20 พ.ค. เวลา 06:42 • ข่าวรอบโลก

จีนเร่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ทางการทหาร

นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย
กองทัพปลดแอกประชาชนจีน หรือ People’s Liberation Army (PLA) มีกำลังพลประจำการอยู่ประมาณ 2,035,000 นาย เป็นกองทัพที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 3 เหล่าทัพหลักคือ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ นอกจากนั้นยังมีกองกำลังจรวดที่รับผิดชอบด้านขีปนาวุธ+อาวุธนิวเคลียร์ และ กองกำลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ที่รับผิดชอบด้านไซเบอร์+สงครามอิเล็กทรอนิกส์และอวกาศ
นอกจากกำลังพลที่ประจำการมากถึง 2 ล้านนายแล้ว จีนยังมี กำลังพลสำรอง 5.1 แสนนาย กองกำลังกึ่งทหาร เช่น กองกำลังตำรวจติดอาวุธประชาชนอีก 5 แสนนาย รวมบุคลากรทั้งกองทัพมีมากถึง 3,045,000 นาย
จีนปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องหลายเดือน เมษายน 2024 จีนตั้งหน่วยใหม่คือกองกำลังไซเบอร์สเปซ และกองกำลังสนับสนุนข้อมูล เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านสงครามไซเบอร์และการสนับสนุนข้อมูลในยุคดิจิทัล
15 พฤษภาคม 2025 กระทรวงกลาโหมของจีนประกาศจัดตั้ง สถาบันการทหารใหม่ 3 แห่ง ภายใต้การอนุมัติของคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางเพื่อยกระดับการฝึกอบรมและพัฒนากำลังพล ให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างและความต้องการด้านความมั่นคงของ PLA
1
1.มหาวิทยาลัยกองทัพบกของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน 2.มหาวิทยาลัยวิศวกรรมกองกำลังสนับสนุนสารสนเทศของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน และ 3.มหาวิทยาลัยวิศวกรรมกองกำลังสนับสนุนร่วมทางโลจิสติกส์ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนทั้งสามมหาวิทยาลัยเปิดรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลาย
1
มหาวิทยาลัยกองทัพบกของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนรวมโรงเรียนนายร้อยกองกำลังติดอาวุธและโรงเรียนนายร้อยทหารปืนใหญ่และการป้องกันภัยทางอากาศ ตั้งที่เมืองเหอเฝย มณฑลอานฮุย เน้นฝึกเจ้าหน้าที่ในหน่วยของกองทัพบก
มหาวิทยาลัยวิศวกรรมกองกำลังสนับสนุนสารสนเทศของกองทัพ ปลดแอกประชาชนจีน ตั้งจากการรวมวิทยาลัยสารสนเทศและการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีการป้องกันแห่งชาติและสถาบันการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยวิศวกรรมกองทัพบก ตั้งที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ เน้นการฝึกการสนับสนุนสารสนเทศและการสื่อสาร
1
มหาวิทยาลัยวิศวกรรมกองกำลังสนับสนุนร่วมทางโลจิสติกส์ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน จัดตั้งโดยการรวมโรงเรียนนายร้อยโลจิสติกส์และมหาวิทยาลัยการขนส่งทางทหาร ตั้งที่นครฉงชิ่ง เน้นการฝึกด้านโลจิสติกส์และการสนับสนุนร่วม
1
ปากีสถานคือลูกค้าสำคัญของจีน นอกจากเครื่องบินขับไล่ J–10C และขีปนาวุธ PL–15 ที่เปิดตัวจากปฏิบัติการในความขัดแย้งระหว่างปากีสถาน–อินเดียแล้ว ปากีสถานยังสั่งซื้อเรือดำน้ำ Hangor–Class 8 ลำ ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ Type 039A โดย 4 ลำแรกสร้างในจีน และอีก 4 ลำสร้างในปากีสถาน
ที่ตะวันตกมองข้ามไม่ได้คือการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการทหารของจีน จีนลงทุนมหาศาลในการพัฒนา AI ในระบบ การตัดสินใจ การควบคุมการรบ และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่ม ความเร็ว+ความแม่นยำในการปฏิบัติการทางทหาร รวมทั้งระบบสื่อสาร และการควบคุมที่ใช้ AI เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่าง หน่วยงานและการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สหรัฐฯแสดงความกังวลอย่างออกนอกหน้า มองว่าการขยายกำลังทหารและเทคโนโลยีของจีนเป็นความท้าทายต่อความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก สหรัฐฯพยายามสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร ในภูมิภาค และลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารขั้นสูงเพื่อรักษา ความได้เปรียบและป้องกันไม่ให้จีนมีอิทธิพลเหนือภูมิภาคฯ
สหรัฐฯโดยมีกองเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็น เครื่องแสดงอำนาจทางทะเล 11 ลำ มีเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความตึงเครียดและมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สูง แถมกองทัพเรือสหรัฐฯก็ยังมีฐาน อยู่ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ที่คอยช่วยเสริมกำลังในภูมิภาคนี้
แม้ว่ากองทัพสหรัฐฯจะมีแสนยานุภาพยิ่งใหญ่เกรียงไกร ปานใด แต่ก็ประมาทจีนไม่ได้ เพราะจีนมีเรือรบใหม่เข้าประจำการ ในอัตราเร็วกว่า เพราะจีนผลิตเรือรบได้มากถึง 6 ลำต่อทุก 1.8 ลำ ของสหรัฐฯ รวมทั้งเรือดำน้ำชั้น Yuan และ Shang ซึ่งเงียบและ ยากต่อการตรวจจับ
ขนาดของกองทัพ+คุณภาพอาวุธยุทโธปกรณ์+ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีทางทหารที่หายใจรดต้นคอสหรัฐฯ ทุกการกระดิกพลิกตัว ของกองทัพจีนทำให้สหรัฐฯและพันธมิตร นอนหลับอย่างไม่สบายใจ.
โฆษณา