9 พ.ค. เวลา 13:20 • ดนตรี เพลง

[รีวิวอัลบั้ม] Balloonerism - Mac Miller >>> บอลลูนบนฟ้า

-ตัวอย่าง posthumous album ที่ปล่อยมาเยอะจนเฝือและไม่ขลังเท่ากับที่ปล่อยมาชุดแรกๆมีให้เห็นเยอะจนไม่รู้สึกล้ำค่าอย่างที่ควรจะเป็น แต่สำหรับฝ่ายกองมรดกของ Mac Miller สามารถใช้คำว่า handle with care ต่อกองเพลงเหล่านั้นได้อย่างเต็มปาก ส่งต่อการรำลึกได้อย่างซาบซึ้ง ไม่ใช่การระบายเพลงเพื่ออิงแอบผลประโยชน์อย่างพร่ำเพรื่อ ใส่ใจแม้กระทั่งการเลือก Release Date ยังตั้งใจให้ตรงกับวันที่ปล่อย Circles เมื่อ 5 ปีที่แล้วแบบลงล็อควันศุกร์ที่ 17 มกราคมเป๊ะๆด้วย
-อันที่จริงแล้ว Balloonerism เป็นคอลเลคชั่นเพลงปีลึกที่ Mac รังสรรค์ไว้เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ราวๆปี 2014 ในช่วงที่แม็คกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นจากกระแสตอบรับที่ดีตั้งแต่อัลบั้ม Watching Movies with the Sound Off และมิกซ์เทป Faces ซึ่งแฟนเพลงต่างเห็นพ้องถึงช่วงที่ความคิดสร้างสรรค์ของแม็คกำลังเฟรชได้ที่ ซึ่งเพลงเหล่านี้มาจากคลังเพลย์ลิสท์ที่ทำเสร็จเพียงแค่ 2 สัปดาห์เท่านั้น
-ถึงแม้ว่าจะเก็บสำรองไว้อย่างดีชนิดที่ยังไม่เอามาฉายแสงอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คอลเลคชั่นเพลงเหล่านี้ก็ไม่รอดที่จะถูกรั่วไหลในโลกอินเตอร์เน็ตมาแล้วหลายปีชนิดที่เมื่อใครได้ฟังเถื่อนแล้วเมื่อเจอกับ Balloonerism ก็เหมือนโดนสปอยล์จนไม่ตื่นเต้นเลยก็ได้
-การที่ครอบครัวและฝ่ายกองมรดกเลือกเอามาปัดฝุ่นเพื่อรีมาสเตอร์ใหม่ย่อมเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพื่อให้คุณค่าของเพลงลับๆเหล่านั้นได้ถูกฉายแสงเป็นที่ประจักษ์อย่างทั่วถึงกัน เป็นผลงานศิลปะที่สร้างคุณค่าให้คนที่ยังอยู่ต่อไป
-การให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแม็คโดยตรงทั้ง Josh Berg และ E.Dan เอ็นจิเนียร์ที่ร่วมงานในช่วง WMWTSO และ Faces ก็เหมือนได้เพื่อนใกล้ตัวที่เดาใจการจัดเรียงแทร็คได้ใกล้เคียงที่สุด ซึ่งการจัดเรียงดังกล่าวถือว่าเนี๊ยบใน direction ไม่สะเปะสะปะ ไต่ระดับ deep conversation ที่ลึกขึ้นเรื่อยๆจนผมพลางคิดในใจ ถ้าแม็คยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีทางปล่อยแบบ official แน่ๆ จากคำบอกเล่าของ Josh ก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ เพลงเหล่านี้แกแต่งทิ้งไว้แล้ว มูฟออนไปทำเพลงใหม่ๆ ไม่คิดหันหลังกลับมาสานต่ออีก
-เพราะความส่วนตัวจัดๆ ประหนึ่งเพลงงานศพที่หมกมุ่นตั้งคำถามถึงความเป็นความตาย วิกฤติตัวตน รวมถึงวังวนแห่งความเสพติด ยิ่งเมื่อได้ฟังแล้ว มันก็ชวนขนลุกอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในบางช่วงบางตอนที่เจ้าตัวดันทำนายการเสียชีวิตได้ตรงวันอย่างในเพลง Funny Papers ตรงท่อน I saw his picture in the funny papers / Didn't think anybody died on a Friday ซึ่งเกิดเรื่องไม่คาดคิดว่า เจ้าตัวดันตายตรงกับวันศุกร์พอดี
-เพลง Mrs. Deborah Downer ในช่วง Outro ที่แทรกคลิปเสียงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของคนติดยาที่ออเดอร์ยาเพื่อเอามาเล่นอีก กลับกลายเป็นว่าชุดยาที่ใส่ในเนื้อเพลงนั้นเสือกตรงกับชุดยาที่ออเดอร์ในวันที่แม็คเสียชีวิตอีกต่างหาก
-ตลอดการฟัง Balloonerism เมื่อเอามาเชื่อมโยงเหตุการณ์เสียชีวิตของแม็คยิ่งทำให้รู้สึกเปลี่ยวเหงาและหน่วงสุดๆ ไม่ได้รู้สึกตัวเบาแบบชื่ออัลบั้ม เป็นการลอยตัวที่ไม่ใช่ทางที่ดี ไลฟ์สไตล์ที่อุดมไปด้วยยาเสพติดมันจึงเป็นวัฏจักรที่ดิ่งดาวน์ในตัวมันอยู่แล้ว ตัวอย่างเพลงสุดย้อนแย้งที่รูปโฉมค่อนข้างเฟรนลี่ แต่ข้างในช่างแตกสลาย
-อาทิเช่น 5 Dollar Pony Rides ที่พยายามเติมเต็มความว่างเปล่าของตัวเองด้วยการเป็นผู้ให้ที่คอยปรนเปรอคนอื่นอยู่ข้างเดียว Friendly Hallucinations เพลงนี้เป็นตัวแทนเพื่อนคนติดยาที่น่าเวทนามากๆกับการที่ไม่คิดจะขัดจังหวะความสุขจากการ get high ของเพื่อนขี้ยาด้วยกันเอง หลีกหนีความจริงด้วย “ความหลอนที่เป็นมิตร” ต่อไปเถอะ รวมถึงเพลงให้กำลังใจสาวที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากคนในครอบครัวด้วยการมาเล่นยาด้วยกันในเพลง Stoned
ภาพต้นฉบับของ Alim Smith
-ปกอัลบั้มที่รังสรรค์โดย Alim Smith ศิลปินสาย surrealism ก็พอบ่งบอกถึงความบิดเบี้ยว ผิดรูปผิดร่าง เป็นนิมิตรภาพหลอนของคนเล่นยาเลยก็ว่าได้ ก่อนเสียชีวิตเพียงไม่ถึงเดือน แม็คเกิดถูกใจภาพวาดบอลลูนในลักษณะเดียวกันที่ Alim Smith ได้วาดเป็นผลงานไว้ตั้งแต่ปี 2016 จนอยากให้ Alim วาดให้แม็คแบบนี้บ้าง ทางด้าน Alim ก็รู้สึกช็อคที่วาดรูปให้เสร็จไม่ทัน และได้แชร์ภาพวาดเพื่อเป็นที่รำลึก 7 ปีต่อมาก็ไม่เสียเปล่าที่ภาพวาดนี้ได้เป็นปกอัลบั้มนี้ในที่สุด
-ใครที่รู้สึก trigger warning ไม่กล้าแนะนำเต็มที่ ขนาดผมที่ไม่ได้เป็นซึมเศร้า แต่ก็ยังทำใจกลับไปฟัง Swimming ไม่ได้ การฟัง Balloonerism ก็เลยไม่เกิดความรู้สึกเบิกบาน enlighten ถึงแสงสว่างปลายอุโมงค์ได้ซักทาง มันเต็มไปด้วยความรู้สึกเสียดายและสงสารคนที่เค้าตกอยู่ในสภาวะมูฟออนเป็นวงกลมอยู่ไม่น้อย ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่า ทำไมแม็คไม่คิดสานต่อเพลงเหล่านี้ด้วยตัวเขาเอง อาจเป็นเพราะเขาคงไม่อยากให้ใครต้องเป็นห่วงเขามากนักหลังจากที่ได้ฟังบทเพลงเหล่านี้
-อย่างไรก็ดี ต่อให้คอนเทนท์จะไปทาง depress จมปลักอยู่กับ drug addiction แต่การแสดงออกผ่านท่วงทำนองสุดแสนรื่นรมย์และ soulful กลับทำให้เราสัมผัสถึงพลังงานความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย passion ในการพยายามเยียวยาตัวเองผ่านบทเพลงเพื่อเก็บไว้เป็นแค่บันทึกส่วนตัว นั่นก็ทำให้เราได้เห็นพลังงานอิสระในการรังสรรค์ที่ไร้ซึ่งแรงกดดัน ช่างแม่งกรอบธรรมเนียมที่คุ้นเคย
-เราได้เห็นมิตรภาพของเพื่อนๆพี่น้องร่วมวงการมาจอยแก้เหงาเป็นเนืองๆ ได้เห็นการ guideline จาก Josh ในการให้แม็คกดคอร์ดออร์แกนในเพลงแรก DJ’s Chord Organ เป็นการเปิดฉากก่อนที่จะส่งไม้ต่อให้ Thundercat เป็นคนปรุง Neo-Soul ต่อ เราได้เห็น SZA ที่สมัยนั้นยังเป็นศิลปินโนเนมเพิ่งเซ็นสัญญากับค่าย TDE มาร่วมประสานเสียงฉันท์เพื่อนร่วมวงการที่เธอรู้จักคนแรกๆ ไม่ใช่แค่เพลง DJ แต่ยังร่วมในเพลง Friendly Hallucination อีกด้วย
-เราได้เห็นไลน์อัพเปียโนอันเรียบหรูสุนทรีย์ เฉกเช่น Funny Papers ที่นอกจากจะทำนายวันตายได้อย่างน่าใจหายแล้ว ยังเป็นการหยอกล้อความตลกร้ายของชีวิตที่ไม่ต่างจากการ์ตูนสั้นในหนังสือพิมพ์ แต่ต่อให้โชคชะตาจะเล่นตลกกับเรา ดนตรีเท่านั้นจะช่วยเปลี่ยนความเงียบงันเพื่อเยียวยาเราเอง
SZA และ Mac Miller
-Rick’s Piano อีกหนึ่งเพลงเปียโนบัลลาดที่น่าจดจำและมีเบื้องหลังที่อัศจรรย์จากการที่แม็คนั้นได้ไปบ้านของ Rick Rubin ในช่วงระหว่างที่รอเข้าพบเพื่อปรึกษางานเพลง แม็คได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการเล่นเปียโนของตา Rick แบบ improvise แล้วอัดเสียงลงมือถือดิบๆแม่งเลย และการตัดสินใจให้เพลงนี้เป็นแทร็ครองสุดท้ายก็เป็นความเฉียบแหลมในการจัดเรียง เพราะนี่ถือเป็นไคล์แม็กซ์ของอัลบั้มนี้ที่ตั้งคำถามที่ไร้ซึ่งคำตอบเพื่อถกชีวิตหลังความตายได้อย่างจริงจังที่สุดแล้ว
-นอกจาก Rick’s Piano ที่บ่งบอกถึงการที่ Rick Rubin ได้เข้ามาวนเวียนในช่วงนึงของชีวิตแม็คแล้ว ยังมีเพลง Shanghai-La ที่ชื่อเพลงเป็นชื่อเดียวกับสตูดิโอของ Rick Rubin ในเมือง Malibu ที่ซึ่งแม็คมักจะใช้เพื่อไปทำเพลงและตัดขาดจากโลกภายนอก ทั้งนี้ Shanghai-La ยังเป็นสถานที่ในนิยายที่หมายถึง สวรรค์ หรือดินแดนในอุดมคติ Utopia ซึ่งในเพลงนี้แกก็ทิ้งข้อความสั่งเสียจินตนาการถึงงานศพตัวเองด้วย
-นอกจากเราจะได้เห็นพรสวรรค์ทางดนตรีอันเปี่ยมล้นที่เป็นได้มากกว่าแรปเปอร์แล้ว เรายังได้เห็นการปลดล็อค Alter Ego อย่าง Delusional Thomas ที่เปรียบเหมือนด้านซาตานที่ represent ความบิดเบี้ยวในตัวของแม็คให้ออกมาเฉิดฉายในเพลง Transformations ซึ่งมาในเชิง freestyle เล่นสนุกกับ DJ Clockwork เพื่อนดีเจที่ต้องการให้แม็คเชื้อเชิญ DT ออกมาโลดแล่นอยู่ในบีทเสียหน่อย
-ถ้าใครเป็นแฟนเพลงแบบสายลึกเลยจะรู้ว่า Delusional Thomas คือตัวแสบที่เป็นด้านมืดที่สุดของแม็คที่พ่นคอนเทนท์มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดโต่ง มีผลงานมิกซ์เทป 1 อัลบั้มเต็มถ้วน ตอนที่แม็คได้ตัดสินใจเซ็นสัญญากับ Warner แม็คเลือกที่จะไม่สานต่อเรื่องราวของ DT มาโลดแล่นในบทเพลงยุคต่อๆไป
-Tomorrow Will Never Know คือเพลงที่เก่าสุดที่ทำก่อนใครเพื่อนตั้งแต่ปี 2013 อ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ซักแห่งหนที่แม็คเล่าให้ฟังว่า เขาเพิ่งทำเพลงแอมเบี้ยนกล่อมนอนสุดเจ๋งเพลงนึง ซึ่งก็คือเพลงนี้เนี่ยแหละ สุดท้ายก็ได้มาเป็นเพลงปิดท้ายอัลบั้มที่สรุปเรื่องราวแบบปลายเปิดก็จริง แต่ชัดเจนตั้งแต่ชื่อเพลงซึ่งไม่มีใครล่วงรู้ถึงอนาคตและภพภูมิหน้าได้จริงๆ
Outro ที่มีเสียงเด็กๆกำลังวิ่งเล่น และทิ้งเสียงปลายสายยาวๆโดยที่ “ไม่มีสัญญาณตอบรับจากหมายเลขที่ท่านเรียก” น่าจะพอบอกเป็นนัยถึงภพภูมิหน้าที่แม็คได้ไปถึง และได้สตาร์ทความเยาว์วัยครั้งใหม่แล้วจริงๆ
อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดครับ
Top Tracks: DJ’s Chord Organ, Do You Have A Destination?, 5 Dollar Pony Rides, Friendly Hallucinations, Stoned, Shangri-La, Funny Papers, Manakins, Rick’s Piano
Give 8/10
Thx 4 Readin’
See Y’all
โฆษณา