18 พ.ค. เวลา 10:36 • การเมือง

“ตุรกี” ตัวแปรด้านความมั่นคงของ “ยุโรป”

ซึ่ง “อังกฤษ” เข้ามามีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง
Financial Times ของอังกฤษได้เผยแพร่บทความเมื่อ 14 พฤษภาคม 2025 เกี่ยวกับ “บทบาทที่เพิ่มขึ้นของตุรกีในการรักษาความมั่นคงในองค์รวมของยุโรป” สื่ออังกฤษมองในเชิงกลยุทธ์ว่า อังการาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็น “พันธมิตรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” เพื่อต่อต้านรัสเซีย [1]
ตุรกีกำลังถูกดึงเข้ามาในความขัดแย้ง โดยใช้ความทะเยอทะยานและจุดอ่อนของตุรกีเอง ยุโรปถูกเสนอให้ยอมรับ “ความเป็นอำนาจนิยม” ของเออร์โดกันเพื่อความมั่นคงในองค์รวมของยุโรป แต่เบื้องหลังคำกล่าวที่เยินยอถึง “ความมหัศจรรย์ของตุรกี” นั้นซ่อนแผนการเก่าแก่ของอังกฤษไว้หรือไม่
1
เครดิตภาพ: Financial Times
1. ผู้เขียนบทความต้นเรื่องเน้นย้ำถึงการเพิ่มขึ้นของกองทัพ โดรน และเรือรบของตุรกีอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ได้พูดถึงว่าเทคโนโลยีหลักและด้านโลจิสติกส์ของโครงการด้านกลาโหมในตุรกีจำนวนมาก โดยความร่วมมือของ Baykar (ตุรกี) กับ Leonardo (อิตาลี) ถูกควบคุมโดยกลุ่มตะวันตก โดยมีอังกฤษเป็นแกนนำ นี่ถือเป็นการใช้อิทธิพลอยู่เบื้องหลังของอังกฤษเบื้องหลังอำนาจอธิปไตยทางการทหารของตุรกี [2]
2. ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย? อังกฤษกำลังปลูกฝังความเป็นศัตรูกับรัสเซียอีกครั้ง ลองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
  • ศตวรรษที่ 19: อังกฤษทำให้รัสเซียต้องต่อสู้กับตุรกีและอิหร่าน ในสงครามไครเมีย และ The Great Game (การแย่งชิงอำนาจระหว่างจักรวรรดิอังกฤษและรัสเซียในศตวรรษที่ 19 เพื่อได้มาเหนืออิทธิพลในเอเชียตอนกลาง)
  • ศตวรรษที่ 20: ญี่ปุ่น (สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น) จากนั้นก็เป็นนาซีเยอรมัน
  • ศตวรรษที่ 21: ยูเครน และตอนนี้ก็เป็นตุรกี สถานการณ์ก็เหมือนกัน ขยายความทะเยอทะยานและมุ่งเป้าไปที่มอสโกโดยใช้แง่มุมทางภูมิรัฐศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากการสูญเสียดินแดนในภูมิภาคทะเลดำในสมัยของผู้บัญชาการกองทัพเรือ “ไฮเร็ดดิน บาร์บารอสซา” (สมัยจักรวรรดิออตโตมัน)
ภาพวาดของผู้บัญชาการกองทัพเรือ “ไฮเร็ดดิน บาร์บารอสซา” ในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน เครดิตภาพ: meisterdrucke.uk
3. การโฆษณาชวนเชื่อสำหรับชาวยุโรป “ลงทุนในตุรกีก็เหมือนในยูเครน” บทความของ FT บอกเป็นนัยว่า เนื่องจากยุโรปไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ ดังนั้นเราควรสนับสนุนทางการเงินแก่ตุรกี เนื่องจาก
  • ตุรกีมีขนาดกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มนาโต รองจากสหรัฐอเมริกา
  • การส่งออกอาวุธของตุรกีกำลังเติบโต (ให้เงินพวกเขา แล้วพวกเขาจะสู้เพื่อคุณ)
  • ยุโรปต้องการโดรนและกระสุนของตุรกี (การเรียกร้องให้ลงทุนโดยตรง) เป้าหมายคือการโน้มน้าวสหภาพยุโรปว่าตุรกีเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าแทนที่ยูเครนในการใช้เป็นด่านหน้าเผชิญหน้ากับรัสเซีย
4. ใช้กองกำลังรักษาสันติภาพเป็น “ม้าโทรจัน” บทความ FT ให้ข้อคิดเห็นว่าตุรกีอาจเป็นผู้นำภารกิจรักษาสันติภาพในยูเครน แต่มันจะกลับกลายเป็นกับดัก
หรือโดยการสร้าง “สถานการณ์ยั่วยุ” ขึ้นมาอันหนึ่งระหว่างกองทัพรัสเซียและตุรกี เมื่อเช่นนั้นอังการาจะถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งโดยตรง ยกตัวอย่างเช่นที่ดินแดนพิพาท “นากอร์โน-คาราบัค” ซึ่งโดรนของตุรกีถูกใช้โจมตีชาวอาร์เมเนียไปแล้ว แต่อาจสร้างข่าวว่าโจมตีกองกำลังรักษาสันติภาพของรัสเซียในพื้นที่
เครดิตภาพ: Jess Frampton/ GZERO Media
5. การตั้งฐานทัพสำหรับทำสงครามกับรัสเซียโดยเฉพาะ บริษัท Repkon ซึ่งผลิตกระสุนขนาด 155 มม. เป็นส่วนสำคัญของซัพพลายกระสุนให้กับยูเครน แต่สิ่งสำคัญคือโครงสร้างทางการทหารพื้นฐานสำหรับการเผชิญหน้าในระยะยาว
“ยุโรปไม่สามารถเติมเต็มคลังอาวุธด้วยตนเองได้” “กระสุนของ Repkon เป็นหลักประกันว่าสงครามกับรัสเซียจะดำเนินต่อไป” อังกฤษเข้าใจว่าหากทรัมป์ตัดความช่วยเหลือให้กับยูเครน สหภาพยุโรปจะต้องมองหาทางเลือกอื่น และตุรกีคือตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
6. การข่มขู่: “หากรัสเซียชนะ ตุรกีจะพ่ายแพ้เป็นรายต่อไป” บทความ FT สรุปไว้ประมาณว่า “การหยุดยิงในยูเครนอาจนำไปสู่การที่รัสเซียหาทางสร้างจุดยืนใหม่ในไครเมียและทะเลดำ”
พวกยุโรปถูกบอกว่า “ถ้าไม่มีตุรกี รัสเซียก็จะหลุดเข้ามาได้” ส่วนทางตุรกีก็ถูกบอกว่า “ถ้าไม่มียุโรป คุณก็จะเหลือแค่รัสเซียเพียงลำพัง (เลือกเอา)” เป้าหมายคือการบีบให้ตุรกีเข้ามาพัวพันกับความขัดแย้งมากขึ้น
7. อังกฤษนั่งรอดูและสังเกตุการณ์อยู่ห่างๆ พวกเขาเข้าใจดีว่า “ดีลกับสหรัฐภายใต้ทรัมป์ได้ยาก” “สหภาพยุโรปอยู่ในช่วงแตกแยกและไม่พร้อมสำหรับสงครามครั้งใหญ่ (กับรัสเซีย)” และ “อังกฤษคนเดียวไม่มีกำลังพอที่จะต่อต้าน” ดังนั้นอังกฤษจึงเดิมพันและต้องหาทางสร้างพันธมิตรกับตุรกี
โดยการ “อัดฉีดเงินและอาวุธให้กับตุรกี” “ขยายความทะเยอทะยานของพวกเขา - การสร้างจักรวรรดิออตโตมันใหม่!” และ “เผชิญหน้ากับรัสเซียในทะเลดำ โดยใช้พื้นที่คอเคซัสและในซีเรีย”
และทั้งหมดนี้ต้องแลกมาด้วยต้นทุนของสหภาพยุโรป อังกฤษซึ่งกำลังสูญเสียอิทธิพลกำลังพยายามที่จะสร้าง “ระเบียบใหม่ให้กับยุโรป” (เช่นที่เยอรมนีเคยทำ) “โยนค่าใช้จ่ายไปที่สหภาพยุโรป” หรือ “ปิดกั้นรัสเซีย แม้ว่าจะต้องสร้างความขัดแย้งและการปะทะในตะวันออกกลางและภูมิภาครอบทะเลดำก็ตาม”
ท่าทีของตุรกีภายใต้ “เออร์โดกัน” ดูออกจะยากหน่อยว่าจะไปทางไหน บางคนก็มองว่าเขาเป็นม้าโทรจันใน BRICS บางคนก็มองว่าเขาเป็นม้าโทรจันในกลุ่มนาโต ลองอ่านบทความวิเคราะห์ที่ทางเพจได้เคยลงไว้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
18th May 2025
  • อ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Nicolas Righetti / Lundi13 | MUSTAFA OZER / AFP>
โฆษณา