6 ชั่วโมงที่แล้ว • ปรัชญา
1. สังเกตคำว่า "ปล่อยวาง" ซึ่งเกิดจากการประสมคำว่า "ปล่อย" และคำว่า "วาง" ภาษาสากลทั่วโลก จะให้ความสำคัญกับคำที่อยู่ข้างหน้าเสมอ คำที่มาก่อน หากไม่ใช่ประธานของประโยค ก็จะต้องเป็นกิริยาหรือสกรรมกิริยาหลัก
2. นั่นแปลว่าหากคุณ "ยังไม่ยอมปล่อยมัน" คุณก็จะไม่สามารถ "วางมันลงได้" คุณต้องยอมที่จะปล่อยมันเสียก่อน หากจู่ๆ คุณนึกจะวางก็วางเลย แต่ใจยังไม่ยอมปล่อย นั่นแปลว่า คุณยังเข้าไม่ถึง "การปล่อยวาง"
3. คนเราทุกคนจึงควรเรียนรู้การปล่อย ก่อนการวาง คล้ายการนั่งสมาธิ เวลาคุณนั่งสมาธิ นั่นคือคุณกำลังต่อสู้กับการจิตใจที่ยังไม่ยอมวางโดยง่าย เดี๋ยวก็นิ่ง เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่าน เดี๋ยวก็ปลง เดี๋ยวก็ง่วงเหงาหาวนอน น้ำตาไหล เดี๋ยวก็ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไม่ต่างอะไรกับ "อิผีบ้า!!" จนเมื่อคุณปล่อยตามธรรมชาติ ไม่บังคับ ไม่ฝิน ง่วงก็หลับคาสมาธิไปเลย เท่านั่นแหละ "คุณจึงจะได้สัมผัสประสบการณ์บางอย่าง"
การปล่อย ก็คือการละทิ้งนั่นเอง ไม่ต่างกัน
แต่เมื่อละทิ้งได้แล้ว ก็ต้องค่อยๆวางมันลง
......................................
ค่อยๆ ยกระดับเข้าสู่วิปัสสนา
หรือคือการใคร่ครวญมองมันในมุมใหม่
เพื่อการแสวงหาหนทาง
แก้ไข ปรับปรุง เพื่อความสำเร็จ
หรือแม้แต่การเปลี่ยนเส้นทางการเดินใหม่
โฆษณา