9 มิ.ย. เวลา 02:00 • ธุรกิจ

คลินิกรักษาโรงงาน

กิจกรรมที่ 2.1
บทที่ 2.1 ปรับปรุงต่อเนื่อง ก็ขาดทุนได้
เพื่อนๆครับ ผมเคยพูดไว้ว่า บริษัทของพวกผมมีกิจกรรมการปรับปรุงมาตลอด 20 ปี อยู่ๆมาปีนึงก็ขาดทุน ขาดทุนยังไง ผมจะเล่าให้ฟังครับ จากการที่ผมไปอบรมเรื่องการ สร้างสายการผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ผมไปอยู่ตรงไหนของงานผลิต ผมก็จะจัดกำลังการผลิต ตามออเดอร์ลูกค้า ทุกๆงานไปครับ
งานที่ไม่ได้เป็นสายการผลิต ก็จะคิดกำลังการผลิตเป็นเครื่องๆไปครับ โดยนำเวลาของแต่ละงาน ที่ผลิตในเครื่องนั้นๆ มารวมกัน ก็จะได้กำลังการผลิตของเครื่องนั้นๆครับ เช่น งานปั๊ม งานตัด งานดัด งาน Machine งานเลเซอร์ หรืองานใดๆก็ตาม ที่ไม่ได้เป็นสายการผลิต ครับ
งานสายการผลิต พวกผมจะนำออเดอร์ลูกค้า มาคำนวณ เป็นรอบเวลาการผลิตต่อชิ้นงานของลูกค้า หรือเรียกว่า tacktime เวลาผมเริ่มจะทำสายการผลิตนั้น ถ้าเป็นงานเก่าที่มีอยู่แล้ว ก็จะเริ่มจากการจับเวลา ของคน และเครื่องจักร อัตโนมัติ ทั้งสายการผลิตนั้นๆ แล้วนำมารวมกัน ของคน และของเครื่องจักรอัตโนมัติ พวกผมเรียกว่า เวลารวม totle cycle​time จากนั้น ก็มาหาจำนวนคน และเครื่องจักรอัตโนมัติ โดยคำนวณจาก total cycletime ÷tacktime ทั้งคน และเครื่อง จักรอัตโนมัติ ก็จะได้จำนวนคน และจำนวนเครื่องจักรอัตโนมัติ ออกมาครับ
เมื่อกำหนดจำนวนได้แล้ว ก็เข้าไปจับเวลา ในแต่ละงานของคน และเครื่องจักรอัตโนมัติ แบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ แล้วนำมาทำ work Element ชีสครับ แล้วก็ทำการ แบ่งงาน คนและเครื่องจักรอัตโนมัติ ตามtacktime บ จากนั้นก็ทำman-m/c chart เพื่อดูว่าคนและเครื่องจักร ทำงานพร้อมกันได้มั้ย จากนั้นก็มาทำมูดะชีต เพื่อดูว่า คนรอเครื่อง เครื่องรอคน คนรองาน งานรอคน แล้วนำมาปรับอีกครั้งหนึ่ง จึงจะนำไปใช้ครับ(ถ้าเป็นงานใหม่ เป็นคนก็จะค่อยจัดเข้าไปทีละขั้นตอน ถ้าเป็นเครื่องอัตโนมัติ จะคำนวณตามแบบของงานนั้นๆ เพื่อหาเวลารวม)
เพื่อนๆครับ พวกผมทำกันขนาดนี้ บริษัทยังขาดทุนเลยครับ ขาดทุน เพราะว่าส่วนของวัตถุดิบ มีราคา เกินกว่าต้นทุนที่กำหนด ไปประมาณ 3-5% ครับ แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราไม่ทำการปรับปรุงเลย บริษัทจะขาดทุนมากกว่านี้แน่นอน และที่สำคัญ เราก็ควรดูส่วนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะวัตถุดิบ ที่นำมาผลิตชิ้นงานต่างๆ ไม่ควรเกิน 60% ของราคาขายครับ บริษัทถึงจะอยู่รอด คราวหน้าผมจะมาเล่าเรื่องการปรับปรุงอื่นๆให้ฟังนะครับ จากผม วิศวกรปรับปรุงแบบต่อเนื่อง ผมเองครับ
โฆษณา