18 มิ.ย. เวลา 11:30 • ธุรกิจ

Requirement and gap analysis: สิ่งสำคัญก่อนเริ่มพัฒนาโครงการ IT

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้โครงการ IT ล่าช้า หรือไปไม่ถึงเป้าหมาย ก็คือ “ไม่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง” ซึ่งมักเกิดจากการข้ามขั้นตอนสำคัญอย่าง Requirement Analysis และ Gap Analysis
บทความนี้ ผมอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกับสองกระบวนการนี้ ที่ดูเหมือนพื้นฐาน แต่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงการให้ “ตรงจุด ตรงใจ และตรงเวลา”
Requirement Analysis คืออะไร?
Requirement Analysis คือกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ “ความต้องการ” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) เช่น ผู้ใช้งานจริง, ทีมธุรกิจ, compliance, audit ฯลฯ
ความต้องการเหล่านี้มีทั้ง 2 แบบ:
Functional Requirements เช่น ผู้ใช้สามารถสมัครบัตรเครดิตผ่านแอปได้
Non-functional Requirements เช่น ความเร็วในการโหลดหน้าไม่เกิน 2 วินาที, ระบบรองรับผู้ใช้งานพร้อมกันได้ 10,000 คน
เป้าหมายของการวิเคราะห์คือ ทำให้ทีมพัฒนารู้ว่า “ต้องสร้างอะไร” และ “ต้องทำอย่างไรให้ตอบโจทย์”
แล้ว Gap Analysis คืออะไร?
Gap Analysis เป็นกระบวนการวิเคราะห์ว่า
จากระบบหรือกระบวนการที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน (Current State)
จะไปสู่สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการในอนาคต (Future State)
ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาอะไรบ้าง?
ยกตัวอย่างเช่น:
ฟังก์ชัน ปัจจุบัน (Current)
ระบบอนุมัติสินเชื่อ manual ผ่านอีเมบ
ที่ต้องการ (Future)
อัตโนมัติผ่าน worlflow
Gap
ต้องพัฒนา workflow Engine
Gap Analysis ช่วยให้เห็น “งานที่ต้องทำ” อย่างชัดเจน และนำไปวางแผนโครงการได้อย่างแม่นยำ
ความสำคัญของ Requirement และ Gap Analysis
✅ ช่วยลดความเสี่ยงในการตีโจทย์ผิด
✅ ป้องกัน scope creep (งานบานปลาย)
✅ ทำให้การประมาณเวลาและงบประมาณแม่นยำ
✅ ช่วยให้ทีมพัฒนาทำงานได้อย่างมีทิศทาง
✅ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการ UAT และตรวจรับระบบ
แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practices)
1. ใช้เทคนิคหลากหลาย เช่น Workshop, Interview, User Story, Use Case
2. ถามคำถามให้ชัด เช่น “ถ้าระบบใหม่ไม่มีฟีเจอร์นี้ จะกระทบกับผู้ใช้อย่างไร?”
3. มีเอกสารสรุปชัดเจน เช่น BRD, FSD หรือ Requirement Matrix
4. มีการ sign-off จาก stakeholders ทุกฝ่ายก่อนเริ่มพัฒนา
สรุป
Requirement Analysis คือการเข้าใจว่า “ผู้ใช้อยากได้อะไร”
Gap Analysis คือการวิเคราะห์ว่า “เราต้องทำอะไรเพื่อให้ได้สิ่งนั้น”
สองสิ่งนี้ คือรากฐานสำคัญของโครงการที่ประสบความสำเร็จ
หากคุณกำลังจะเริ่มโครงการใหม่ อย่าลืมหยุดสักนิด
เพื่อวิเคราะห์ความต้องการ และช่องว่างที่มีอยู่
ก่อนจะเริ่มลงมือทำอะไรที่อาจย้อนกลับมาแก้ทีหลัง
ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกด Like และ Share ให้เพื่อน ๆ ที่ทำงานสาย Project, BA หรือ Developer ด้วยนะครับ
โฆษณา