15 บาท แปลว่า เงินทุนก็ยังอยู่เท่าเดิมใช่ไหม?
คำถามนี้เรามักจะเห็นบ่อยๆ ในกลุ่ม #กองทุนไหนดี แต่การจะตอบคำถามนี้ได้ต้องดูไปเป็นกรณี
1. กองทุนนั้นมีเงินปันผลไหม?
ต่อให้ NAV เท่าเดิม แต่คุณอาจจะได้กำไรไปแล้วจาก “เงินปันผลที่ได้จากกองทุน” ถ้าระหว่างทางกองทุนมีการจ่ายเงินปันผลให้ นั่นก็แปลว่าการลงทุนนั้น ถึงแม้จะดูจากผลตอบแทนส่วนต่างราคา NAV จะเป็น 0 แต่ได้ผลตอบแทนเป็นเงินปันผลมาแล้ว ในกรณีนี้ต่อให้ NAV
2. ค่าธรรมเนียม ซื้อขายเท่าไหร่?
สมมติว่า คุณลงทุนในกองทุนหนึ่งไป 5,000 บาท และวันนั้น NAV อยู่ที่ 15 บาทต่อหน่วย ไม่ได้แปลว่าต้นทุนต่อหน่วยของคุณอยู่ที่ 15 บาท และคุณจะได้หน่วยลงทุนมา 333.33 หน่วย
ถ้ากองทุน แจ้งว่ามีค่าธรรมเนียมซื้อขาย 0.5%
เพราะว่า
เงินที่คุณ “จ่ายออกจากกระเป๋า” = 5,000 บาท
NAV ณ วันซื้อ = 15 บาท/หน่วย
ค่าธรรมเนียมเสนอขาย = 0.5% (คิดจากจำนวนเงินลงทุน)
ค่าธรรมเนียม 0.5% ของ 5,000 บาท
👉 = 5,000 × 0.005 = 25 บาท
ดังนั้น เงินที่จะ “ถูกนำไปซื้อหน่วยลงทุนจริง ๆ”
👉 จะเท่ากับ 5,000 - 25 = 4,975 บาท
แปลว่าคุณจะได้หน่วยลงทุน 4,975 ÷ 15 = 332 หน่วย (โดยประมาณ)
ในกรณีนี้ ถ้าเวลาผ่านไป 1 ปี ค่า NAV เท่าเดิม
มูลค่าเงินทุนของคุณ ณ ตอนนั้น จะอยู่ที่ 332 หน่วย x 15 บาท = 4,980
ขาดทุนจากเงินต้น 5,000 - 4,980 = 25 บาท
💡ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าถึงแม้ราคา NAV จะกลับมาเท่าทุนก็ไม่ได้แปลว่าเรามีเงินเหลือเท่าเดิม บางครั้งเราอาจได้กำไรมาจากเงินปันผลแล้ว หรือขาดทุนเพราะค่าธรรมเนียมก็เป็นไปได้
อ้างอิง:
https://www.facebook.com/share/p/1AWHNLF7Yy/
https://elearning.set.or.th/.../enroll/18492710/topics/258
https://www.kasikornbank.com/.../a412-t4-evg-what-is
...
https://www.smarttoinvest.com/.../dont-missed-Fund-Fact
...
#aomMONEY #กองทุน #NAV #การเงิน #การลงทุน #กองทุนรวม
2 บันทึก
4
2
2
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย