Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
22 พ.ค. เวลา 15:30 • ข่าว
"พระภิกษุ" เสียภาษีหรือไม่?
เพื่อความเข้าใจในประเด็นนี้ เราควรเข้าใจภาพรวมก่อนว่า "ใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี?"
[ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ]
✅#บุคคลทั่วไป: โดยไม่จำกัดอายุ เพศ อาชีพ เชื้อชาติ หรือศาสนา
✅#ผู้ที่เสียชีวิตระหว่างปี: หากมีรายได้ในปีนั้น ทายาทมีหน้าที่ยื่นภาษีแทน
✅#กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง: กรณีผู้เสียชีวิตมีทรัพย์สินที่ยังสร้างรายได้อยู่แต่ยังไม่ได้ส่งต่อให้ทายาท เช่น ค่าเช่า เงินปันผล ฯลฯ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกต้องนำรายได้ไปยื่นภาษี
✅#ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะที่ไม่ใช่นิติบุคคล: หากมีรายได้ก็ต้องยื่นภาษีเช่นกัน
[ กรณีของพระภิกษุ ]
พระภิกษุถือเป็น "บุคคลธรรมดา" ที่มีหน้าที่ต้องยื่นหรือเสียภาษีเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป อย่างไรก็ตาม มีรายได้ 2 ประเภทที่พระภิกษุได้รับการยกเว้นภาษี ได้แก่
🪙1. เงินบริจาคจากญาติโยม ที่ถวายเป็นการส่วนตัว เช่น เงินที่ใส่ซองถวายในโอกาสต่างๆ หรือปัจจัยที่ใส่บาตรในเวลาบิณฑบาต
🪙2. นิตยภัต หรือเงินที่ได้จากตำแหน่งทางคณะสงฆ์ เช่น เงินที่ได้รับจากการดำรงตำแหน่งเจ้าคณะ หรือตำแหน่งอื่นๆ ตามลำดับชั้นของคณะสงฆ์
[ รายได้ที่พระภิกษุต้องเสียภาษี ]
หากพระภิกษุมีเงินได้นอกเหนือจาก 2 ประเภทข้างต้น เกินกว่า 60,000 - 120,000 บาทต่อปี พระภิกษุมีหน้าที่ต้องยื่นภาษี เพื่อคำนวณการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
ตัวอย่างเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น
▶ เงินได้ที่มีลักษณะเป็น "เงินเดือน" จากหน้าที่การงานที่ทำนอกเหนือจากที่ได้รับยกเว้น
▶ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับการยกเว้น
สรุป คือ พระภิกษุได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะสำหรับเงินบริจาคของญาติโยมและนิตยภัตที่ได้รับจากตำแหน่งทางคณะสงฆ์เท่านั้น ส่วนเงินได้ประเภทอื่นๆ พระภิกษุยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
อ้างอิง: หนังสือ "รู้งี้ไม่ถูกเรียกภาษีย้อนหลัง" เขียนโดย สาธิต บวรสันติสุทธิ์ นักวางแผนการเงิน CFP
#aomMONEY #ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา #ภาษีพระ #ยื่นภาษี #เสียภาษี
2 บันทึก
10
2
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย