Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าเท่าที่เห็น by Dr.MINK
•
ติดตาม
26 พ.ค. เวลา 02:14 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จะเหลืออะไรหรือไม่ ?? (เครดิตภาพ: กรุงเทพธุรกิจ)
จะเหลืออะไรหรือไม่ ??
29 เมษายน 2568
ทุกวันนี้นักธุรกิจ นักการเงิน และผู้ลงทุนทั้งไทยและเทศต่างส่ายหน้ากับภาวะเศรษฐกิจ ที่ดูเหมือนจะไม่มีอนาคตเอาเสียเรย ไม่ว่าจะหันไปทางประเทศใดหรือนักธุรกิจพ่อค้าขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตามก็ต่างตอบกันเป็นเสียงเดียวว่า “เศรษฐกิจแย่”
แต่เมื่อมองไปยังอัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศซึ่งเป็นตัวเลขในภาพแมคโครหรือภาพกว้างต่างก็เห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเราคงไม่เอาประเทศเราไปเปรียบกับ G7 หรือ G20 ที่เค้าเป็นประเทศที่เจริญแล้ว ขอเปรียบเทียบแค่กับอาเซียน
เราก็จะพบว่าหลายปีที่ผ่านมาการเติบโตของเราอยู่อันดับท้ายๆของอาเซียน ล่าสุด ปี 2568 ณ.เมษายน ของเราอยู่รองบ้วย ชนะแค่เมียนมาร์ซึ่งอยู่กับระบบรัฐประหารแถมมีการสู้รบภายในประเทศและภัยพิบัติต่างๆ ล่าสุดก็เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายจนยากต่อการเยียวยา
อย่าไปอ้างว่าเกิดจากโควิด ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หรือแม้แต่อ้าง ทรัมป์ เพราะทุกชาติในอาเซียนก็ได้รบผลกระทบในลักษณะเดียวกัน ใกล้เคียงกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นหากวิเคราะห์ว่าความสามารถในการแข่งขันของไทยเรานั้นเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้พัฒนาปรับปรุงให้ประเทศไทยนั้นน่าลงทุน เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมั่นคง เหมือนในยุคโชติช่วงชัชชวาลย์ ประมาณปี 2520-2535 ก็จะพบว่า
ความสามารถในการแข่งขันที่ถดถอยลงทุกด้านจนแทบจะไม่เหลือที่ยืนในอาเซียนแล้วดังนี้
1. คุณภาพการศึกษาและแรงงาน เราผลิตบัณฑิตทางสังคมศาสตร์มากมายก่ายกอง ในขณะที่สายวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะนักวิจัยโลก แต่ขาดเสียซึ่งคุณสมบัติในการคิด วิเคราะห์ ค่านิยมว่าต้องมีปริญญายังฝังอยู่ในหัวของประชาชนในทุกระดับชั้นทำให้เราผลิตบุคคลากรที่มีระดับความรู้(ไม่ใช่ความรู้) สูงกว่าความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น เราเห็นพนักงานขายของในร้านสะดวกซื้อ จบปริญญาตรี คนขับแท๊กซี่จบ ปริญญาโท เป็นต้น
2.นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เราต้องนำเข้า และซื้อหา แทบจะไม่มีนวตกรรมและเทคโนโลยี่ที่เป็นของตนเองเรย ยกเว้นในหมวด อาหาร และการเกษตรที่พอจะช่วยกู้หน้าได้บ้าง หากมองย้อนไปเกาหลีเมื่อ 40 ปีที่แล้วเค้าแย่กว่าประเทศไทยไม่รู้กี่เท่า แย่ขนาดที่ว่าไม่มีเงินจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6 จนไทยเราต้องรับจัดแทน แต่วันนี้เราจะเห็นว่าบริษัทเทคฯ บริษัทรถยนต์ ฯลฯ เป็นของเกาหลีมากมายไม่ว่าจะเป็นซัมซุง ฮุนได เกีย เดวู หรือ ศิลปินระดับโลกก็มี K-POP เป็นตัวขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ การสร้างเงื่อนไข ความซับซ้อนของกฎหมาย กฎระเบียบราชการ และการขออนุญาตต่าง ๆ (Ease of Doing Business ) ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ก็ยังต้องขอสำเนาบัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน การขออนุญาติก็ตอบไม่ได้ว่าทำไมต้องขอหนังสือรับรอบบริษัท พร้อมงบดลุย์ ฯลฯ ที่เอาไปก็ไม่เคยไปตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ทำให้คนที่จะประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องหนีหาย
และเกิดช่องให้มี “จีนเทา” “จีนดำ” เต็มเมืองไปหมด ทั้งธุรกิจน้อยใหญ่ ตั้งแต่ขายแอร์ซ่อมแอร์ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ จนเกิดคอมมูนจีนแถวห้วยขวาง ประชาสงเคราะห์ เต็มไปหมด ไปจนก่อสร้างไชนาเรลเวย์นัมเบอร์10 ที่รับงาน สตง. หรือ บริษัทแถบระยอง ชลบัรี เรียกได้ว่าเป็นนิคมศูนย์เหรียญเรย เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด
4. โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ที่เรายังต้องพัฒนาอีกหลายสิบปีแม้ระบบถนนจะพัฒนาได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ระบบรางเราถูกศาลรัฐธรรมนูญระงับว่าไม่ให้กู้เงินเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเพราะถนนลูกรังยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ขำไม่ออกเรยจนตอนนี้ยังไม่มีเส้นทางผ่านมา เกือบ30ปี
5. โครงสร้างประชากรและสังคมไทย ปี พ.ศ. 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่า 14 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20.17% ของประชากรรวม. นอกจากนี้ ยังมีประชากรสูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ประมาณ 14% ของประชากรรวม ซึ่งไม่มีผลผลิต (ไม่ได้ทำงาน) และบุคลากรเหล่านี้จับจ่ายใช้สอยน้อยลงไปตามวัน แต่จะไปเพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายในภาพสุขภาพและการรักษาโรคแทน
จำนวนประชากรในวัยแรงงาน ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 ประชากรวัยแรงงาน มี 40.45 ล้านคนอยู่ในกำลังแรงงาน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ต้องนำเข้าแรงงานต่างชาติเข้ามา 4.0 ล้านคน (ที่มา: กรมการจัดหางาน เมษา 2568 ) ไม่นับที่ผิดกฏหมายซึ่งน่าจะมีอยู่ไม่น้อยกว่า 2-3 ล้านคน คนเหล่านี้เมื่อได้รับค่าแรงมาก็ใช้จ่ายในประเทศเราเพื่อการยังชีพที่เหลือก็ส่งกลับไปยังครอบครัวในบ้านเกิด ซึ่งจะไปสร้างอำนาจซื้อในประเทศนั้นแทน
6.. ความสามารถในการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งรัฐบาลไทยนั้นขาดการเชื่อมโยงกับโลกภายนอก เพราะเราผลิตสินค้าทีอาจจะเรียกได้ว่าล้าหลัง ขาดการสร้างสรรค์ ขาดนวตกรรม (ยกเว้นในหมวดอาหาร) ในขณะที่โลกต้องการสินค้าเทคโนโลยี่ เอไอ ไอโอที นวตกรรม แต่เรากลับพัฒนาไปไม่ทันกับความต้องการของโลก
7.ความมั่นคงทางการเมือง ปัจจัยนี้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยติดกับดักการแสวงหาอำนาจ และ ผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเมืองที่แบ่งออกเป็นฝักฝ่าย สร้างความเกลียดชังจนมิอาจจะกลับมาเหมือนเดิมได้ ก็ยิ่งทำให้ปัจจัยทั้ง 6 ข้อข้างต้นนั้นไม่มีโอกาสในการพัฒนาได้ เพราะนักการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ต่างก็คอยแต่จะตักตวงแสวงหาอำนาจ ผลประโยชน์ จนไม่มีประชาชน และ ประเทศชาติอยู่ในสมการ
โดยสรุปแล้วอนาคตของประเทศไทยอยู่ตรงไหน...... ผมเองมองไม่ค่อยเห็นโอกาสเสียเท่าใด !!!
นึกไม่ออกว่าอีก 20-30 ข้างหน้า เราจะล้าหลังเวียดนามหรือไม่ ??? เพราะทุกข้อข้างต้นนั้น เวียดนามได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะ ......”ขจัดทุจริต คอรับปชั่น” ...... อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ใช่มีแต่ “คนดีย์” ที่รองาบประเทศไทย.....
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย