16 พ.ค. เวลา 05:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ

⚠️ อย่าเพิ่งเทเงินให้ G-Token ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ ไขลึกทุกแง่มุม เครื่องมือก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล

โพสต์นี้มาตามคำเรียกร้องในเรื่องที่หลายคนกำลังให้ความสนใจค่ะ นั่นก็คือ "G-Token" หรือโทเคนรัฐบาล ที่แว่วๆ มาว่าจะเป็นมิติใหม่แห่งการลงทุนในบ้านเรา
ว่าแต่มันคืออะไร? จะเหมือนที่เราซื้อพันธบัตรกันอยู่ไหม? แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง? วันนี้แอดจะมาย่อยเรื่องยากๆ ของ G-Token ให้เข้าใจง่ายกันค่ะ
Podcast Available 🎙️
🪙 G-Token คืออะไรกันแน่? ใช่คริปโตฯ ที่เอาไว้ซื้อของหรือเปล่า?
G-Token ถ้าให้แอดอธิบายง่ายที่สุด มันก็คือ "พันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบดิจิทัล"นั่นเองค่ะ แต่แทนที่เราจะถือใบพันธบัตรเป็นกระดาษ หรือมีข้อมูลในสมุดบัญชีเหมือนเดิม
1
👉🏻 G-Token จะมาในรูปแบบ "โทเคนดิจิทัล" ที่ซื้อขายกันบนระบบที่เรียกว่า "บล็อกเชน" (Blockchain) ค่ะ
แล้วบล็อกเชนคืออะไร? นึกภาพง่ายๆ มันคือสมุดบัญชีเล่มใหญ่ที่ทุกคนช่วยกันดูแล ข้อมูล ซึ่งในนั้นข้อมูลจะแก้ไขยากมาก โปร่งใส และตรวจสอบได้ค่ะ
1
🎯 เป้าหมายของรัฐบาลในการออก G-Token ก็คือ
1️⃣ ระดมทุน: รัฐบาลต้องการกู้เงินจากพวกเราประชาชนนี่แหละค่ะ เพื่อนำไปใช้จ่ายในโครงการต่างๆ หรือชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (คล้ายๆ กับการออกพันธบัตรปกติเลย)
1
2️⃣ สัญญาว่าจะคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย: เมื่อเราซื้อ G-Token ก็เหมือนเราให้รัฐบาลยืมเงิน พอถึงเวลาที่กำหนด (เรียกว่า "วันครบกำหนดไถ่ถอน") รัฐบาลก็จะคืนเงินต้นที่เราลงทุนไป พร้อมกับจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นผลตอบแทนค่ะ
3
⚠️ ที่สำคัญมากๆ G-Token ไม่ใช่
3
👉🏻 ไม่ใช่คริปโตเคอร์เรนซีแบบที่เราเอาไปซื้อของ หรือเก็งกำไรหวือหวา เหมือน Bitcoin หรือเหรียญอื่นๆ นะคะ
👉🏻 ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการ "ดิจิทัลวอลเล็ต" ที่รัฐบาลเคยพูดถึง อันนั้นคนละเรื่องกันเลยค่ะ
1
ดังนั้นโดยสรุป G-Token คือ "สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการลงทุน" ที่มีรัฐบาลไทยค้ำประกัน คล้ายๆ กับพันธบัตรเลยค่ะ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการนำร่องไปแล้วเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 วงเงิน 5,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเริ่มเปิดขายได้ประมาณเดือนกรกฎาคม 2568 และระบบจะเต็มรูปแบบในเดือนพฤศจิกายน 2568 ค่ะ โดยรุ่นแรกๆ อายุลงทุนจะไม่ยาวมาก ไม่เกิน 1 ปีค่ะ
📊 ลงทุนยากไหม? ต้องใช้เงินเยอะหรือเปล่า?
ข่าวดีคือ G-Token ตั้งใจจะให้ "นักลงทุนรายย่อย" หรือคนทั่วไปแบบเราๆ เข้าถึงได้ง่ายขึ้นค่ะ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินประมาณ 20,000 บาท ซื้อขายผ่านแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร
ถ้าเราอยากได้เงินคืนก่อนครบกำหนดล่ะ? G-Token ก็จะมี "ตลาดรอง" (Secondary Market) ให้เราสามารถขายต่อให้คนอื่นได้ เหมือนพันธบัตรทั่วไปเลยค่ะ
✅ ข้อดีของ G-Token ที่ต้องรู้
1
มาดูข้อดีที่รัฐบาลคาดหวังจาก G-Token กันบ้างค่ะว่ามีอะไรน่าสนใจ
1️⃣ สะดวก เข้าถึงง่าย: อย่างที่บอกไป ซื้อขายผ่านมือถือหรืออินเทอร์เน็ตได้เลย แค่มีเงินขั้นต่ำ 20,000 บาท ไม่ต้องเป็นเศรษฐีก็ลงทุนได้
2️⃣ รัฐบาลกู้เงินได้เร็ว ต้นทุนต่ำ: การออก G-Token ผ่านระบบดิจิทัลจะช่วยลดขั้นตอน ลดเอกสาร ทำให้รัฐบาลกู้เงินได้ไวขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการออกพันธบัตรแบบเดิมๆ ค่ะ
3️⃣ ลงทุนปลอดภัย ผลตอบแทนน่าสน: เพราะรัฐบาลค้ำประกัน โอกาสเสียเงินต้น (ถ้าถือจนครบกำหนด) แทบไม่มีเลยค่ะ แถมดอกเบี้ยก็น่าจะดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารทั่วไป เหมาะกับคนที่อยากได้ผลตอบแทนมากกว่าฝากเงินเฉยๆ แต่ก็ไม่อยากเสี่ยงสูง
4️⃣ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล: เป็นการโชว์ให้เห็นว่าบ้านเราก็เอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้จริงจังในภาครัฐแล้วนะ ช่วยให้ระบบการเงินเราทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลเลยค่ะ
5️⃣ ออมเงินคล่องตัวขึ้น: เพราะมีตลาดรองให้ซื้อขายได้ ถ้าต้องการใช้เงินด่วน ก็ขาย G-Token ต่อได้ ไม่ต้องรอจนครบอายุ (ในทางทฤษฎีนะคะ ความคล่องตัวจริงๆ ต้องดูตอนเปิดตลาดอีกที เพราะทุกอย่างในตลาดรองมันก็ต้องมีคนซื้อ กับคนขายค่ะ)
‼️ ข้อควรระวังของ G-Token
เหรียญมีสองด้านเสมอค่ะ G-Token ก็มีข้อกังวลและความเสี่ยงที่เราต้องพิจารณาเหมือนกัน
1️⃣ กลัวจะกลายเป็น "เงิน" อีกสกุล: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติบ้านเรา เตือนว่าต้องระวังอย่าให้ G-Token ถูกนำไปใช้ซื้อขายสินค้าและบริการแทนเงินบาท เพราะจะกระทบเสถียรภาพการเงินของประเทศ ควบคุมยาก ดังนั้น G-Token ควรใช้เพื่อ "ลงทุน" เท่านั้น
1
2️⃣ เรื่องกฎหมายยังต้องชัดเจน: นี่เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลไทยออกโทเคนระดมทุนแบบนี้ ก็มีคำถามว่ากฎหมายที่มีอยู่รองรับเต็มที่หรือยัง ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันว่าจะทำภายใต้ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะฯ และ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ แต่สุดท้ายก็ต้องมีกฎระเบียบย่อยๆ ออกมาให้ชัดเจนอีกทีค่ะ
3️⃣ สภาพคล่องตลาดรองอาจไม่ปังช่วงแรก: ถึงจะมีตลาดรองให้ซื้อขาย แต่ช่วงแรกๆ ที่ยังใหม่ คนซื้อคนขายอาจจะยังไม่เยอะ ทำให้ราคาในตลาดรองอาจจะแกว่งไปมาได้ ถ้าจำเป็นต้องขายก่อนครบกำหนด อาจจะไม่ได้ราคาที่หวัง หรืออาจขาดทุนจากราคาตลาดได้นะคะ
1
4️⃣ คนไม่คุ้นเคยเทคโนโลยีอาจจะงง: การซื้อขายผ่านแอปฯ หรือออนไลน์ทั้งหมด คนที่ไม่ถนัดเทคโนโลยีอาจจะรู้สึกว่ายุ่งยาก ต้องเรียนรู้ใหม่ และอาจเสี่ยงโดนหลอกทางไซเบอร์ได้ง่ายขึ้นถ้าไม่ระวัง
1
5️⃣ ความปลอดภัยไซเบอร์สำคัญสุดๆ: ทุกอย่างอยู่บนโลกดิจิทัล ก็ต้องระวังเรื่องการถูกแฮก ถ้าโดนโจมตีขึ้นมานี่เรื่องใหญ่เลยค่ะ ทั้งเงินลงทุนของเรา ทั้งความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล แม้รัฐจะบอกว่าป้องกันเต็มที่ แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องจับตา แถมรัฐก็มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบนี้สูงเหมือนกัน
1
6️⃣ ผลตอบแทน vs. ความน่าสนใจ: ดอกเบี้ยอาจจะดีกว่าเงินฝาก แต่ถ้าเทียบกับการลงทุนอื่นๆ ที่เสี่ยงกว่า เช่น หุ้น หรือคริปโตฯ ผลตอบแทนอาจจะดูน้อยไปสำหรับบางคน โดยเฉพาะนักลงทุนรุ่นใหม่ที่อาจมองหาอะไรที่ตื่นเต้นกว่านี้
2
อีกอย่างคือ เงินลงทุนขั้นต่ำ 20,000 บาท บางคนก็มองว่ายังสูงไปสำหรับคนรายได้น้อย ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยออกพันธบัตรแบบไม่มีใบ (Scripless Bond) ผ่านแอป "เป๋าตัง" ที่ซื้อขั้นต่ำแค่ 100 บาท ก็มีมาแล้ว
👉🏻 แล้วมันต่างจากซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ภาครัฐยังไง?"
อันนี้เป็นคำถามที่ดีมากๆ ค่ะ เพราะ...
1
📌 เงินลงทุนขั้นต่ำ: กองทุนรวมตราสารหนี้ภาครัฐหลายๆ กองทุน เราเริ่มต้นลงทุนได้ด้วยเงินน้อยมากๆ แค่ 1 บาท หรือ 100 บาท ก็ซื้อได้แล้วค่ะ ในขณะที่ G-Token รุ่นแรกกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 20,000 บาท ซึ่งอาจจะยังสูงไปสำหรับคนที่มีงบน้อยจริงๆ หรืออยากจะลองเริ่มต้นด้วยเงินจำนวนไม่มาก
📌 ความสะดวกในการซื้อขายและ KYC: กองทุนรวมสมัยนี้ก็ซื้อผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารหรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ได้ง่ายๆ แล้ว แถมขั้นตอนการยืนยันตัวตน (KYC - Know Your Customer) ก็ทำออนไลน์ได้เหมือนกัน
ดังนั้นในแง่ "ความง่าย" ของการเปิดบัญชีและทำรายการซื้อขายครั้งแรก G-Token อาจจะไม่ได้สะดวกไปกว่ากองทุนรวมมากนักสำหรับคนที่คุ้นเคยกับการซื้อกองทุนอยู่แล้ว
📌 ลักษณะการลงทุน:
G-Token: เราซื้อ "โทเคน" โดยตรง ซึ่งก็คือสิทธิในการเป็นเจ้าหนี้รัฐโดยตรง ได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนด และเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด (ถ้าถือจนครบ) หรือถ้าขายในตลาดรอง ราคาก็ขึ้นอยู่กับอุปสงค์อุปทานในตลาดนั้นๆ
กองทุนรวมตราสารหนี้ภาครัฐ: เราซื้อ "หน่วยลงทุน" ของกองทุน ซึ่งมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพนำเงินของเราและของคนอื่นๆ ไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐหลากหลายรุ่นอีกทอดหนึ่ง ผลตอบแทนที่เราได้จะมาจากมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก็สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนนั้นๆ ค่ะ
กองทุนจะมีความหลากหลายของตราสารหนี้ที่ลงทุนมากกว่า และมีสภาพคล่องในการซื้อขายคืนหน่วยลงทุนกับ บลจ. ตามรอบเวลาที่กำหนด
👉🏻 ดังนั้น แม้ G-Token จะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ถ้ามองในมุมของนักลงทุนรายย่อยที่อยากเริ่มต้นด้วยเงินน้อยๆ หรือคุ้นเคยกับความสะดวกของกองทุนรวมอยู่แล้ว อาจจะมองว่า G-Token ที่ขั้นต่ำ 20,000 บาทยังไม่ตอบโจทย์เท่า หรืออาจจะสงสัยว่ามีข้อได้เปรียบอะไรที่ชัดเจนกว่ากองทุนรวมในแง่ความง่ายและเงินลงทุนเริ่มต้น
1
และก่อนหน้านี้รัฐเองก็เคยออกพันธบัตรแบบไร้ใบหุ้น (scripless) ที่ประชาชนซื้อขั้นต่ำ เพียง 100 บาท ผ่านแอป "เป๋าตัง" ได้อยู่แล้ว
ดังนั้น G-Token อาจไม่ใช่วิธีเดียวในการเปิดโอกาสรายย่อยเสมอไป และอาจมีวัตถุประสงค์อื่น เช่น การทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการสร้างฐานนักลงทุนอีกกลุ่มก็เป็นได้ค่ะ หรืออะไรอื่นๆ ที่เราไม่รู้อีกก็เป็นได้
1
⚠️ G-Token กับหนี้สาธารณะของประเทศ สรุปแล้วเป็นหนี้เพิ่มไหม?
คำถามยอดฮิตเลยค่ะ ดังนั้นตอบให้ชัดๆ ตรงนี้เลยว่า... ใช่ค่ะ G-Token คือการกู้เงินของรัฐบาล และจะถูกนับเป็น "หนี้สาธารณะ" เหมือนเดิม
ถึงจะมาในรูปแบบโทเคนดิจิทัลสุดไฮเทค แต่เนื้อแท้ของมันก็คือ "ตราสารหนี้" ที่รัฐบาลออกเพื่อยืมเงินประชาชน และมีภาระต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ไม่ได้ทำให้หนี้สาธารณะของประเทศลดลงนะคะ แต่เป็น "อีกวิธีหนึ่ง" ในการกู้เงิน
📌 แล้วต่างจากพันธบัตรแบบเดิมยังไง?
1️⃣ ช่องทางขาย: พันธบัตรเดิมซื้อผ่านแบงก์ แต่ G-Token จะซื้อผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือโบรกเกอร์ที่ ก.ล.ต. อนุญาต
2️⃣ ต้นทุน/เวลา: G-Token คาดว่าจะเร็วกว่า ประหยัดกว่า แต่ก็มีต้นทุนด้านระบบไอทีที่ต้องทำในช่วงแรก
3️⃣ กลุ่มเป้าหมาย: พันธบัตรเดิมอาจจะเข้าถึงคนได้กว้างกว่าด้วยขั้นต่ำน้อยๆ (หลักร้อยบาท) ส่วน G-Token (ขั้นต่ำ 20,000 บาท) อาจจะเจาะกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อระดับหนึ่ง คุ้นเคยเทคโนโลยี หรือกลุ่ม Gen Z ที่สนใจสินทรัพย์ดิจิทัล
🇹🇭 จะมีผลต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไหม?
การกู้เงินผ่าน G-Token เป็นการกู้เงินบาทจากคนในประเทศ ไม่น่าจะกระทบอันดับความน่าเชื่อถือโดยตรงค่ะ ถ้าทำได้ดี รัฐอาจพึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศน้อยลงด้วยซ้ำ แต่ถ้ากู้เยอะเกินไปโดยไม่ดูฐานะการคลัง ก็กระทบความเชื่อมั่นได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะกู้ด้วยวิธีไหนก็ตาม
ดังนั้นกระทบเรตติ้งหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลกู้เยอะแค่ไหน ซึ่งเราจะนับหมดทุกช่องทางรวมถึง G-Token ด้วยนั่นเองค่ะ
1
🎯 ถ้า G-Token ปัง! จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
สมมติว่า G-Token ได้รับการตอบรับอย่างดี จะมีผลกระทบในหลายๆ ด้านเลยค่ะ
1
ด้านการเงินการคลังของรัฐ:
✅ ข้อดี: รัฐกู้เงินง่ายขึ้น เร็วขึ้น ต้นทุนอาจจะถูกลงในระยะยาว ช่วยให้คนมีทางเลือกออมเงินที่ได้ผลตอบแทนดีกว่าฝากแบงก์
‼️ ข้อควรระวัง: ถ้าคนแห่ซื้อ G-Token เยอะๆ เงินฝากในแบงก์อาจจะไหลออก หรือถ้ารัฐกู้เพลินจนหนี้บานปลาย ก็เป็นปัญหาได้เหมือนกัน
2
ด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน:
✅ ข้อดี: เป็นการผลักดันให้คนไทยคุ้นเคยกับบล็อกเชนมากขึ้น องค์กรอื่นๆ อาจจะหันมาใช้เทคโนโลยีนี้ตาม สร้างบุคลากรด้านดิจิทัลให้ประเทศเราเก่งขึ้น อาจจะเป็นกรณีศึกษาให้ทั่วโลกดูเลยก็ได้
‼️ ข้อควรระวัง: ระบบต้องเจ๋งจริง ปลอดภัย รองรับคนใช้เยอะๆ ได้ ถ้าโดนแฮกหรือระบบล่มนี่เสียหายหนักแน่ๆ
ด้านเศรษฐกิจโดยรวม:
✅ ข้อดี: อาจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง เพราะคนมีรายได้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เงินที่รัฐระดมทุนได้ก็เอาไปหมุนเวียนในระบบ
‼️ ข้อควรระวัง: แบงก์อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อดึงคนไว้ ซึ่งอาจทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นตามไปด้วย หรือถ้ารัฐกู้ง่ายไป อาจจะขาดวินัยการคลังได้
2
🎯 สรุปส่งท้าย และความเห็นส่วนตัว
G-Token ถือเป็นก้าวใหม่ที่น่าสนใจมากๆ ของรัฐบาลไทยในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ระดมทุน มีข้อดีหลายอย่าง ทั้งสะดวก เข้าถึงง่าย ช่วยลดต้นทุนให้รัฐ และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ก็มีความท้าทายไม่น้อย ทั้งเรื่องความเข้าใจของประชาชน กฎหมายที่ต้องชัดเจน และความเสี่ยงทางเทคโนโลยี
ถ้าออกมาขายจริง ก็จะกลายเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจอีกแบบสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ
แต่แอดว่าคำถามที่ควรถามจริงๆ คือ ด้วยความประเทศเรายังมีปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ มากมายขนาดนี้ ทำไมรัฐบาลถึงสนใจเรื่องนี้จริงจัง ทั้งๆ ที่ช่องทางการระดมทุนแบบเดิมก็มีอยู่ รวมถึงรายย่อยเองก็มีช่องทาง “เป๋าตัง” และกองทุนรวม ที่ต่างใช้เงินน้อยกว่า และไม่ว่ารัฐบาลจะกู้ผ่านช่องทางไหน มันก็คือ หนี้สาธารณะเหมือนกันนั่นแหละ นอกจากตั้งใจที่จะเอาไปซุกไว้ที่อื่นๆ
1
ซึ่งอาจไม่เกิดก็ได้นะคะ แค่สงสัยว่าทำไปทำไม เพื่ออะไร และมันเร่งด่วนขนาดนั้นเลยหรอ เพราะรัฐบาลชุดนี้อะไรๆ ก็พยายามจะไป blockchain ให้ได้จังเลย 😆
3
โฆษณา