3 ก.ค. เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

มี 2 หุ้นแบงก์! ปันผลยีลด์ 5.9-8.3%

หุ้นวิชั่น - เปิดหัวด้วย CGSI มองว่า ในไตรมาส 2 ปีนี้  ธนาคาร 8  ประกอบด้วย BBL, CREDIT, KBANK, KKP, KTB, SCB, TISCO และ TTB น่าจะมีกำไรสุทธิรวม 5.1 หมื่นล้านบาท ลดลง 6.3% จากปีก่อน  และลดลง 14.1% จากไตรมาสก่อนหน้านี้  และมีกำไรก่อนตั้งสำรอง (PPOP) รวม 1.08 แสนล้านบาท ลดลง 8.8% จากปีก่อน และลดลง 10.3% จากไตรมาสก่อน นอกจากนี้ ยังคาดว่ายอดสินเชื่อรวมจะลดลง 2.0% จากปีก่อน และลดลง 1.4% จากไตรมาสก่อน
กลุ่มสินเชื่อที่จะนำการเติบโตในไตรมาส 2 น่าจะมีเพียงสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ จากการรีไฟแนนซ์หนี้/หุ้นกู้ ขณะที่ธนาคารยังระมัดระวังสินเชื่อ SME และสินเชื่อรายย่อย โดยเน้นกลุ่มลูกค้ารายได้สูงสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบัตรเครดิต
CGSI ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50bp ในวันที่ 1 ม.ค.-30 เม.ย.68 จึงทำให้อัตราดอกเบี้ย benchmark ของอุตสาหกรรมธนาคารอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.67 ดังนั้นส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM)โดยรวมในไตรมาส 2/68 จึงน่าจะอยู่ในขาลง และคาดว่า NIM จะลดลง 34bp yoy และ 12bp qoq เป็น 3.24% ซึ่งจะทำให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 2/68 ลดลง 8.9% yoy และ 3.6% qoq
ขณะเดียวกันประมาณการว่ารายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะเติบโต 7.9% yoy แต่ลดลง 7.6% qoq โดยคาดรายได้จะเติบโต yoy ด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนและเครื่องมือทางการเงิน
CGSI เชื่อว่า ธนาคารไทยจะทยอยปรับลดเป้าหมายทางการเงินปี 68 หลังรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/68 (ธนาคารส่วนใหญ่จะประกาศผลประกอบการวันที่ 21 ก.ค. 68) โดยมองว่า downside risk ที่สำคัญต่อเป้าในปี 68 คือสินเชื่อที่เติบโตต่ำกว่าคาด, การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธปท. และอัตราการสำรองหนี้สูญที่ทรงตัว yoy
ธนาคารน่าจะยังสามารถจ่ายเงินปันผลสูงสำหรับผลประกอบการปี 68 แม้ว่าสินเชื่อเติบโตชะลอตัว แต่มีอัตราส่วนเงินกองทุนสูง  คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) ในกลุ่มธนาคาร เพราะคาดว่า กำไรก่อนตั้งสำรอง (PPOP) จะ เติบโตช้าในอัตรา -6.0%/+3.3%/+4.3% ในปี 68/69/70
เลือก SCB และ KTB เป็นหุ้นเด่น  เนื่องจากธนาคารทั้งสองแห่งน่าจะมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ 5.9-8.3% ต่อปีในปี 2568 รวมทั้งมีคุณภาพสินทรัพย์ดี และงบดุลแข็งแกร่ง
มาที่ บล.พาย ชี้กลยุทธ์การลงทุนนักลงทุนระยะสั้นอาจเลือกแบ่งทำกำไรแต่หากเป็นนักลงทุนระยะกลางขึ้นไปยังแนะรอจังหวะสะสมช่วงย่อตัวเพราะมองไปข้างหน้ามีปัจจัยหนุนจากเจรจาการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯผสานกับ Valuation หุ้นไทยที่ยังไม่แพง ยังเน้นที่หุ้นใหญ่ อาทิ ศูนย์การค้า (CPN) ค้าปลีก (CPALL- HMPRO- CRC) ธนาคารพาณิชย์ (BBL- KBANK- KTB -SCB) การเงิน (MTC -SAWAD) ส่งออก (TU- ITC)
TU (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 13.10 บาท)
ภาพรวมในช่วงที่เหลือของปีทางผู้บริหารมองว่าต้องรอดูว่าอัตราการจ่ายภาษีเข้าสหรัฐฯจะเป็นเท่าใดหากโดนทุกประเทศจะกระทบไม่มากนัก ทั้งนี้ TU ให้ข้อมูลว่ารายได้ที่เข้าสหรัฐฯที่มีผลกระทบทางตรงจากโรงงานในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 18% (ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหารทะเลแปรรูป) จากรายได้ที่มาจากสหรัฐฯที่มีสัดส่วน 38% เนื่องจากอีก 20% TU สามารถหาโรงงานอื่นในการส่งเข้าสหรัฐฯได้ โดย TU มีโรงงานผลิตอาหารทะเลแปรรูปที่กาน่า และ เซเชลส์ ที่จะรองรับกับคำสั่งซื้อได้บางส่วน
MINT (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 36 บาท)
2Q25 กำไรปกติจะเติบโตสูง QoQ และมีโอกาสเติบโต YoY หนุนจาก
1) แนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรม ด้วยยอดการจองล่วงหน้าตั้งแต่เดือนเมษายนอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะในโซนยุโรปที่กำลังเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หนุน RevPar ปรับตัวสูงขึ้น
2) โรงแรมในประเทศไทยได้รับอานิสงค์จากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ทั้งอัตราการเข้าพัก (Occupancy) และ RevPar อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และ
3) คาดรายได้ธุรกิจร้านอาหารจะฟื้นกลับมาทรงตัว YoY ด้วยยอดขายไอศกรีมมะม่วง เมนูฤดูกาลยอดนิยมที่เลื่อนเปิดการขายจาก 1Q25 มาใน 2Q25 เนื่องจากสภาพอากาศต้นปีที่หนาวยาวนานกว่าปีก่อน
ขณะที่  บล. กรุงศรี ระบุว่า PTT อาจมี upside หากอัตราค่าบริการสถานี LNG เพิ่ม มอง slightly negative ต่อความคืบหน้าโครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 เพราะ i) แนวโน้มเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นกว่า 46% หากขอเพิ่มค่าบริการไม่ได้ มองจะไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้ PTT ii) PTT ยังมีความเสี่ยงที่ต้องหาลูกค้ามาทดแทนกลุ่ม GULF (ย้ายไป Terminal 3)
สำหรับ Terminal 2 และ iii) ยังมีความไม่แน่นอนว่า กกพ. จะยอมปรับค่าบริการให้ T1&T2 ที่ไม่ได้มีการลงทุนเพิ่มหรือไม่ คงคำแนะนำ Neutral ต่อ PTT ที่ TP25F = 32.50 บาท/หุ้น มองเป็นตัวเลือกถือรับปันผล คงมุมมองกำไรปกติเพียงทรงตัวใน 2025-26F ผู้ไม่มีหุ้นสามารถรอดูความชัดเจนของการปรับโครงสร้างราคาก๊าซฯระยะยาวของภาครัฐก่อนได้
โฆษณา