Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Weerada Chuncuansungkom
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 06:58 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รวบรวมสรุป อบรม The Influencer Financial & Investment Day 9 (28.06.2025)
การเรียนในสัปดาห์ที่ 9 ของโครงการ The Influencer ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายกันแล้วนะคะ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่าง ก.ล.ต. ที่จะมาสอนเรื่องบทบาท หน้าที่ รวมไปกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับเรื่องการลงทุนโดยเฉพาะที่ส่งผลถึงชีวิตของผู้คนที่กำลังเสพสื่อเรื่องการเงิน การลงทุน ที่ควรต้องระมัดระวัง และคุณสมบัติที่ต้องให้มีใบอนุญาตด้วยจะต้องตามเงื่อนไขอย่างไรบ้าง รวมไปถึงยังมีเคสหนึ่งที่สร้างความอื้อฉาวโดยเฉพาะเทศกาล Fyre Festival 2017
ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นนักข่าวสายหุ้นที่จะมาเล่าประสบการณ์พร้อมแนวทางในการเป็นนักข่าวควรต้องทำอย่างไรบ้าง โดยนำมาสรุปในโพสต์นี้ค่ะ อย่าลืมนะคะว่าวันนี้ วันสุดท้ายแล้ว มาช่วยกันโหวตหนูผ่านทางใต้โพสต์ หรือ QR Code โหวตได้ถึงเวลา 5 ทุ่มนะคะ
Morning Session - มิสเตอร์ ก.ล.ต.
Finfluencer Ethics
เข้าใจกฎหมายและข้อกำหนดทางจริยธรรมในการเผยแพร่ข้อมูลทางการเงิน
- กลต. มีบทบาทดูแลในด้านตลาดทุน เช่น หุ้นสามัญ พันธบัตรรัฐบาล และ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตราสารอนุพันธ์ เช่น Futures Forward และ Swap
- บทบาท กลต เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มีหน้าที่ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลตลาดทุน เช่น การระดมทุน สินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และ การกระทำอันไม่เป็นธรรมในตลาดทุน
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุน ผู้ลงทุน ตลาดการเงิน และ ผู้ระดมทุน
- การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.มี 3 แบบ เช่น
นิติบุคคล เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์, สัญญาซื้อขายล่วงหน้า, ทรัสต์, สินทรัพย์ดิจิทัล
บุคคล - ความเห็นชอบ เช่น กรรมการและผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์ลงทุน เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ - จดทะเบียน เช่น กองทุนรวม และ อนุญาต เช่น ตราสารทุน ตราสารหนี้ ใบ Warrant หุ้นกับอนุพันธ์ และ สินทรัพย์ดิจิทัล
- ความสำคัญตลาดทุนไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ พันธบัตร กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยลงทุน
- นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นที่กำกับดูแล เช่น แบงค์ชาติ ดูแลด้าน ตลาดเงิน และตลาดเงินตราต่างประเทศ ส่วน คปภ. ดูแลเรื่องตลาดประกัน
- ความสำคัญของตลาดทุน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจที่ต้องการเงินทุนกับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทน ภาคธุรกิจ (รัฐ/เอกชน) ต้องการเงินทุนเพื่อการดำเนินงาน จึงออกหลักทรัพย์ เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ หรือพันธบัตร เข้าสู่ ตลาดทุน ส่วนนักลงทุน ต้องการผลตอบแทน จึงเข้ามาซื้อหลักทรัพย์เหล่านั้นจากตลาดทุน รวมไปถึงภาคธุรกิจจะจ่ายผลตอบแทนให้นักลงทุนที่ถือครองหลักทรัพย์นั้นๆ
- กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 พรบ.ซื้อขายล่วงหน้า 2546 และ
พรบ.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2561
ด้านบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน - การเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในธุรกิจตลาดทุน ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
ด้านการประกอบธุรกิจในตลาดทุน - การประกอบธุรกิจให้บริการด้านการลงทุน อาทิ การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาการลงทุน ฯลฯ ต้องได้รับใบอนุญาต
ด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ - การระดมทุนในตลาดแรกและการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง ต้องปฏิบัติติบัติตามมาตรฐานการกำกับดูแล
วัตถุประสงค์ในการกำกับดูแลตลาดทุน กลต.
- สร้างความน่าเชื่อถือและเชื่อมั่นในตลาดทุน
ป้องกันการบิดเบือนราคาและปริมาณ
กำกับดูแลให้การซื้อขายเป็นไปด้วยความโปร่งใส
- สร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในตลาดทุน
ป้องกันถูกเอาเปรียบ
สร้างโอกาสการซื้อขายอย่างเท่าเทียมกัน
- ส่งเสริมประสิทธิภาพของตลาดทุน
ส่งเสริมการลงทุนและการระดมทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยให้เงินทุนไหลไปยังธุรกิจมีธรรมาภิบาลที่ดี
- รักษาเสถียรภาพ
ป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรม ทำให้ราคาหุ้นผันผวน
จำกัด ลดความเสี่ยงเชิงระบบ เช่น ผลกระทบการล้มล้างสถาบันการเงิน
- บังคับใช้กฎหมาย
ป้อง ปราบ ปราม โดยมีบทลงโทษและใช้กฎหมาย
มีความซื่อสัตย์และธรรมาภิบาล
- ถ้าเกิดมีคนมาถามเราขึ้นมา ในความรู้สึกของเรา คือ ไม่มั่นใจ การตอบจริงๆอาจทำให้ผิดได้ ต้องการรู้ให้เค้ารู้ด้วย ในสิ่งที่ตอบจะต้องตอบอย่างถูกต้องจริงๆ
- ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
ข่าวสารจากหน่วยงาน เช่น กลต ธปท คปภ ตลท
ข้อมูลจากกิจการ เช่น งบการเงิน
การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน
บทวิเคราะห์ที่มีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ
- ข้อมูลที่ไม่แน่ใจ
สังคมออนไลน์
ข่าวลือ หรือการวิเคราะห์ที่ไม่มีข้อมูลอ้างอิง
โพสต์สื่อออนไลน์โดยที่ไม่มีแหล่งที่มา
เพจส่วนตัวอ้างว่าเป็นหมอ วิศวะ มีประสบการณ์การลงทุน
- ผู้นำทางความคิดที่ให้ความรู้เรื่องการออมและการลงทุนอย่างเป็นกลาง >> ส่งผลให้ผู้ติดตาม เริ่มวางแผนการเงินอย่างมีระบบ ส่วนผู้ลงทุน ตัดสินใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและลงทุนอย่างมีความรู้
- ผู้นำทางความคิดมีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุน โดยไม่มีหลักวิชาการสนับสนุน >>
ส่งผลให้ผู้ลงทุน เข้าใจผิดและเข้าทำธุรกรรมโดยไม่มีข้อมูล จนสูญเงินลงทุนจำนวนมาก
ทำไมภาครัฐต้องเป็นห่วง
การให้ข้อมูลผิดพลาด
การตัดสินใจลงทุน จัดการเงินที่ผิดพลาดของผู้ลงทุน
ส่งผลกระทบต่อชีวิตในปัจจุบัน เช่น เงินไม่พอใช้ ไม่สามารถเก็บออมได้
ส่งผลกระทบต่อชีวิตในอนาคต เช่น มีหนี้สิน ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน ไม่มีเงินออมเกษียณ
- เคส Fyre Festival 2017 เทศกาลลวงโลกที่ถูกโปรโมทด้วยเหล่า Influencer ระดับโลก โดยนำเสนอให้เป็นเทศกาลดนตรีและศิลปะสุดหรู ระดับพรีเมียม บนเกาะส่วนตัวในบาฮามาส โดยเชิญชวนเหล่านางแบบและอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังมากมาย การโปรโมทแบบ Influencer Marketing ซึ่งกระตุ้นความสนใจและยอดขายตั๋วได้อย่างมหาศาล โดยตั๋วมีราคาสูงถึงหลายพันดอลลาร์
พอเกิดขึ้นจริงกลับไม่ได้จัดงานจริง ซึ่งเต็มไปด้วยสภาพเลวร้ายอย่างมาก จน Billy McFarland ผู้จัดงานถูกฟ้องร้องดำเนินคดีฐานฉ้อโกง และถูกตัดสินจำคุก เหตุการณ์นี้สร้างความเสียหายมหาศาลทั้งต่อผู้เข้าร่วมงาน นักลงทุน และชื่อเสียงของอินฟลูเอนเซอร์ที่ร่วมโปรโมทโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลที่เพียงพอ
กลต. กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมาย มี 6 ฉบับ
- การดำเนินการทางปกครอง อาญา และ ลงโทษทางแพ่ง
โดนเงินค่าปรับ เงินชดเชยใช้เท่ากับ ผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับการกระทำความผิด กลต ส่งเข้ากระทรวงการคลังเป็นเงินแผ่นดิน
- ผู้แนะนำการลงทุน และนักวิเคราะห์ลงทุนได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กลต
การทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการลงทุน คือ IC และ IP
ต้องผ่านการทดสอบความรู้
- ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน การลงทุน
- กฎระเบียบและการให้แนะนำการลงทุนที่เหมาะสม
- ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
กลต. ดูแลบุคลากร
ต้องมีสังกัด – บุคคลประกอบวิชาชีพการเงิน ต้องทำงานภายใต้บริษัทที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
ฝึกอบรมและทดสอบ - ผ่านอบรมและทดสอบตามที่มาตรฐานกำหนด
ปฏิบัติตามหลักการ Compliance – ทุกธุรกิจการเงินต้องมีระบบควบคุมภายใน เพื่อป้องกันกระทำผิดกฎหมาย
กลต. ดูแลประกอบธุรกิจ
การตรวจสอบ Compliance – ตรวจสอบการเงินปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ตรวจสอบระบบงาน - กลต. เข้าไปตรวจสอบบริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามกฎหมาย
การดูแลโปรโมท และ โฆษณาผลิตภัณฑ์ลงทุน – ไม่ใช่ข้อความหลอกลวงและชี้นำเกินจริง
ความหมายของคำแนะนำด้านการลงทุน
คุณค่าของหลักทรัพย์ และ ความเหมาะสมในการลงทุนหรือซื้อขายหลักทรัพย์
- ถ้าทำแบบนี้อาจเข้าข่ายต้องมี License บางเรื่องทำได้ แต่บางเรื่องต้องระวัง โดยมีหลายเคสมากมายที่โดนเป็นเหยื่อจนต้องหมดตัว ดังนั้นการนำเสนอจึงต้องระมักระวังอย่างยิ่งเลย และพิจารณารอบคอบ ถ้าไม่มั่นใจลองไปเช็คข้อมูล หรือติดต่อสอบถามทางกลต เพื่อตรวจสอบเนื้อหา ก่อนจะโดนลงโทษ
- การให้คำแนะนำด้านการลงทุนผ่านสื่อหรือสัมมนา โดยเจ้าของรายการหรือผู้จัดสัมมนา ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์ จัดให้มีบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้รับความเห็นชอบจาก กลต. เป็นผู้ให้คำแนะนำ ภายใต้การควบคุมดูแลของบริษัทหลักทรัพย์
ภาพรวมการโฆษณาและส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ
มาตรฐานการโฆษณาที่เหมาะสม
- แสดงข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
- แสดงด้านดี ด้านเสีย และความเสี่ยง
- ถ้อยคำต้องชัดเจน ความหมายไม่คลุมเครือ
ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- มีความเสี่ยงต่ำ/ไม่มีความเสี่ยงจากการลงทุน
- ผลตอบแทนสูงเกินจริง
- ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน เช่น ผลตอบแทน ความเสี่ยง
- ใช้รูปแบบที่ยากต่อความเข้าใจ
- ใช้ภาพ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ประกอบโฆษณา และ ขนาดใหญ่เกินไป
รู้จัก Conflict of Interest (COI)
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บุคคลมีผลประโยชน์ส่วนตัว อาจขาดแย้งกับผลประโยชน์ของลูกค้า เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเองก่อนลูกค้า / การแนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุน / การใช้ข้อมูลยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน / การใช้กฎเกณฑ์และข้อบังคับ / นโยบายในบริษัท / เปิดเผยข้อมูล / การสร้างกำแพงระหว่างฝ่ายงานภายใน / การตรวจสอบกิจการภายใน และ สร้างตระหนกอย่างสม่ำเสมอ
Influencer กับ Conflict of Interest (COI)
- อินฟลูอาจมี COI หากมีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ เช่น คำแนะนำโดยมีแอบแฝง / แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ตนเองไม่ได้ใช้จริง / การแนบ Link เพื่อผู้ติดตามเข้าไปซื้อผลิตภัณฑ์ / นำเสนอเนื้อหาไม่เป็นกลาง / การเปิดเผยข้อมูลและส่วนได้เสียต่อสาธารณะ และ การปฏิบัติกฎหมายเกี่ยวข้อง เช่น คุ้มครองผู้บริโภค และ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ลักษณะการกระทำไม่เป็นธรรม
- การเปิดเผยข้อมูลอาจทำให้ผู้ลงทุนและตลาดทุนเสียหาย
- การเอาเปรียบผู้ลงทุนโดยใช้ประโยชน์จากข้อมูล
- สร้างราคาหลักทรัพย์
- การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายผิดจากสภาพปกติของตลาด
- ความเสียหายทางการเงินของผู้รับสาร/ผู้ลงทุน
- เกิดความเสียหายต่อตลาดทุน
- ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด ส่งผลความไว้ใจต่อนักอินฟลูลดลง
สิ่งที่แนะนำในการระมัดระวังในการให้ข้อมูล
- ระวังให้ข้อมูลอาจทำให้เข้าใจผิดได้
- เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- การ Disclaim ต่างๆ
สิ่งที่ควรระบุในการเผยแพร่ Content ด้านการเงินการลงทุน
- วัตถุทำ Content เพื่อให้ความรู้ หรือ ความบันเทิง
- เปิดเผยส่วนได้เสียทางผลประโยชน์หรือ COI
- สถานการณ์เป็นผู้แนะนำการลงทุน
- การลงทุนมีความเสี่ยง
- ผลการดำเนินงานในอดีต ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันผลดำเนินงานในอนาคต
สำหรับผู้คำแนะนำการลงทุน
- ให้ข้อมูลด้วยความรอบคอบอย่างระมัดระวัง
- รักษาจรรณยาบรรณและจริยธรรม
- คำนึงผลประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนเป็นสำคัญ
- หลีกเลี่ยง COI ไม่มีส่วนร่วมกระทำไม่เป็นธรรม
สำหรับบุคคลทั่วไป / Finfluencer
- ให้ข้อมูลได้รับเผยแพร่ทั่วไปด้วยความรอบคอบ
- ไม่กล่าวอ้างเกินจริง
- แยกแยะความเห็นส่วนตัวกับข้อเท็จจริง
- เปิดเผย COI ไม่มีส่วนร่วมกระทำไม่เป็นธรรม
- คำนึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้รับสารเป็นสำคัญ
Afternoon Session - สุรเมธี มณีสุโข efinanceThai
Professional Content Creation
รู้จักกันก่อน เข้ามาในวงการข่าว
- ความยั่งยืนของอาชีพอินฟลูฯ คือ รักษายอมรับ เป็นกลาง น่าเชื่อถือ
- เป็นนักข่าววันแรก สมัยช่วงยังไม่มีอินเตอร์เน็ตเข้ามา ยุคก่อนรับข่าว สมุดข่าว แข่งขันด้วยความไว ข่าวขึ้นไวก่อนจะชนะ เขียนข่าวสั้นอย่างกระชับ แล้วส่งไปยังต้นสังกัด ตอนนั้นยังมี AFET ที่เป็นราคาเกษตร RSS3 ดูตลาดหุ้น บมจ บลจ หน่วยงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน จนทำงานมา 20 ปี
1.ทักษะการเล่าเรื่อง
เริ่มจากการฟังเพลง-ดูหนัง
เล่าเรื่องได้ ต้องมีความใจชอบจริงๆจึงจะสามารถเล่าเรื่องได้
ย่อ-สรุปเรื่องได้ สามารถย่อออกมาเป็นเรื่องราวที่สำคัญจนสรุปได้
จับประเด็น รวมจากเล่าเรื่องและย่อสรุป สามารถใส่หัวเรื่อง/ประเด็นได้
คอนเทนต์ที่จะได้รับโอกาสความสนใจซ้ำๆคือเพลงหรือดูหนังได้ ในช่วงเทศกาล เช่น วันสำคัญ ช่วงใกล้ออกเกม คอนเสิรต์ เป็นต้น หรือความคิดถึงที่อยากหวนกลับมา (Nostalgia)
เมื่อต้องเล่าเรื่องราวที่สนุก ต้องเป็นเรื่องราวที่เราอยากเล่า
การเล่าเรื่องให้ "สนุก" โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องราวที่เรา "อยากเล่า" นั้นเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การสื่อสารมีชีวิตชีวา ดึงดูด และสร้างความประทับใจได้ เมื่อเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เล่าเรื่องถูกยกระดับขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากความรู้สึกภายใน
เมื่อต้องเล่าเรื่องราวยาว และ ซับซ้อน
ช่วยให้ข้อมูลที่เข้าใจยากกลายเป็นเรื่องที่น่าติดตาม เข้าใจง่าย และจดจำได้ดีขึ้น นี่คือองค์ประกอบและเทคนิคสำคัญสำหรับการเล่าเรื่อง
เมื่อต้องเรื่องราวที่ไม่สนุก
รู้สึกไม่อิน หรือ บรรยากาศเงียบ ซึ่งอาจเทียบเรื่องข่าวที่น่าเบื่อ เช่น ผู้บริหารแถลงการณ์ธุรกิจบริษัทต่างๆ งานวิชาการ เป็นต้น อาจต้องพยายามในการเล่าเรื่องสำคัญด้วยการใช้การสังเกตด้วยหลายวิธี เช่น มุมภาพ คำพูด มาจับจุดประเด็นเนื้อเรื่อง
เล่าเรื่องการเงิน ผ่านหนัง เช่น The Big Short The Wolf of Wall Street สงครามส่งด่วน
ศึกษาหาแหล่งข้อมูลของข่าวจาก ข้อมูลบริษัท ผลการดำเนินงาน พฤติกรรม สถานการณ์
2. หาคอนเทน์จากสื่อต่างๆ
สื่อรอบตัว
- ทีวี-วิทยุ (ได้การเล่าเรื่อง) เช่น รายการทอล์คโชว์ (รูปแบบการพูดคุย ข้อคิด) / รายการเล่าเรื่อง เช่น ผี วาไรตี้ (เน้นอารมณ์ร่วม) / รายการข่าว (ชั้นเชิง การตั้งคำถาม)
- หนังสือพิมพ์ นิตยสาร (ได้รูปแบบคอนเทนต์) เช่น พาดหัว เป็นประเด็นในลักษณะคำพูด สำหรับหนังสือพิมพ์ / คอลัมภ์หลักต่างๆ ประมาณ 4-5 ประเด็น ที่ขึ้นออกมาในปกนิตยสาร
- ใบปิดหนัง โปสเตอร์โฆษณา (ได้คำศัพท์) ได้แก่ มีคำสำคัญ คำโปรย เพื่อได้ศัพท์ใหม่ๆ แล้วต้องภาพสื่อความหมาย
- ออนไลน์ ที่แตกต่างจากสื่อออฟไลน์ แล้วหาคอนเทนต์เหมาะกับสื่อที่จะทำ
ทำข่าว-คอนเทนต์ ต่างกันอย่างไร
- รูปแบบข่าว&คอนเทนต์ ต้องหาจากข่าวทั่วไป แถลง แจ้งตลาด PR / ข่าว Exclusive มี Value / ข่าวเชิง ข้อมูล และ สกู๊ป ข่าวเชิงวิเคราะห์ เจาะลึก
- เลือกหุ้นทำข่าว Exclusive เช่น ใน SET100 / ผู้ถือหุ้นเยอะ ฟรีโพทสูง เช่น OE CIMB / อยู่ในกระแส มีผลกระทบวงกว้าง เป็นต้น
ใช้หลัก SPOI
Exclusive ทำข่าว
Stability ความมั่นคงของกิจการ
Performance ผลการดำเนินงาน
Opportunity โอกาสในอนาคต
Immediate Situation สถานการณ์ที่เข้ามา ณ เวลานั้น
- SPOI ดียังไง มีเรื่องพูดคุย กับผู้บริหาร ต่อยอดไปประเด็นสำคัญได้ / ได้ครดิต เพราะมีข้อมูลแน่น ถูกต้อง /ประหยัดเวลาเขียนข่าว / คิดวางรูปแบบการนำเสนอ ได้ง่ายขึ้น
- หาข้อมูลจาก งบการเงิน ข่าวเก่าใหม่ บทวิเคราะห์ รายงานประจำปี ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ และ กลต. กฎเกณฑ์-กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- คอนเทนต์ข้อมูล มี 2 แบบ คือ ข้อมูลธุรกิจ และ ข้อมูล สีสัน (เรียกเรตติ้ง)
วิธีทำคอนเทนต์ข้อมูล
- แหล่งข้อมูล เช่น SET / Settrade / SETSmart / Morning Star แล้วต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อประมวลผลในการสรุป จนนำมาเขียนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลงในบทความ แล้วนำเสนอข้อมูลการเงินนำขึ้น Timing เช่น งบไตรมาส งบการเงิน ผลประกอบการ เป็นต้น เอาไปสามารถต่อยดในการผลิตคอนเทนต์ได้
AI ช่วยทำงานข่าวหุ้น
- AI ช่วยได้ แค่ไหน ซึ่ง AI ช่วยในการทำข่าวเชิงวิเคราะห์ได้ดี / ช่วยวางโครงเรื่อง ประเด็น ครีเอทหัวข้อ / ช่วยทำ SEO ได้ดี / ภาพข่าวทำได้
- ข้อสังเกตของ AI ที่มีข้อผิดพลาดบางอย่าง เช่น ข่าวข้อมูลยังเพี้ยนอยู่ / เข้าถึงข้อมูล วิดีโอ Live สด ไม่ทันเหตุการณ์ / ความน่าเชื่อถือจากแหล่งข้อมูลที่หามา และ ระวังการตรวจย้อนกลับ
- ทริกการทำข่าว ข้อควรระวัง ควรจะต้องทำการบ้านทุกครั้ง (ข้อมูลบริษัท ข่าวเก่า) / เน้นการทำน้อย ได้มาก / เตรียมพร้อมทุกด้านข้อมูล-ร่างกาย / ปัญหาเฉพาะหน้า มีมาเสมอ ต้องรับมือในสิ่งที่ต้องเผชิญปัญหาตรงนั้น แล้วต้องผ่านไปให้ได้ แล้วยังมีคิดนอกกรอบบ้าง เผื่อจะได้อะไรใหม่ๆ ในสิ่งที่ไม่คาดมาก่อนไม่ว่าจะทั้งในงานหรือหน้างานก็ตาม
ข้อควรระวัง ตอนทำข่าว เช่น ศาสนา เชื้อชาติ การเมือง เพศ / เมื่อมีคลิปที่นำเสนอในลักษณะเขย่าขวัญตามกระจายไปหลายแพลต์ฟอร์มมากมาย ถือว่ามีความเสี่ยงอย่างมากเลย ดังนั้นถ้าคิดจะทำคอนเทนต์เชิงลบ แล้วข้อมูลต้องแน่นด้วย อยู่ในความเป็นกลาง / การสับสนข้อมูล ตัวเลข-ชื่อหุ้น ซึ่งผู้ทำข่าวอาจเกิดความสับสนอาจมีการสลับกัน หรือ ตัวเลขห่างโดด อาจะทำให้เกิดความผิกพลาดได้ ดังนั้นอาจะต้องระมัดระวังในการนำเสนอและตรวจสอบอย่างรอบคอบด้วย
ใช้ Ai สามารถเป็นที่ปรึกษาได้ ไม่ว่าจะทำเรื่องเปรียบเทียบ ช่วยข้อสรุป หรือมีข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยได้ แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง เนื่องจากข้อมูลที่ Ai ได้มานั้นอาจไม่ถูกต้องเสมอไป อาจจะต้องตรวจสอบด้วยตัวเองในการหาแหล่งข้อมูลต่างๆ นำมาประกอบในการทำข่าว
จากบทสรุปการเรียน The Influencer ครั้งที่ 9 โดย กลต. มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลด้านการเงินและตลาดทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ความเสมอภาค ส่งเสริมประสิทธิภาพ และรักษาเสถียรภาพของตลาดทุน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรม การเป็น Finfluencer มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลทางการเงิน การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลางจะช่วยให้ผู้ติดตามวางแผนการเงินได้อย่างมีระบบและตัดสินใจลงทุนอย่างมีความรู้
รวมไปถึงมีเคส Fyre Festival 2017 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการโปรโมทโดย Influencer โดยขาดการตรวจสอบข้อมูลที่เพียงพอจนทำให้เสียหายในวงกว้างด้วย ส่วนความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีผลประโยชน์ส่วนตัวที่อาจขัดแย้งกับผลประโยชน์ของลูกค้า เช่น การแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ตนเองได้รับผลประโยชน์แอบแฝง การใช้ข้อมูลภายใน หรือการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ตนเองไม่ได้ใช้จริง Finfluencer ควรเปิดเผยส่วนได้เสียหรือ COI อย่างโปร่งใส และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือ
ส่วนการเป็นนักข่าวสายหุ้น เปิดตัวด้วยเล่าประสบการณ์ที่เค้าทำงานสื่อด้านการลงทุนมากว่า 20 ปี ซึ่งสมัยตอนทำข่าวนั้นยังไม่มีอุปกรณ์มากเหมือนในตอนนี้ ซึ่งต้องไปทำข่าว เขียนข่าว แล้วสรุปไปยัง Fax ต้นทาง แล้วต้องรอผู้บริหารมาสัมภาษณ์ พร้อมมีเบื้องหลังมาด้วย ถ้ามีความชอบในการทำสื่อด้านการเงินและการลงทุนนั้น จะต้องมีความชอบก่อนเป็นอันแรก
หลังจากนั้นเริ่มต้นด้วยจากการฟังเพลงและหนัง แล้วฝึกการเล่าเรื่องตามระดับของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ชอบมาก ชอบกลางๆ แต่ชับซ้อน และไม่ชอบ ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องฝึกทั้งชอบและไม่ชอบ เพื่อได้ปรับตัวในการทำสื่อได้ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์ไหนก็ตาม แล้วหาคอนเทนต์จากแพลต์ฟอร์มเพื่อนำไปประกอบในการผลิตสื่อ
รวมไปถึงหาคอนเทนต์จากแหล่งข่าวต่างๆที่น่าเชื่อถือ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จากช่องโทรทัศน์และวิทยุที่นำเสนอข่าวเศรษฐกิจ เว็ปไซต์จากสำนักข่าวชั้นนำ ข้อมูลจากบริษัท บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้ข้อมูลหุ้นผลการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการ นอกจากนี้ยังใช้ Ai ในการประกอบช่วยเรียบเรียงข้อมูลขัดเกลาให้ดีขึ้นได้ แต่ควรระวังหน่อย เนื่องจากมีความผิดพลาดข้อมูลบางอย่างได้ อาจต้องตรวจสอบด้วยตัวเองอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำกันทุกวัน ถ้ามีใจที่ชอบอย่างจริงจังและลงมือปฏิบัติ
จากสิ่งที่เราได้สรุปคลาสเรียนนั้น หวังจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนต่อไปนะคะ อย่าลืมเพื่อนๆ และผู้ติดตามทุกท่านมาช่วยกันโหวตให้คะแนนเรา เพื่อได้รับคัดเลือกเข้ารอบชิงของโครงการ The Influencer Financial & Investment สามารถมาร่วม Vote ได้ผ่านทางลิงค์นี้ หรือ QR Code จากตามภาพได้ค่ะ
https://theinfluencer-th.com/public/vote/67d80ad618d6c3314d9ada8f
“1 Vote = 1 ให้กำลังใจ” ในการผลิตสื่อของเราต่อไปค่ะ
สามารถร่วมโหวตได้ถึงวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ถึง 5 ทุ่ม เท่านั้นนะคะ
* หมายเหตุ Content นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ The Influencer Financial & Investment ของ E-FinanceThai เท่านั้น
#TheInfluencerTH #TheInfluencer2025 #การเงินการลงทุน
การเงิน
การลงทุน
หุ้น
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย