18 พ.ค. เวลา 07:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ประตูน้ำ ห้วยขวาง สำเพ็ง ย่านการค้าไทย ที่คนจีน กำลังเข้ามาแย่งพื้นที่

- ปัจจุบัน มีคนไทยเชื้อสายจีนมากกว่า 9 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 7 ของประชากรทั้งประเทศ
โดยคนจีน ที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่รุ่นอากง อาม่า ต่างก็เข้ามาหลอมรวมกับสังคมไทย กลายเป็นคนไทย และทำมาค้าขายเพื่อสร้างฐานะ
1
ซึ่งก็มีคนจีนที่อพยพเข้ามาจำนวนไม่น้อย ที่สามารถปลุกปั้นธุรกิจในประเทศไทยให้เติบโต และขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ
1
อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเข้ามาค้าขายของคนจีนในปัจจุบัน ค่อนข้างแตกต่างจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาในสมัยก่อน
1
ซึ่งคนจีนยุคใหม่เหล่านี้ มักเข้ามาลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ จนส่งผลกระทบกับคนไทย ที่ทำมาค้าขายในย่านนั้น ๆ
1
ตัวอย่าง ย่านที่ได้รับผลกระทบ เช่น
- ประตูน้ำ
- ห้วยขวาง
- สำเพ็ง
แล้วคนจีนยุคใหม่ เข้ามาครอบครองพื้นที่ค้าขายสำคัญในย่านเหล่านี้ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เริ่มกันที่ย่านประตูน้ำ
ย่านประตูน้ำ เรารู้จักกันดีในฐานะศูนย์กลางค้าปลีกและค้าส่งเสื้อผ้า ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันย่านประตูน้ำ กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากการเข้ามาของนักธุรกิจชาวจีน ยกตัวอย่างเช่น
- กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ในมณฑลเจ้อเจียง ที่นำเสื้อผ้าเด็กเข้ามาขายเองถึงที่ ในตึกใบหยก 1
1
- กลุ่มบริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ของประเทศจีนหลายแห่ง
ก็เลือกนำเสื้อผ้าที่สั่งผลิตจากโรงงานโดยตรง มาขายในห้างสรรพสินค้าย่านประตูน้ำ ในราคาที่ถูกกว่าร้านค้าที่มีอยู่เดิม
ต่อมาคือ ย่านห้วยขวาง
ที่ในอดีตเป็นแหล่งของกิน และแหล่งช็อปปิงยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน
ซึ่งในเวลาต่อมา ในพื้นที่ย่านห้วยขวางก็มีคนจีนรุ่นใหม่ เข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้นตั้งแต่ปี 2556
โดยคนจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยในย่านนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักธุรกิจชาวจีนรุ่นใหม่ ที่เข้ามาหาโอกาสทำมาค้าขายในประเทศไทย
ทำให้ย่านห้วยขวาง ได้รับการขนานนามว่าเป็นย่าน “ไชน่าทาวน์ 2” ต่อจากย่านถนนเยาวราช
ซึ่งต้องบอกว่าคนจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยในไชน่าทาวน์ 2 หรือย่านห้วยขวางนั้น แตกต่างจากคนจีนรุ่นแรก ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเยาวราช
คนจีนกลุ่มนี้บางส่วน จะเน้นเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว
เพื่อเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เช่น เปิดร้านอาหาร ร้านขายของ ที่เน้นลูกค้าชาวจีน
2
ทีนี้ พอคนจีนหลายคนเลือกที่จะมาเปิดธุรกิจในย่านนั้น ๆ ก็มีส่วนทำให้จำนวนประชากรชาวจีนในย่านนั้น สูงขึ้นตามไปด้วย จนกลายเป็นกลุ่มลูกค้าของกันและกันไปในตัว
และหนึ่งในท่าที่เห็นกันเยอะ คือการตั้งบริษัทในประเทศไทย และให้นอมินีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
เช่น ถือหุ้นสัดส่วนเกิน 51% เพื่อให้มีสถานะว่า เป็นร้าน เป็นกิจการ ที่มีเจ้าของหลักเป็นคนไทย
1
แล้วหลังจากนั้น ก็จะนำบริษัทดังกล่าวมาเปิดเป็นธุรกิจต่าง ๆ
เช่น ร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านหม่าล่า, ร้านหม้อไฟ, โรงเรียนสอนภาษาไทย, ร้านนวด
ซึ่งก็ตอบโจทย์ทั้งคนที่อยู่อาศัยในย่านนั้น และคนไทยเอง ที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมต่าง ๆ จากจีน
โดยร้านเหล่านี้ ก็จะเน้นติดป้ายภาษาจีนเป็นภาษาหลัก เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวชาวจีน รวมถึงคนจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยในย่านนั้น
อีกย่านที่สำคัญคือ สำเพ็ง
เดิมที ย่านสำเพ็ง เคยเป็นย่านค้าส่งเสื้อผ้าและสินค้าเบ็ดเตล็ด ของพ่อค้าแม่ค้าคนไทย
แต่เดิม กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า จะนิยมสั่งผลิตสินค้าจากโรงงานในประเทศไทย หรือบางรายอาจถึงขั้นบินไปเจรจาธุรกิจถึงประเทศจีน
แต่ในปัจจุบัน เริ่มมีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าคนจีนหน้าใหม่ เข้ามาครองพื้นที่สำคัญ เพื่อทำมาค้าขายในย่านสำเพ็งมากขึ้น
โดยพวกเขาสามารถเจรจากับโรงงานผู้ผลิตในประเทศจีนได้โดยตรง เพื่อนำสินค้าเข้ามาขายถึงมือคนไทย ในราคาขายส่ง
ถ้าให้วิเคราะห์ว่า ทำไมคนไทยที่เคยค้าขายอยู่ในทำเลทองหลายแห่ง ถึงถูกคนจีนแย่งพื้นที่การค้าไป
ต้องบอกว่า กลุ่มคนจีนรุ่นใหม่ที่เข้ามาค้าขายในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็มีคอนเน็กชัน
หรือรู้จักกับเครือข่ายธุรกิจ ที่เป็นบริษัทหรือโรงงานผู้ผลิตในประเทศจีน
จึงสามารถดีลกับโรงงานผู้ผลิตในประเทศของตัวเอง และสามารถสั่งซื้อสินค้ามาได้ทีละจำนวนมาก ๆ จนเกิด Economies of Scale คือได้ต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำมาก ในการสั่งซื้อแต่ละล็อต
1
ทำให้กลุ่มคนจีนรุ่นใหม่ สามารถนำสินค้าราคาถูกกว่า จากโรงงานผู้ผลิตในประเทศจีน เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน และของใช้ภายในบ้าน
2
เข้ามาตัดราคาขาย แข่งกับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของอยู่เดิม ในย่านสำเพ็ง ประตูน้ำ และห้วยขวาง จนร้านค้าเดิมแข่งขันได้ยาก
1
อีกจุดที่น่าสนใจคือ เรื่องของค่าเช่าในทำเลสำคัญ ที่มีกลุ่มคนจีนเข้ามาทำธุรกิจ มีการปรับตัวสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ
ตัวอย่างเช่น ข้อมูลจาก Manager Online พบว่า ค่าเช่าพื้นที่ชั้นล่าง ของอาคารพาณิชย์ริมถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ที่มีขนาดหน้ากว้าง 4 เมตร บนที่ดินขนาดเพียง 12 ตารางวา
จากในช่วงก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2563 ที่มีเรตราคาค่าเช่าอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน
ก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 30,000-40,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ ยังพบว่าค่าเช่าอาคารพาณิชย์ ในโซนเยาวราช-สำเพ็ง ก็ปรับตัวสูงขึ้น
จากในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ค่าเช่าอยู่ที่ 70,000-100,000 บาทต่อเดือน
ตอนนี้ปรับขึ้นกลายเป็น 100,000-500,000 บาทต่อเดือน เลยทีเดียว
2
โดยราคาค่าเช่าที่ปรับตัวสูงขึ้น ก็กระทบกับผู้เช่าคนไทย ซึ่งเช่าพื้นที่ในย่านนั้น ที่ต้องมีต้นทุนค่าเช่าที่สูงขึ้น แต่รายได้อาจไม่ได้สูงขึ้นจนตามได้ทัน
ทำให้บางรายอาจต้องปิดกิจการ หรือต้องย้ายไปพื้นที่อื่นแทน
ในขณะที่นักธุรกิจชาวจีนรุ่นใหม่ ที่มีทุน มีสายป่านยาวกว่า และสามารถสู้ต้นทุนตรงนี้ได้ ก็ได้เข้ามาจับจองพื้นที่เหล่านั้นแทน..
1
การเข้ามาของนักธุรกิจชาวจีนรุ่นใหม่ กำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าและสังคม ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะประตูน้ำ ห้วยขวาง และสำเพ็ง
1
ซึ่งฝ่ายที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนหนึ่งก็คือ พ่อค้าแม่ค้าเดิม ที่อยู่ในย่านเหล่านั้น
1
รวมถึงผลกระทบทางอ้อม ที่กำลังขยายไปยังพื้นที่ และคนไทย ในย่านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน..
โฆษณา