23 มิ.ย. เวลา 12:00 • ข่าวรอบโลก

ย้อนอดีตอิสราเอล อิหร่าน จากคู่รักสู่คู่เเค้น เเดนตะวันออกกลาง

เผยจุดปะทะเดือด ‘อิหร่าน-อิสราเอล’
แม้โรงงานและศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ที่สำคัญของอิหร่านตั้งกระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ทุกที่ล้วนมีความเสี่ยงถูกโจมตีได้ตลอด เตหะราน เมืองหลวงของ #อิหร่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์วิจัยหลัก ถูก #อิสราเอล
โจมตีอย่างหนักในวันนี้ 13 มิ.ย. 2568
ขณะที่ในเมืองนาตานซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ก็ตกเป็นเป้าหมาย ซึ่งสื่ออิหร่านและพยานเผยว่าได้ยินเสียงระเบิดเกิดขึ้นในเมืองอยู่หลายครั้ง รวมถึงจุดที่ตั้งโรงงานด้วย ส่วนเมืองอื่นๆ ที่มีฐานโรงงานและศูนย์วิจัย ก็เสี่ยงตกเป็นหมายโจมตีของอิสราเอลเช่นกัน
จุดปะทะบริเวณโรงงานนิวเคลียส์ ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
โดยสัณนิษฐานว่าคำว่า Persis มาจากชื่อของนครเปอร์เซเปอลิส (Persepolis) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในขณะนั้น หรืออาจจะมาจากคำว่า 'ปาร์ซา' (Parsa) ซึ่งเป็นชื่อดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของชาวเปอร์เซีย
เเผนที่ อาณาจักรเปอร์เซียอันยิ่งใหญ่
จักรวรรดิเปอร์เซีย (อังกฤษ: Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เซีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส
จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย อัสซีเรีย ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์
จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่าง ๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์ จักรวรรดิไบอิยะห์ จักรวรรดิซามานิยะห์ จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน
จักรวรรดิต่าง ๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม ค.ศ. 1935 เรียกรวมกันว่า “จักรวรรดิเปอร์เชีย” โดยนักประวัติศาสตร์ตะวันตก จักรวรรดิต่าง ๆ เหล่านี้เกือบทุกจักรวรรดิเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจในบริเวณที่ปกครอง และบางจักรวรรดิก็เป็นมหาอำนาจของโลกในสมัยที่รุ่งเรือง
การเเต่งกายของกษัตริย์เปอร์เซีย
การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต หรือ การบุกครองเปอร์เซียของบริเตนและสหภาพโซเวียต เป็นการรุกรานจักรวรรรดิเปอร์เซียระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยกองกำลังของสหภาพโซเวียต จักรวรรดิบริเตน และเครือจักรภพ การรุกรานได้กินเวลาตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมถึง 31 สิงหาคม เมื่อรัฐบาลอิหร่านยอมจำนน โดยหยุดยิงตั้งแต่ 30 สิงหาคม
มีการใช้รหัสนามว่า ปฏิบัติการ Countenance มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบ่อน้ำมันของอิหร่านและการรับประกันของสัมพันธมิตรในการสนับสนุนแก่สหภาพโซเวียตที่ได้สู้รบกับกองกำลังฝ่ายอักษะในแนวรบด้านตะวันออก แม้ว่าอิหร่านได้ตั้งตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวสงคราม แต่ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้พิจารณาเห็นว่าพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ได้มีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรต่อฝ่ายอักษะ จึงได้บีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ในระหว่างการยึดครองและได้แต่งตั้งพระโอรสของพระองค์มาแทนที่คือพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
ยุคสมัยที่ตะวันตกเข้ามาเเสวงหาอำนาจในอิหร่าน
พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี มหาราช (เปอร์เซีย: رضا شاه پهلوی; Rezā Ŝāh Pahlawi พระนามเดิม เรซา ข่าน; 15 มีนาคม ค.ศ. 1878 – 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1944) เป็นชาห์แห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาติตะวันตกยังเข้ามาคุกคามและแย่งชิงผลประโยชน์  ทั้งรัสเซีย อังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา คนในประเทศเริ่มไม่พอใจนำไปสู่กระแสต่อต้านตะวันตกขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของชาติ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาติตะวันตกได้เข้าควบคุมประเทศอิหร่านโดยบีบให้กษัตริย์เรซา ชาห์ ข่าน (ซึ่งเดิมทีเป็นนายกรัฐมนตรี และประกอบพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อ ค.ศ. 1925) ที่ไม่นิยมตะวันตกสละราชบัลลังก์ และนำกษัตริย์ที่นิยมตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอมริกาซึ่งเป็นโอรสคือ มุฮัมหมัด เรซา ข่าน ขึ้นครองราชย์บัลลังก์แทน อิหร่านจึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตะวันตก
จนถึงปี ค.ศ. 1951/พ.ศ. 2494 เกิดกระแสชาตินิยมในหมู่ชาวอิหร่าน ในปีนั้นผู้นำในขบวนการชาตินิยมอิหร่านคือ ดร.มุฮัมหมัด มูซัดเดก ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และยึดบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของอังกฤษกลับมาเป็นของรัฐ ทำให้ตะวันตกตอบโต้การกระทำของอิหร่านโดยการไม่ซื้อน้ำมันจากอิหร่าน
รัฐบาลอิหร่านประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ เป็นเวลาเดียวกับที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังมีปัญหา หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1953/พ.ศ. 2496 กษัตริย์ของอิหร่านคือชาห์ และราชินีเสด็จออกนอกประเทศ
นายพลซาเฮดี ตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี จับกุมดร. มุฮัมหมัด มูซัดเดก และคณะรัฐบาล อิหร่านจึงกลับไปนิยมตะวันตก กลับมาเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษใหม่ มีกระแสว่า เบื้องหลังการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนให้อิหร่านกลับมานิยมตะวันตกเหมือนเดิมโดยมีซีไอเอของสหรัฐเข้ามามีบทบาทสำคัญเนื่องจากสืบรู้มาว่า รัฐบาลของมูซัดเดก กำลังเข้าหาสหภาพโซเวียตและกลัวว่าหากปล่อยไว้ แหล่งน้ำมันของอิหร่านจะตกอยู่ในมือคนอื่น
ราชวงศ์ปาลาวีเเห่งอิหร่าน
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1955/พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ชาห์ซึ่งเป็นกษัตริย์เริ่มมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้นและเปลี่ยนไปปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ในปี ค.ศ.1963/พ.ศ.2506 พระองค์เริ่มเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวหน้า เช่น การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเลือกตั้ง การให้สิทธิแก่สตรี จัดตั้งหน่วยงานการศึกษา ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลอิหร่านเรียกว่าเป็นการ “ปฏิวัติขาว” เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดความรุนแรงและเป็นไปตามขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันเกิดการประท้วงการปฏิรูปที่ดินของชาห์ และมีผู้เสียชีวิตไปหลายราย และเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้นำคนสำคัญของชาวมุสลิมชีอะห์และผู้นำการประท้วงคือ อยาตุลเลาะห์ โคมัยนี ถูกพระองค์ขับไล่ออกนอกประเทศ ต้องไปอยู่อิรักก่อนไปอยู่ฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายปีแต่ยังคงเผยแพร่อุดมการณ์ต่อต้านชาห์ผ่าน “เทปปฏิวัติ” ในหมู่นักศึกษาและประชาชน ขบวนการต่อต้านชาห์ เข็มแข็งขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับ
แม้ประชาชนจะยอมรับการปฏิรูปของพระองค์ในตอนแรก การปฏิวัติยังทำให้ประเทศอิหร่านเจริญก้าวหน้า แต่ก็นำมาซึ่งปัญหาและนำไปสู่การล้มราชบัลลังก์ของพระองค์
มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้ประชาชนไม่พอใจพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปที่ดินซึ่งคนใกล้ชิดพระองค์เป็นผู้ได้ประโยชน์จากที่ดินจำนวนมาก ผลจากการพัฒนาตามแบบตะวันตกทำให้บาร์ ไนท์คลับ สื่อลามก หลั่งไหลเข้ามาภายในประเทศจนฝ่ายศาสนาและพวกอนุรักษ์นิยมไม่พอใจ
ประเด็นที่สำคัญคือ ผลประโยชน์ในการพัฒนาประเทศตกอยู่ในมือคนรวยเพียงไม่กี่ตระกูล รวมถึงราชวงศ์ของพระองค์ที่มีธุรกิจและกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงเข้าไปมีผลประโยชน์กับบริษัทต่างชาติในอิหร่าน ในขณะที่ประชาชนอิหร่านส่วนใหญ่อยู่อย่างยากลำบาก ว่างงาน ไม่ได้ศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และขาดยารักษาโรค รวมทั้งนโยบายของพระองค์ที่สนับสนุนอิสราเอล
ดังนั้นเมื่อประชาชนเริ่มต่อต้าน พระองค์จึงตั้งหน่วยตำรวจลับ “ซาวัค” ขึ้นมาทำหน้าที่สอดส่องและจับกุมผู้ต่อต้านพระองค์ซึ่งส่วนมากมากเป็นพวกหัวก้าวหน้า อาจารย์ นักศึกษา นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถหยุดความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
ความไม่พอใจของประชาชนปะทุขึ้นใน 19 สิงหาคม ค.ศ. 1978/พ.ศ. 2521 ซึ่งอยู่ในช่วงรอมฎอน ได้เกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงในโรงภาพยนตร์ในเมืองอะบาดานเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 387 คน รัฐบาลอ้างว่ากลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาเป็นผู้ก่อเหตุแต่ก็ไม่สามารถจับผู้กระทำผิดได้ จึงทำให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลนำไปสู่การประท้วงตามที่ต่างๆ
หลังเหตุการณ์นี้ผู้ใช้แรงงานนับแสนนัดหยุดงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ต่างก็เข้าร่วมประท้วง อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวภายนอกประเทศ โคมัยนี เรียกร้องให้มุสลิมทั่วโลกสนใจการประท้วงของคนอิหร่าน โดยกล่าวระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ตอนหนึ่งว่า
“ชาห์ได้ยกทรัพยากรธรรมชาติ และผลประโยชน์ที่ชาวอิหร่านสมควรจะได้รับให้กับชาวต่างชาติ ทั้งยกน้ำมันให้อเมริกา ก๊าซให้โซเวียต  ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ให้กับอังกฤษและปล่อยประชาชนอยู่อย่างยากลำบาก”
การประท้วงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1978/พ.ศ. 2521 ซึ่งตรงวันรำลึกการจากไปของอิหม่ามฮุเซน อิหม่ามองค์ที่ 3 ของนิการชีอะห์ วันนั้นเป็นวันที่ประชาชนนับล้านมาชุมชนกันบนท้องถนนและที่สาธารณะ โดยฝูงชนชูรูปโคมัยนีเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติพร้อมตะโกนด่าสหรัฐอเมริกาและเรียกร้องรัฐอิสลาม
การประท้วงใหญ่ที่เกิดในเมืองมาชาด ประชาชนอิหร่านนับแสนก่อจลาจลเผาบ้านคนอเมริกัน ทำลายกิจการต่างๆของชาวตะวันตก ทหารเข้าปราบผู้ชุมนุมด้วยอาวุธปืน ระเบิดและแก๊สน้ำตาทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวมมาก
เหตุการณ์ได้ลุกลามจนควบคุมไม่ได้ทำให้รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและยุโรปสั่งให้คนของตนออกจากประเทศอิหร่าน รวมทั้งทำให้ชาห์ ต้องอพยพตามคำแนะนำของสหรัฐอเมริกาโดยการเสด็จออกนอกประเทศพร้อมครอบครัวในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1979/พ.ศ. 2522
ในเวลาเดียวกันโคมัยนีก็กลับสู่ประเทศอิหร่านพร้อมกับการต้อนรับจากประชาชนจำนวนมาก โคมัยนี ในวัย 78 ปียังมีบุคลิกแห่งความเป็นนักสู้ ความเด็ดเดี่ยว น่าเคารพเป็นผู้นำต่อสู้กับรัฐบาลของนายบัคเตียร์ที่รักษาบัลลังก์ไว้ให้ชาห์
แม้ตอนแรกกองทัพบกไม่ยอมแต่เมื่อกองทัพอากาศได้เข้าร่วมกับโคมัยนี กองทัพบกจึงวางตัวเป็นกลาง ฝ่ายโคมัยนีเข้าควบคุมกรุงเตหะรานโดยบุกยึดที่ทำการของรัฐบาลและสถานีตำรวจไว้ทั้งหมด เมื่อสามารถควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศได้ นี่คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ “อิหร่าน” เป็นรัฐอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ยุคสมัยของการปกครองอิหร่าน
กระเเสนิยมชาติอิหร่าน
แต่ทั้งหมดนั้นก็วุ่นวายมากยิ่งขึ้นในยุคล่าอาณานิคม เมื่ออาณาจักรออตโตมัน ซึ่งเป็นผู้ปกครองพื้นที่รอบๆ นครเยรูซาเล็ม ซึ่งถูกเรียกว่าปาเลสไตน์ในขณะนั้นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ ซึ่งอังกฤษมีข้อตกลงกับทั้งชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่เดิมที่จะให้อิสระหากช่วยรบ พร้อมกับข้อตกลงกับชาวยิวที่คล้ายคลึงกันคือหากช่วยอังกฤษชนะสงครามจะสนับสนุนให้ชาวยิวได้ตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลได้อีกครั้ง
ส่งผลให้เมื่ออังกฤษชนะสงครามครั้งนั้นจริง ความขัดแย้งบนพื้นที่เดิมในโลกสมัยใหม่จึงเริ่มต้นอีกครั้ง เนื่องจากชาวยิวจำนวนมากได้ย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ปาเลสไตน์มากขึ้นทำให้เกิดกระทบกระทั่งกันอย่างต่อเนื่อง ระหว่างชาวปาเลสไตน์เดิม กับชาวยิวผู้อพยพมาภายหลัง
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้น ซึ่งชาวยิวในยุโรปที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซีเยอรมันอพยพมายังปาเลสไตน์มากขึ้นจนกระทั่งอังกฤษไม่สามารถรับมือได้ ต้องให้สหประชาชาติ (UN) เข้ามาระงับข้อพิพาท โดยที่ประชุม UN มีมติ 31:13 ให้แบ่งดินแดนออกเป็น 2 ส่วนคือดินแดนของชาวยิว และ ดินแดนของชาวปาเลสไตน์ โดยที่นครเยรูซาเล็มจะอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ
และในปี ค.ศ. 1948 ชาวยิวได้ประกาศก่อตั้งรัฐอิสราเอลอย่างเป็นทางการโดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Ben Gurian) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับชาติอาหรับโดยรอบ ก่อกำเนิดเป็นสันนิบาตอาหรับ (League of Arab) เพื่อต่อต้านอิสราเอล และเริ่มทำสงครามกันอย่างเต็มรูปแบบในช่วงเวลาต่อมา
ยึดอำนาจ โดยนายพล ซาฮาฮิดี
จนกระทั่งในช่วงกลางปี 1948 เกิดสงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 1 สันนิบาตอาหรับได้ส่งกองทัพบุกโจมตีอิสราเอลจากรอบด้าน อย่างไรก็ตามอิสราเอลที่ได้รับการหนุนโดยสหรัฐฯ ก็สามารถกำชัยชนะเอาไว้ได้ แต่เสียดินแดน 2 ส่วนด้วยกันคือ ฉนวนกาซ่า พื้นที่ติดกับอียิปต์และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนให้แก่อียิปต์ กับเสียพื้นที่เวสต์แบงค์ให้กับจอร์แดน และเสียนครเยรูซาเล็มครึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตามความเสียหายนั้นยังเกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ด้วย ส่งผลให้มีผู้อพยพหนีภัยสงครามมากกว่า 700,000 คนไปยังพื้นที่ประเทศรอบข้างอิสราเอล โดยเป็นการอพยพไปยังประเทศเลบานอน ซึ่งอยู่ตอนบนของอิสราเอลมากที่สุด และความขัดแย้งก็ดำเนินต่อเนื่องไป
การรวมกลุ่มของกลุ่มจักรวรรดินิยม
พื้นที่ฉนวนกาซาและเวสต์แบงค์ กลายเป็นที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์จำนวนมากจวบจนถึงปัจจุบัน หากแต่การปกครองนั้นถูกยึดคืนกลับมาสู่อิสราเอลอีกครั้งในปี ค.ศ. 1967 ที่ชาติอาหรับเปิดการโจมตีอิสราเอลรอบด้านอีกครั้ง ผลปรากฏว่าอิสราเอลสามารถเอาชนะได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 6 วัน (Six Day War) ทำให้อิสราเอลมีอำนาจเหนือทั้งฉนวนกาซา เวสต์แบงค์ และนครเยรูซาเล็มอีกครั้ง
เรียบเรียงโดย นายต้นสัก สนิทนาม
#อิสราเอล #อิหร่าน #เตหะราน #ตุรกี #เอธิโอเปีย #ปาลาวีเเห่งอิหร่าน #สงคราม
โฆษณา