4 ก.ค. เวลา 13:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

รถไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ อาจเป็นจริง

ทีมนักวิจัยจาก Martin Luther University Halle-Wittenberg ในเยอรมนี ได้เปิดตัวเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ ซึ่งสามารถเพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงได้สูงขึ้นถึง 1,000 เท่า
นวัตกรรมนี้อาจทำให้ แผงโซลาร์เซลล์ ในอนาคตมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
นวัตกรรมวัสดุโซลาร์เซลล์ยุคใหม่
การค้นพบนี้เกิดจากการนำผลึกคริสตัลต่างชนิดมาซ้อนกันเป็นชั้นบางพิเศษ โดยมีวัสดุหลักคือ แบเรียมไททาเนต (BaTiO3​) ซึ่งเป็นวัสดุที่เปลี่ยนแสงเป็นไฟฟ้าได้ แต่นักวิจัยพบว่าเมื่อนำมาสร้างเป็นโครงสร้างสลับชั้นกับวัสดุอื่นอีก 2 ชนิด จะเกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้ประสิทธิภาพพุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาล
Dr. Akash Bhatnagar ผู้นำทีมวิจัยอธิบายว่า การสลับชั้นของวัสดุที่มีคุณสมบัติต่างกัน ทำให้โครงสร้างโดยรวมสามารถดูดซับแสงและปล่อยให้อิเล็กตรอนไหลผ่านได้ง่ายขึ้นอย่างมหาศาล
จากการทดลองฉายแสงเลเซอร์ไปยังวัสดุใหม่นี้ พบว่าสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้แรงกว่าการใช้ แบเรียมไททาเนตบริสุทธิ์ในความหนาเท่ากันถึง 1,000 เท่า ทั้งที่ใช้วัสดุหลักน้อยลงถึง 2 ใน 3 และยังมีความเสถียรยาวนานเกือบ 6 เดือน
ความสำเร็จครั้งนี้มีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรม พลังงานสะอาด อย่างยิ่ง เพราะจะนำไปสู่
แผงโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูง ผลิตไฟได้มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม
ขนาดกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ เหมาะอย่างยิ่งกับการติดตั้งในเมืองหรือบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก ความทนทานและต้นทุนการผลิต โดยวัสดุมีความทนทานสูงและผลิตง่ายกว่าเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิคอนในปัจจุบัน
แม้จะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจกลไกอย่างสมบูรณ์ แต่การค้นพบเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ใหม่นี้ ก็ได้เปิดประตูสู่อนาคตที่มนุษย์จะสามารถใช้ประโยชน์จาก พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและยั่งยืนยิ่งขึ้นครับ
#TechhubUpdate #Solarcell
⭐️ ติดตามอัปเดตข่าวไอที How To , Tips เทคนิคใหม่ ๆ ได้ทุกวัน
ค้นหาข่าวที่อยู่ในความสนใจได้ที่ >> www.techhub.in.th
มีข้อสงสัยทัก LINE Techhub : https://lin.ee/Sietmnt
โฆษณา