Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 04:00 • ธุรกิจ
ยูเนี่ยน มอลล์ จากตลาดนัดติดแอร์ สู่แหล่งจัดงานของศิลปินชื่อดัง
หากพูดถึง “ยูเนี่ยน มอลล์” ที่ตั้งอยู่ใจกลางห้าแยกลาดพร้าว หลายคนคงนึกถึงว่าเป็นแหล่งซื้อเสื้อผ้าของวัยรุ่น
1
แต่ปัจจุบัน ยูเนี่ยน มอลล์ ยังเป็นจุดหมายสำคัญของเหล่าศิลปินและแฟนคลับศิลปิน ในการจัดคอนเสิร์ตหรืองานแฟนมีต ตลอดจนโปรเจกต์พิเศษต่าง ๆ ด้วย
โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีศิลปิน ค่ายเพลง ค่ายซีรีส์ ทั้งไทยและต่างประเทศมากมาย มาจัดงาน
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ยูเนี่ยน มอลล์ เป็นธุรกิจของครอบครัวศิริจิตร ที่ตอนนี้ได้ดำเนินธุรกิจมาถึงทายาทรุ่นที่ 2 โดยมีผู้บริหาร เป็นลูกสาวคนโตของครอบครัว คือ คุณจิรภัทร ศิริจิตร
ซึ่งสมัยก่อน ภาพลักษณ์ของ ยูเนี่ยน มอลล์ ในสายตาของหลายคนคือ ตลาดนัดติดแอร์ ที่รวบรวมร้านค้าแฟชั่นปลีก-ส่ง
แต่พอเวลาผ่านไป การแข่งขันทางธุรกิจได้ดุเดือดมากขึ้น
เห็นได้จากการเปิดศูนย์การค้าแห่งใหม่ และตลาดนัดเต็มเมืองไปหมด
รวมไปถึงการมาของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน ให้ซื้อขายของผ่านหน้าจอสมาร์ตโฟน แทนที่จะเป็นหน้าร้านแบบเดิม ๆ
1
ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแบบเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลให้ ยูเนี่ยน มอลล์ ต้องมีการปรับตัวครั้งสำคัญ
โดยปัจจุบันได้มีการนำพื้นที่หลายโซนในห้าง ที่ยังว่างอยู่ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก มาพัฒนาเป็นโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- Co-Working Space พื้นที่สำหรับนั่งทำงาน
- CO-ART SPACE พื้นที่สำหรับแสดงงานศิลปะ
- UMD Department พื้นที่สำหรับให้เหล่าร้านค้าออนไลน์นำสินค้าไปฝากขาย
- CO-EVENT STUDIO ห้องสำหรับการซ้อมเต้น เดินแบบ หรือถ่ายแบบ
- CO-EVENT MALL เป็นพื้นที่ให้เช่าสำหรับจัดงานอิเวนต์
จุดเด่นคือ เป็นพื้นที่จัดงานแบบเปิดที่อยู่ในทำเลที่คนพลุกพล่าน และมีขนาดเล็ก
ทำให้มีราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งตอบโจทย์สำหรับเหล่าแฟนคลับที่ต้องการจัดงานแฟนมีต หรือจัดโปรเจกต์พิเศษให้กับศิลปิน รวมถึง การเปิดตลาดนัดสำหรับแฟนคลับ
ในขณะที่หากมีสเกลใหญ่กว่านั้น ก็ยังมี Union Hall พื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับจัดคอนเสิร์ตได้อีกด้วย
1
ที่ผ่านมา มีศิลปิน ค่ายเพลง ค่ายซีรีส์ มาจัดงานคอนเสิร์ตหรืองานแฟนมีต ตลอดจนโปรเจกต์พิเศษต่าง ๆ ที่ยูเนี่ยน มอลล์ ไม่ว่าจะเป็น NCT DREAM, Daesung-BIGBANG, SUPER JUNIOR, GOT7, ITZY, จ้าว ลูซือ, WeTV, Viu, Park Jin-young, BNK48, Gene Lab และซีรีส์ชื่อดังอีกหลายเรื่อง
นอกจากการพัฒนาด้านสถานที่แล้ว ยูเนี่ยน มอลล์ ยังได้มีการทำการตลาด กับกลุ่มลูกค้าแฟนคลับศิลปินเหล่านี้
โดยการจัดกิจกรรมแจกบัตรคอนเสิร์ต หรือบัตรแฟนมีต
อย่างต่อเนื่อง
แน่นอนว่า สิ่งที่ยูเนี่ยน มอลล์ ได้จากการพัฒนาพื้นที่ และการทำการตลาดต่าง ๆ เหล่านี้ ช่วยให้มีการใช้พื้นที่เช่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2
นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มแทรฟฟิกคนมาเดินมากขึ้น
ซึ่งเป็นผลดีกับร้านค้ารายย่อยใน ยูเนี่ยน มอลล์ เองอีกด้วย
ทีนี้ เราลองมาดูผลประกอบการของ ยูเนี่ยน มอลล์ กันบ้าง
- บริษัท สยามจตุจักร จำกัด เจ้าของยูเนี่ยน มอลล์
ปี 2564 รายได้ 321 ล้านบาท ขาดทุน 11 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 340 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 415 ล้านบาท กำไร 72 ล้านบาท
- บริษัท เจเอส โกลบอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (บริษัทที่ดูแลในส่วนของ Union Hall)
1
ปี 2564 รายได้ 2 ล้านบาท ขาดทุน 11 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 37 ล้านบาท กำไร 13 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 63 ล้านบาท กำไร 18 ล้านบาท
ซึ่งในปี 2565 ส่วนของ Union Hall ก็สามารถทำกำไรได้เป็นปีแรก และก็ดูเหมือนว่าจะยังมีพื้นที่ให้เติบโตได้อีกมาก
ถึงตรงนี้ การปรับตัวของ ยูเนี่ยน มอลล์ ก็นับเป็นกรณีศึกษาได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ดุเดือด และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของยูเนี่ยน มอลล์ จากที่หลายคนมองว่าเป็นแหล่งแฟชั่นของเหล่าวัยรุ่น
เริ่มกลายมาเป็นแหล่งจัดงานของศิลปิน และศูนย์รวมของแฟนคลับศิลปินแทน..
ธุรกิจ
4 บันทึก
22
7
4
22
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย