14 พ.ค. เวลา 04:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วันนี้ได้อ่านรายงานใหม่จาก IMF เกี่ยวกับแนวทางจัดการปัญหา "หนี้ครัวเรือน" ในไทย

ที่ตอนนี้ยังสูงติดอันดับโลกอยู่เลย (เกือบ 90% ของ GDP!)
IMF นำกรณีศึกษาจากหลายประเทศมาแบ่งปัน เช่น บราซิล มาเลเซีย เกาหลี และฮังการี แล้วก็มาสรุปว่าแนวทางที่ได้ผลและยั่งยืนกว่าในการจัดการกับหนี้ครัวเรือนคือการใช้ "มาตรการ Macroprudential" ที่หลายอย่างเราก็ยังมีไม่ครบ เช่น
การกำหนดเพดานหนี้สินต่อรายได้ (DSTI)
การควบคุมสัดส่วนการกู้เทียบกับหลักประกัน (LTV)
เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบเครดิตผู้กู้
ส่งเสริมการศึกษาและวินัยทางการเงิน
นอกจากนี้ IMF ยังชี้ให้เห็นมาตรการอื่นๆ ที่น่าสนใจมาก เช่น
การสร้างระบบจัดการหนี้ส่วนบุคคล (Personal Bankruptcy) ที่ช่วยให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาสามารถกลับมายืนได้ใหม่
การฟื้นฟูเครดิตและปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Rehabilitation) ซึ่งช่วยลดภาระหนี้แบบยั่งยืนในระยะยาว
การให้อภัยหนี้บางส่วนสำหรับกลุ่มเปราะบาง (Debt Relief Schemes) โดยมีแนวทางชัดเจนในการป้องกันปัญหาความเสี่ยงทางศีลธรรม (Moral Hazard) เช่น การจำกัดจำนวนหนี้ที่ให้อภัย หรือการกำหนดเงื่อนไขให้เข้าร่วมโปรแกรมให้ความรู้ทางการเงิน
1
และอีกประเด็นที่น่าสนใจที่ IMF กล่าวถึงเบาๆ คือ "มาตรการ Macroprudential" เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือน แม้ว่าการใช้นโยบายดอกเบี้ยอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อเศรษฐกิจได้
แต่บทเรียนสำคัญจากรายงานนี้คือ เราควรมีหลายๆ เครื่องมือเตรียมพร้อมไว้เสมอ เพราะการเน้นเพียงมาตรการเดียวอาจไม่ได้ผลดีที่สุดและอาจมีผลกระทบเชิงลบในระยะยาวครับ
1
โฆษณา