15 พ.ค. เวลา 15:30 • ไลฟ์สไตล์

คนรวยสร้างตัวเอง vs คนทั่วไป ต่างกันแค่ 4 นิสัยนี้ แม้จะทำได้ไม่ยาก แต่คน 93% มองข้ามไป

จาก Financial Samurai ผู้คร่ำหวอดในวงการการเงินส่วนบุคคล มากว่า 16 ปี
อะไรที่แยกมหาเศรษฐีออกจากคนทั่วไปที่พยายามดิ้นรนเพื่อความก้าวหน้าทางการเงิน?
= นิสัยของพวกเขาเองนั่นแหละ!
หลายต่อหลายครั้ง เรารู้ว่า การเป็นคนที่ร่ำรวยไม่ใช่แค่โชคดี หรือการได้ทำงานที่ได้เงินเดือนสูง หรือมีปริญญาจากมหาวิทยาลัยดังๆ แต่เป็นวิธีคิดเกี่ยวกับเงินและนิสัยที่พวกเขาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ข่าวดีคือ นิสัยเหล่านี้ใครๆ ก็สามารถใช้มันเพื่อสร้างความมั่งคั่งได้เช่นเดียวกัน
แซม โดเก็น (Sam Dogen) เจ้าของบล็อกการเงินชื่อดัง Financial Samurai และผู้เขียนหนังสือ Millionaire Milestones: Simple Steps To Seven Figures ที่ว่ากันว่าอ่านแล้วเห็นภาพชัดเลยว่าคนรวยคิดต่างยังไงในโลกยุคนี้
แซมไม่ได้เป็นแค่คนเขียนเก่ง แต่เขาคือคนที่เดินทางเส้นนี้มาแล้วจริง ๆ — สร้างเนื้อสร้างตัวจนกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ตอนอายุ 28 ปี และเลือกเกษียณตัวเองในวัย 34 หลังจากทำงานในวงการธนาคารเพื่อการลงทุนมานานกว่า 13 ปี
ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา แซมทุ่มเวลาศึกษา พูดคุย และเขียนเรื่องการเงินส่วนบุคคล เขาเลยเริ่มมองเห็นรูปแบบบางอย่างที่น่าสนใจมาก — โดยเฉพาะ “นิสัย” ที่ทำให้เศรษฐีที่สร้างตัวเองแตกต่างจากคนทั่วไป
และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ… นิสัยแบบนี้ คนกว่า 93% ที่ยังไม่ใช่เศรษฐี มักมองข้ามไป
✅1. นิสัยชอบออมและการลงทุน ‘อย่างสม่ำเสมอ’
1
แซมบอกว่า ความสม่ำเสมอนั้นเป็นสิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เมื่อความผันผวนของตลาดหุ้น ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ สงครามการค้า และความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้นักลงทุนลังเล
แต่นี่คือความลับ มหาเศรษฐีไม่รอเวลาที่ "สมบูรณ์แบบ" ในการลงทุน พวกเขารู้ว่าการยืนหยันอยู่ในตลาดชนะเป็นเวลานาน สำคัญกว่าการพยายามจับจังหวะตลาด
เมื่อตลาดร่วง พวกเขาจะมองเห็นโอกาส ไม่ใช่ตื่นตระหนก พวกเขาตั้งการลงทุนแบบอัตโนมัติและมองช่วงตลาดขาลงเป็นโอกาสในการซื้อแบบลดราคา
ในทางตรงกันข้าม คนอเมริกันทั่วไปปล่อยให้ความกลัวกำหนดการตัดสินใจทางการเงิน ขายในช่วงตลาดขาลงและกักตุนเงินสดแทนที่จะลงทุน วิธีการที่ตอบสนองแบบนี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งที่มีนัยสำคัญได้
แซมบอกว่า เคล็ดลับหนึ่งที่เขาใช้มาตลอดก็คือ “ผมมักตั้งเป้าลงทุนอย่างน้อย 20% ของรายได้ และเพิ่มเปอร์เซ็นต์นั้นเมื่อรายได้ของผมเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ดอกเบี้ยทบต้นจะทำงานให้เป็นประโยชน์กับผม”
✅ 2. นิสัยชอบมองหาหาวิธีเพิ่มรายได้จากหลายๆ ช่องทาง
การพึ่งพาแหล่งรายได้เพียงแหล่งเดียว เช่น งานประจำของคุณ เป็นการเคลื่อนไหวที่เสี่ยง ในยุคของระบบอัตโนมัติ โลกาภิวัตน์ และปัญญาประดิษฐ์ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความมั่นคงในงาน
ยิ่งคุณมีแหล่งรายได้มากเท่าไร คุณก็ยิ่งมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นเท่านั้น เศรษฐีโดยเฉลี่ยมีแหล่งรายได้หลายทาง มาจาก
- เงินปันผลจากหุ้น
- รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
- กำไรจากธุรกิจเสริม
- ค่าลิขสิทธิ์จากทรัพย์สินทางปัญญา
- กำไรจากหุ้นและการลงทุนส่วนตัว
- ดอกเบี้ยจากพันธบัตรหรือบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง
- งานฟรีแลนซ์หรืองานที่ปรึกษา
แซมอธิบายเพิ่มเติมว่า แหล่งรายได้หลายทางทำหน้าที่เป็นตาข่ายความปลอดภัยทางการเงิน
หากคุณตกงาน อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า หรือพอร์ตโฟลิโอเงินปันผลสามารถรักษากระแสเงินสดให้ไหลเวียนได้ หากธุรกิจของคุณประสบปัญหา การลงทุนของคุณจะช่วยเป็นเบาะรองรับ
“เพราะการกระจายความเสี่ยงไม่ได้มีไว้สำหรับพอร์ตโฟลิโอหุ้นของคุณเท่านั้น แต่สำหรับชีวิตทางการเงินทั้งหมดของคุณด้วย” แซมกล่าว
✅ 3. นิสัยชอบใช้จ่ายอย่างมีกลยุทธ์ โดยคำนึงถึงค่าเสียโอกาสเสมอ
ข้อนี้ แซมเล่าว่า คนที่กลายเป็นเศรษฐีมักมี “ทักษะ” ที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง นั่นคือ การคิดโดยคำนึงถึงค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เสมอ
พวกเขาไม่ได้มองแค่ “สิ่งที่ได้” จากการใช้เงิน แต่จะถามตัวเองเสมอว่า “ถ้าเอาเงินก้อนนี้ไปทำอย่างอื่นแทน… ผลลัพธ์จะคุ้มค่ากว่านี้ไหม?”
แนวคิดนี้อาจฟังดูธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วมันทรงพลังมาก
มันทำให้พวกเขากล้าปฏิเสธความพึงพอใจระยะสั้น เพื่อให้ตัวเองมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว และเมื่อเริ่มมองทุกการใช้จ่ายผ่าน “ค่าเสียโอกาส” คุณจะพบว่า เงินทุกบาทที่จ่ายออกไป ต้องคิดให้หนักขึ้น และคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้นเสมอ
ตัวอย่างเช่น แทนที่จะซื้อรถหรูคันใหม่โดยไม่คิด เศรษฐีสร้างตัวเองจะถามกับตัวเองว่า
“ถ้าฉันลงทุน 60,000 ดอลลาร์นี้แทน มันจะมีมูลค่าเท่าไรในอีก 10 ปี? ถ้าฉันนำเงิน 60,000 ดอลลาร์ไปลงทุนใน S&P 500 ที่ผลตอบแทนรวมประจำปี 8% ฉันอาจมีเงิน 130,000 ดอลลาร์หรือเปล่า”
แทนที่จะใช้เงิน 5,000 ดอลลาร์สำหรับวันหยุด พวกเขาจะพิจารณาว่า เงินนี้จะถูกใช้ในการซื้อสินทรัพย์ที่จะสร้างผลตอบแทนเพื่อช่วยดูแลการเกษียณของฉันได้ดีกว่าหรือไม่?
แซมบอกว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช้เงินกับสิ่งที่อยากจะใช้ แต่มันคือการกำลังใช้จ่ายอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายหลักในการสร้างความมั่งคั่งยังเป็นไปตามนั้น
ถามตัวเองก่อนทำการซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ดังนี้
- สิ่งนี้จะเพิ่มมูลค่าเมื่อเวลาผ่านไปหรือไม่?
- สิ่งนี้จะปรับปรุงความสามารถในการหาเงินของฉันได้หรือไม่?
- ฉันกำลังเสียสละอะไร ถ้าใช้เงินก้อนนี้วันนี้?
✅ 4. ความเชื่อมั่นในตัวเองว่า “สักวันฉันจะรวย” จนเป็นนิสัย
แซมบอกว่า ถ้า 3 ข้อก่อนหน้านี้คือพฤติกรรมที่ลงมือทำจริง ข้อนี้คือ “แก่นความคิด” ที่ขับเคลื่อนทุกการกระทำของเศรษฐีสร้างตัวเอง
พวกเขาไม่ได้มองความมั่งคั่งว่าเป็น “ของฟ้าประทาน” หรือสงวนไว้แค่สำหรับคนบางกลุ่ม แต่เชื่อเต็มหัวใจว่า “ฉันสร้างมันได้ ด้วยมือของตัวเอง”
ความเชื่อนี้ไม่ได้ลอยๆ แต่เป็นพลังที่ผลักให้กล้าลงมือทำ แม้จะเคยขาดทุนจากการลงทุน ก็ไม่ล้มเลิก แม้ยังเป็นพนักงานประจำ ก็กล้าขอขึ้นเงินเดือน หรือเริ่มลงทุนในธุรกิจเล็ก ๆ – ไม่รอให้โอกาสมาหา แต่เดินเข้าไปหาโอกาสด้วยตัวเอง
เศรษฐีสร้างตัวเองที่แซมเคยพบ มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันหมด คือ แรงขับเคลื่อนแบบไม่หยุดยั้ง (relentless drive) พร้อมเสี่ยง พร้อมล้ม และพร้อมลุก และที่สำคัญ… พวกเขาวางตัวเองให้อยู่ในตำแหน่งที่ “ความสำเร็จมีโอกาสเกิดขึ้น” เสมอ
🔚สรุป: จากการตกผลึกของแซม โดเก็น เศรษฐีสร้างตัวเอง คือคนที่มีมีวินัย มีเป้าหมาย และมีความเชื่อว่า “ความรวยสร้างได้ ถ้าคิดเป็น ทำเป็น และทำต่อเนื่อง”
#aomMONEY #ความรวย #นิสัยเศรษฐี #การเงิน #การเงินส่วนบุคคล
โฆษณา