12 พ.ค. เวลา 13:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ

“9 ข้อคิด” ดีลการค้า “อังกฤษ-สหรัฐฯ” สมบูรณ์แบบจริงหรือ?

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 มีการประกาศดีลการค้า ภายใต้ “ภาษีทรัมป์” ระหว่างอังกฤษกับสหรัฐฯ ที่อยู่ภายใต้กรอบเจรจา 90 วัน (ครบวันที่ 9 ก.ค. 2568) ซึ่งถือว่าเป็นดีลประเทศแรกกับสหรัฐอเมริกา
ก่อนหน้านี้ รมต.คลัง สหรัฐ “สก็อตต์ เบสเซนต์” บอกว่า ดีลการค้าแรกของสหรัฐ จะเป็น “อินเดีย” แต่สุดท้ายทรัมป์ประกาศว่า เป็น “อังกฤษ” และทรัมป์ก็ประกาศว่า เป็นดีลการค้าที่ครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ (Full and Comprehensive)
มีประเด็นที่น่าคิดว่า เป็นดีลการค้าจริงหรือหลอก ภายใต้คำว่า “ครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ” ดังนี้
1.อังกฤษมีแผนทำ FTA กับสหรัฐ ตั้งแต่สมัยทรัมป์ 1.0 ในปี 2020 อยู่แล้ว ทำให้สามารถสรุปประเด็นทางการค้าได้เร็วกว่าประเทศอื่น
2.ดีลนี้ยังไม่มีการลงนามอย่างเป็นทางการของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ เพียงแต่ประกาศเท่านั้น และการประกาศก็ไม่ได้นั่งร่วมกันประกาศ
3.สามารถใช้คำว่า “ดีลภาษีรถยนต์ เหล็กและอลูมิเนียม” เพราะถือว่าเป็นข้อตกลงที่ชัดเจนและรูปธรรมที่สุดในดีลนี้ สหรัฐลดภาษีนำเข้ารถยนต์ให้อังกฤษจาก 25% เหลือ 10% ใน 1 แสนคัน และลดภาษีนำเข้าเหล็ก อลูมิเนียมให้อังกฤษ เหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์
4.ภาษีรถยนต์ที่สหรัฐ เก็บ 25% กับทุกประเทศ ก่อนหน้านี้ทรัมป์ ผ่อนปรนภาษีนำเข้าและมาตรการให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์อยู่แล้ว ทำให้ภาษีรถยนต์จึงเป็นประเด็นที่ดำเนินการอยู่แล้ว
5.ภาษีสากล (Universal Tariff) ที่สหรัฐฯ เก็บ 10$ ยังเก็บปกติ
6.ไม่สามารถนำมาเป็น “ต้นแบบให้กับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเจรจา” ได้ เพราะอังกฤษเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ขาดดุลการค้ากับสหรัฐ (สิงคโปร์ บราซิล ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ก็ขาดดุลการค้ากับสหรัฐ) ประเทศที่เข้าคิวเจรจาขณะนี้ ส่วนใหญ่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ ประเด็นจึงแตกต่างกัน
7.ภายใต้ดีลนี้ อังกฤษกับสหรัฐ ยังต้องเจรจากันต่อไป เพราะยังไม่ครอบคลุมประเด็นทางการค้าของ 2 ประเทศ เช่น อังกฤษเก็บภาษีบริการธุรกิจดิจิทัล 2% รวมถึงมาตรฐานสินค้าเกษตรของอังกฤษ ยังเหมือนเดิม
8.ประเด็นที่ตกลงกันนี้ ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามความเหมาะสม เพราะมีผลทางกฎหมายน้อย เนื่องจากเป็นลักษณะของ “ดีล” หรือ “บันทึกความเข้าใจ” ในขณะที่สไตล์ของทรัมป์เองก็ “ทำไปแก้ไป”
9.เป็นดีลสัญลักษณ์ การเจรจาภาษีทรัมป์ ให้เห็นความสำเร็จในการเจรจา เพราะในการเจรจาทางการค้า การมีเวลาเพียง 3 เดือน ไม่สามารถทำให้รวดเร็ว ในความเป็นจริงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปี็นจริง ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปี ์การเจรจาภาษีทรัมป์ ให้เห็นความสำเร็จในการเจรจา เพราะในการเจรจาทางการค้า การมีเวลาเพียง 3 เดือน ไม่สามารถทำให้รวดเร็ว ในความเป็นจริง ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปี
อย่างไรก็ตามก็ถือว่าดีลนี้ เป็นก้าวสำคัญของทั้ง 2 ประเทศในการพัฒนาต่อไปเป็น FTA ฉบับที่ 16 ของสหรัฐฯ
บทความโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช
ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอาเซียน
1
โฆษณา