30 พ.ค. เวลา 03:11 • ธุรกิจ

เกือบหลับแต่กลับมาได้

10 พฤษภาคม 2568
คำศัพท์วัยรุ่นข้างต้นที่ว่า “เกือบหลับแต่กลับมาได้” ซึ่งก็ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรกๆ แต่โดยส่วนตัวนั้นผมคาดว่าน่าจะมาจากคนในวงการกีฬา โดยเฉพาะมวยเพราะเราจะเห็นมีนักมวยที่ดูเจียนอยู่เจียนไป ไม่น่าจะยืนยาวได้อีกในยกหน้าหรือแพ้แน่ๆนั่นเอง แต่สามมารถพลิกฟื้นกลับมาเป็นผู้ชนะได้ในที่สุด ดังนั้นคำนี้ก็จะหมายถึง “สามารถพลิกจากความพ่ายแพ้มาเป็นผู้ชนะได้อีก”
โดยที่สามารถทำนำมาใช้กับในวงการธุรกิจที่หลายๆองค์กร หรือสินค้าหลายๆแบรนด์เกือบหายไปจากตลาด หรือธุรกิจต้องปิดตัวเองไป แต่ก็สามารถกลับมายืนหยัดด้วยกระบวนท่าที่แตกต่างกัน ทั้งอยู่ในธุรกิจเดิม หรือธุรกิจใหม่ที่มีทั้งใกล้เคียงกับสินค้าเดิมเรียกได้ว่ายังอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเดิม หรืออยู่ในอุตสาหกรรมใหม่ไปเลยก็ได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัวขององค์กร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเป็นสำคัญ ว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทั้งของ เทคนโนโลยี สังคมพฤติกรรมของผู้บริโภค และการสื่อสารที่เปลี่ยแปลงอย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างเช่น
โนเกีย NOKIA เคยยิ่งใหญ่ด้วยโทรศัพท์มือถือ ที่คนรุ่นอายุ 50 ปีขึ้นไปจะรู้จักเป็นอย่างดีโดยเฉพาะรุ่น 3210 ที่เป็นตำนาน แต่ก็ล้มหายตายจากไปเพราะไม่ปรับตัวและหยิ่งทรนงในความสำเร็จของตนเอง จนวันที่แอปเปิ้ล กับ ซัมซุง สามารถเจาะและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ยอมรับโทรศัพท์มือถือที่ไม่มีแป้นกด และยังมีความสามารถที่หลากลาย
แม้จะมีความพยายามจากผู้บริหารของโนเกียในยุคต่อมาที่จะพยายามพลิกฟื้นสถานการณ์ แม้จะไม่สามารถกลับมาครองบัลลังค์โทรศัพท์มือถือได้ แต่ก็กลัมาเป็นที่หนึ่งเป็นบริษัทด้านโทรคมนาคมและผู้ให้บริการ Software-as-a-Service (SaaS) .
รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายการสื่อสาร (Network Infrastructure) การพัฒนาสัญญาณโทรศัพท์ (Mobile Networks) ในธุรกิจ 5G และคงขยายเป็น หลายๆ G มากขึ้นในอนาคต ซึ่งนอกจากใช้ในโทรศัพท์มือถือแล้วยังนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมทั้งในการผลิต การสื่อสาร ความบันเทิง พลังงาน การบิน การขนส่ง ที่สำคัญในอุตสาหกรรมอัจฉริยะทั้งหลาย ไม่ว่าจะ IoT เกษตรอัจฉริยะ รถไร้คนขับ ฯลฯ
และยังเป็นผู้ให้บริการด้านคลาวด์และเครือข่าย (Cloud & Network Services) รับทำ Cloud Transformation ให้กับองค์กรที่ทั้งด้านออกแบบ วางระบบ ฯลฯ ซี่งในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้าองค์กรทั้งหลายก็ต้องเปลี่ยนแปลงและยอมรับรวมทั้งใช้เทคโนโลยีนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และประหยัดลดต้นทุนได้อีกด้วย
และประการสุดท้ายโนเกียเป็นเจ้าของสิทธิบัตร ให้เช่าใช้สิทธิบัตรมากกว่า 20,000 รายการ สำหรับเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและการสื่อสาร (Nokia Technologies) โดยมุ่งเน้นไปที่การวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารและครอบครองสิทธิบัตรเป็นสำคัญ
Kodak ที่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักเพราะไม่คุ้นเคยกับการถ่ายรูปด้วยระบบฟีล์ม ซึ่งโกดักเป็นผู้ครอบครองตลาดฟีล์ม และ การล้างภาพเป็นอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายทศวรรษต ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่าจริงๆแล้วผู้คิดค้นกล้องถ่ายรูปดิจิตอลขึ้นเป็นคนแรกโดย Steve Sasson ในปี 1975 ที่ห้องทดลองของ Kodak
แต่ด้วยความทรนงว่าตนเองเป็นเจ้าแห่งโลกถ่ายภาพด้วยฟีล์ม ตลอดจนกลัวธุรกิจฟีล์มของตนจะถูกแทนที่ด้วยดิจิตอล จึงไม่ได้มีการพัฒนาต่อยอดจนในที่สุด กล้องดิจิตอล และ การถ่ายภาพด้วยมือถือก็มาแทนที่อย่างสมบูรณ์ในอีก 20 ปีถัดมา
แต่แทนที่จะหลับไปเรยโกดักแม้ว่าจะต้องปิดตัวธุรกิจฟีล์มถ่ายภาพและการพิมพ์ภาพแบบดั้งเดิมไป แต่ก็ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยการปรับตัวและ สามารถกลับมาอยู่ได้ด้วยธุรกิจดังต่อไปนี้
Print ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ทั้งหมดเพราะโกดังมีพื้นฐานในการพิมพ์ภาพจากฟีล์มถ่ายภาพมาเป็นร้อยปี ดังนั้นเทคโนโลยีการพิมพ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น การพิมพ์ดิจิทัลที่มีทั้งโซลูชันเครื่องพิมพ์ เทคโนโลยีการพิมพ์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์หมึกพิมพ์และการเคลือบสี และส่วนงานธุรกิจการพิมพ์ซึ่งใช้ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
Advanced Materials & Chemicals ซึ่งเป็นส่วนงานสนับสนุนให้บริการผลิตภัณฑ์ฟิล์มประเภทต่างๆ อย่างฟิล์มทั่วไปและฟิล์มที่ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไปจนถึงกลุ่มเคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมที่ผู้บริโภคทั่วไปคงไม่คุ้นเคย เพราะผู้ซื้อเคมีภัณฑ์เหล่านี้ซื้อสินค้าไปเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอีกต่อหนึ่ง
และอีกส่วนหนึ่งที่เหมือนกับโนกีย ก็คืองานวิจัยที่มี Kodak Research Laboratories ซึ่งเป็นทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดสินค้าของบริษัท ตลอดจนดำเนินการด้านสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา
สิ่งหนึ่งที่เราเห็นในสององค์กรนี้เหมือนกันก็คือ มีความพยายามมุ่งมั่น แม้จะผิดพลาดจากเกมส์แรกแต่ก็ไม่ย่อท้อ มองหาความสามารถในการแข่งขันและ “วิจัย พัฒนาต่อยอดสินค้า” จนสุดท้าย “เป็นเจ้าของสิทธิบัตร” ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคตอย่างยั่งยืน
โฆษณา