Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สงคราม story
•
ติดตาม
1 ก.ค. เวลา 08:54 • การเมือง
ไทยจะได้อะไรจากโครงการเรือฟริเกต
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ก่อนที่จะไปอ่านบทความนี้ ผู้เขียนขอให้ทุกท่านโปรดช่วยกดไลก์ กดติดตาม และกดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนในการทำบทความต่อๆไป
สำหรับท่านใดที่มีเรื่องใดน่าสนใจ ท่านสามารถส่ง inbox ข้อความมาได้ที่ Facebook Supakrit Falcon หากเรื่องใดโดนใจผู้เขียนจะนำเรื่องราวไปศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเตรียมการเสนอครั้งต่อไป
สำหรับบทความนี้ผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องจากสิ่งที่ท่านผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับโครงการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือไทย ในการอภิปรายต่อกรรมาธิการประจำปีงบประมาณ 2569 รายละเอียดก็จะมีดังนี้
ความสำคัญของโครงการจัดหาเรือฟริเกตปีงบประมาณ 2569 จำนวน 2 ลำ โดยมีวัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามหน้าที่ของกองทัพเรือ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ที่ทั้งกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือเห็นพ้องต้องกันว่า เราควรจะมีเรือฟริเกตในแผนทั้งหมด 8 ลำ
สำหรับความสำคัญของ 2 ลำแรก กองทัพเรือมุ่งหวังว่า หากสามารถต่อเรือได้ตามจำนวนจะเป็นการสร้างวงรอบที่ทำให้อุตสาหกรรมการต่อเรือของประเทศสามารถเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประเทศในระยะยาว โดยคุณสมบัติเรือฟริเกตที่ท่านผบ.ทร.แถลง
จะมีอายุใช้งานประมาณ 40 ปี ดังนั้นการต่อ 2 ลำทุก 10 ปี จะช่วยรักษา งานในอุตสาหกรรม การได้เรือ 2 ลำนี้ยังสามารถช่วยให้การเจรจาและดำเนินโครงการง่ายขึ้น และคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไป ทั้งนี้กองทัพเรือยืนยันจะใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ท่านผบ.ทร.ให้รายละเอียดว่าโครงการนี้มีความมุ่งหวังอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือหรือกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการต่อเรือในประเทศ รวมถึงอาจเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบในเรืออีกด้วย
แน่นอนว่าไม่ได้ส่งผลดีต่อกองทัพเรือแต่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ท่านคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึงหลักพันล้านบาทขึ้นไปในหากมีการดำเนินงานดังกล่าว โอกาสทองนี้ที่ท่านว่านี้จะเป็นการส่งเสริมการจ้างงานและเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจในประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งทางกองทัพเรือก็ยินดีและเต็มใจสนับสนุนให้เกิดขึ้นจริง
ต่อมาเป็นเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยี จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เข้ากับอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อความยั่งยืนในการสนับสนุนกองทัพเรืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าบางประเทศพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบ อาวุธหรือระบบควบคุม Combat System ซึ่งเป็นทางเลือกเพิ่มเติม
ทั้งนี้กองทัพเรือได้หารือกับสมาคมอุตสาหกรรมทางทหาร ทางสมาคมยินดีที่จะรองรับบริษัทเพื่อรับการถ่ายทอด เทคโนโลยี หรือร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับเรือฟริเกตมาสู่ประเทศไทย
ในการแถลงท่านกล่าวถึงศักยภาพการต่อเรือของไทยว่า กองทัพเรือไทยเริ่มต่อเรือมาตั้งแต่เรือต.91 และ ต่อกันเองภายในประเทศเรื่อยมา จนภาคเอกชนสามารถต่อเรือขนาดเล็กไปจนถึงเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) ให้กับกองทัพเรือได้แล้ว ซึ่งกองทัพเรือไม่จำเป็นต้องต่อเอง
อย่างไรก็ตามเรือฟริเกตเป็นเรือรบที่มีความซับซ้อนสูง เนื่องจากมีระบบอาวุธที่หลากหลายและต้องเชื่อมโยงระบบภายใน รวมถึงมีมูลค่าสูงกว่าเรือแบบอื่นๆที่กองทัพเรือไทยเคยต่อ ซึ่งประเทศไทยยังไม่เคยต่อเรือประเภทนี้มาก่อน ซี่งเป็นเรื่องที่วัดใจราชนาวีไทยเลยไม่น้อย ไม่แน่หากเรามองมุมกลับเมื่อโครงการนี้เกิดขึ้นจริงโครงการนี้อาจเป็นการผลักดันขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยให้สูงขึ้น
ท่านผบ.ทร.กล่าวเสริมว่า การมีอุตสาหกรรมสนับสนุนภายในประเทศจะช่วยลดการพึ่งพานำเข้าจากต่างประเทศ รวมไปถึงการซ่อมบำรุงหรือจัดหาอุปกรณ์บางอย่าง ที่ทำให้เรือมีความพร้อมใช้งานสูงขึ้น โดยยกตัวอย่างกรณีสมมุติ หากเรือหลวงภูมิพลหายไปจากน่านน้ำไทย หรือไม่ก็อาจใช้เวลาไปกับการซ่อมเครื่องยนต์เรือแบบดังกล่าว นี่จะทำให้ความพร้อมรบของกองทัพเรือหายไปและเรือหลวงภูมิพลฯจะไม่สามารถแล่นออกไปไกลตามที่คาดหวังได้ แม้แต่จะไปฝึกกับกองทัพเรือมิตรประเทศก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน
เรื่องต่อมาท่านได้กล่าวถึงแนวทางการคัดเลือกและการพิจารณาโครงการ ที่ผ่านมากองทัพเรือได้ทำการสอบถามอู่ต่อเรือต่างประเทศ
เกือบ 10 ประเทศแล้ว และส่วนใหญ่ยินดีที่จะเข้ามาต่อเรือให้กองทัพเรือเพื่อเป็นการส่งเสริมการต่อเรือในประเทศไทยและพัฒนากองทัพเรือให้มีความทันสมัย
Build Strategy กลยุทธ์การต่อเรือที่ท่านกล่าวไปในการแถลง คือน้ำหนักสำคัญในการพิจารณาของกองทัพเรือ หากบริษัทต่อเรือต่างชาติบริษัทใดบริษัทหนึ่งเสนอสัดส่วนการต่อเรือในประเทศได้มากที่สุด บริษัทนั้นจะมีโอกาสได้รับคะแนนนำไปเลยทีเดียว ทั้งนี้และทั้งนั้นกองทัพเรือต้องการให้ผู้เสนอราคาให้ความสำคัญกับการต่อเรือในประเทศอย่างจริงจัง และหากไม่สนใจที่จะมาต่อเรือในประเทศ น้ำหนักส่วนนี้ก็จะหายไปจาก 100% เป็น 0%
ที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือเรื่อง Offset Policy (นโยบายผลตอบแทน) ท่านผบ.ทร.ชี้แจงว่าจะมี Direct Offset แน่นอน หากมีการต่อเรือในประเทศโดยเป็นการร่วมลงทุนกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเรือ ตามมาด้วย Indirect Offset เป็นเรื่องของทิศทางและสิ่งที่รัฐบาลต้องการ
ซึ่งกองทัพเรือไม่สามารถตัดสินใจได้เพียงฝ่ายเดียวจึงอาจต้องมีคณะกรรมการร่วมระหว่างกองทัพเรือและรัฐบาลมาพิจารณาร่วมกันว่ารัฐบาลต้องการอะไร เพื่อให้ผู้เสนอสามารถตอบสนองในสิ่งที่เราต้องการได้ แม้ รายละเอียดเรื่อง Offset ที่ขณะนี้ยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามกองทัพเรือมีข้อมูลรายละเอียดที่ได้รับคำตอบจากอู่ต่อเรือแต่ละประเทศมาอยู่ในมือแล้ว ซึ่งก็เพียงพอที่จะสามารถเดินหน้าโครงการต่อไปได้
▶️มุมมองส่วนตัวผู้เขียน
โครงการต่อเรือฟริเกต 2 ลำ นอกจากจะยกระดับเศรษฐกิจให้ประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนมองว่ายังดีกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ ที่ผ่านมาก็มีประเทศเกือบทั่วโลกที่มีการต่อเรือฟริเกตเอง ต่อเรือพิฆาตเอง ต่อเรือดำน้ำเอง หรือเรือแบบใดก็แล้วแต่ ผู้เขียนคิดว่าอยากให้โอกาสนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว แม้จะอยู่ในช่วงที่มีประชาชนบางกลุ่มกล่าวหาว่าใช้งบประมาณสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
ผู้เขียนมองว่าการดึงบริษัทต่อเรือต่างชาติมาร่วมลงทุน จะทำให้กองทัพเรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีเม็ดเงินมากขึ้นจากแรงงานที่เข้ามามีส่วนร่วม แถมยังจะเป็นโอกาสดีหากวันหนึ่งมีลูกค้านานาชาติให้ความสนใจเรือรบที่ไทยต่อเอง ผู้เขียนเชื่อว่านี่จะเป็นการเรียกคะแนนให้กองทัพเรือเป็นอย่างมากพอสมควร หลังจากเจอกระแสลบทั้งเรื่องเรือหลวงสุโขทัยที่จมไปเมื่อปีพ.ศ.2565 หรือเเม้โครงการเรือดำน้ำที่ยังวนลูปไปไหนไม่ได้
ผู้เขียนขอให้กองทัพเรือดำเนินโครงการนี้ไปได้ด้วยดี นับจากนี้ไม่ว่าโครงการนี้จะได้ไปต่อหรือไม่ กองทัพเรือก็จะยังทำหน้าที่พิทักษ์รักษาทะเลไทยต่อไปจนวินาทีสุดท้าย
การกลับมาเขียนเรื่องเกี่ยวกับทหารเรือคราวนี้นับว่าเป็นการกลับมาครั้งสำคัญของผู้เขียน หลังจากที่ไปเขียนเรื่องเหล่าทัพอื่นมานาน โชคดีที่มีโซเชียลมีเดียล จึงสามารถรับรู้ข่าวสารได้ไวกว่าแต่ก่อน สำหรับบทความนี้ผู้เขียนขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ
Credit บทความและภาพประกอบ
TAF
กองเรือยุทธการ
M.Photography
Military Weapons อาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร
Wassana Nanuam
เรียบเรียงบทความ : อัศวิน
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย