9 ก.ค. เวลา 06:03 • ความคิดเห็น
สมมติฐานที่ทำให้เกิดการสงสัย
มันคือการตั้งคำถามที่ว่า
ทำไม "ค่าคงที่ทางฟิสิกส์"ถึงตรงและนิ่งแม่นยำอย่างเหลือเชื่อ เหมือนมีการเซ็ตค่าไว้เลย ยกตัวอย่าง ค่าคงที่บางอย่างในจักรวาล เช่น
ค่าคงที่แรงโน้มถ่วง (G)
ค่าคงที่แสง (c)
ค่าคงที่ของพลังงานจุดศูนย์ (ค่าความหนาแน่นพลังงานของสุญญากาศ)
ค่า fine-structure constant (α)
ทั้งหมดนี้ “เป๊ะ” และ “พอดี” มากจนเหมือนมีใคร “ปรับแต่ง” หรือ fine-tune เพื่อให้จักรวาลเหมาะกับการมีชีวิต เช่น
ถ้าแรงโน้มถ่วงแรงกว่านี้เพียงเล็กน้อย จักรวาลจะยุบตัวเร็วเกินไป
ถ้าอ่อนกว่านี้ จักรวาลจะกระจายตัวจนดาวเคราะห์ไม่สามารถก่อตัวได้เลย
ดังนั้น หลายคน including นักฟิสิกส์บางท่าน
จึงเสนอว่า นี่อาจไม่ใช่จักรวาลจริง แต่เป็นจำลอง ที่มีการสร้างหรือโปรแกรมการตั้งค่าคงที่เหล่านี้ไว้เพื่อให้จักรวาลดำรงอยู่ได้
หน้าขนลุกดีไหมครับ
แล้วคำถามที่ว่าทำไม คนที่มี IQ สูงที่สุดในโลกทำไมจึงเชื่อว่าเราอาศัยอยู่ในโลกจำลอง
ผู้ที่มี IQ สูงมากๆ มักมีแนวโน้ม คิดแบบ abstract ลึกซึ้งครับ เขาสนใจความเป็นไปได้ที่ไม่ธรรมดา มองข้ามสมมติฐานพื้นฐาน เช่น เราต้องอยู่ในโลกจริง แล้วถามว่า จริงหรือ
ตัวอย่าง
Elon Musk (IQ ราว 150–160) บอกว่าโอกาสที่เราจะอยู่ในโลกจริง มีน้อยกว่า 1 ในพันล้าน 😮
Terence Tao (IQ 225–230) แม้จะไม่พูดเรื่อง simulation โดยตรง แต่งานของเขาในคณิตศาสตร์เชิงนามธรรมชี้ว่าโลกอาจถูกอธิบายด้วยโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ ซึ่งคล้าย "โค้ดโปรแกรม"
Joscha Bach (นักวิทยาศาสตร์ AI/จิตสำนึก) เชื่อว่าจักรวาลอาจเป็นผลผลิตของกระบวนการข้อมูลระดับลึก
แล้วทำไมพวกเขาถึงอธิบายว่าทำไมมัน "เป็นไปได้"
ลองนึกภาพตามนะครับ
ถ้าเราสามารถสร้างโลกเสมือน (เช่นในเกม The Sims, หรือ VR ขั้นสูง) ที่ให้ตัวละครมีความรู้สึกนึกคิด แล้วพวกเขาถามว่า "นี่คือโลกจริงไหม" จะต่างอะไรกับเราตอนนี้
หรือ
ถ้าทุกอย่างในจักรวาลสามารถอธิบายได้ด้วยข้อมูลและสมการทางคณิตศาสตร์ แล้วนั่นต่างอะไรกับโค้ดโปรแกรม 😮
ถ้าเราอยู่ในโลกจำลอง ก็อาจมีอีกโลกหนึ่งที่จำลองเราอยู่ และอีกโลกที่จำลองโลกนั้นอีกเรื่อยๆ
นี่เรียกว่า Simulational Stack หรือ “ห่วงโซ่ของโลกจำลอง” ซึ่งไม่มีทางรู้ว่าเราอยู่ชั้นที่เท่าไร 🥲
ผู้มี IQ สูง มักจะตั้งคำถามและเป็นที่ถกเถียงกันว่า
ทำไมค่าคงที่ทางฟิสิกส์ เป๊ะ จนเหมือนมีคนตั้งค่าไว้
จักรวาลออกแบบข้อมูลเหมือนโค้ดในคอมพิวเตอร์
การคิดแบบ Abstraction เหมือนการมองเบื้องหลังภาพยนตร์ เห็นกล้อง เห็นผู้กำกับ วิทยาศาสตร์ + ปรัชญาผสมกัน แล้วเกิดคำถามว่า นี่คือโลกจริงแน่หรือ
ถ้าจักรวาลเป็นไปตามกฎธรรมชาติจริงๆ แล้วทำไมมันถึงเป๊ะ ก็น่าจะถือเป็นเรื่องผิดปกติไม่ใช่หรือ
ซึ่งตามหลักสถิติโดยธรรมชาติแล้ว
มันไม่จำเป็นต้องเป๊ะ แบบนี้เสมอไป และความเป๊ะที่เราพบ กลับดู "พอดีเกินไป" จนหลายคนสงสัยว่าถูกตั้งใจ “จงใจออกแบบ” ไว้
เป๊ะ "แบบมีนัยสำคัญ" ต่างจากเป๊ะ "โดยบังเอิญ"
ค่าคงที่ของจักรวาลหลายค่ามี ความเป๊ะที่นำไปสู่ความเป็นไปได้ของการดำรงอยู่ของชีวิต ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเพียงน้อยนิด โลก ชีวิต ดาว ฯลฯ จะไม่สามารถก่อตัวได้เลย
ตัวอย่าง ค่าคงที่ถ้าเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนเช่นกัน
ค่าแรงโน้มถ่วง (G) มากขึ้นเล็กน้อย จักรวาลยุบเร็ว ไม่มีดาว
ค่าแรงไฟฟ้า (e) อ่อนลงเล็กน้อย อะตอมไม่สามารถรวมตัวได้
Fine-structure constant (α ≈ 1/137) เปลี่ยนเพียง 0.001 การเกิดแสงและปฏิกิริยาอะตอมเปลี่ยนทั้งหมด
ค่าพลังงานมืด (dark energy constant, Λ) มากขึ้นนิดเดียว จักรวาลขยายเร็วเกินไป จนดาราจักรก่อตัวไม่ได้
ความเป๊ะตรงนี้จึง “ไม่ใช่แค่แม่น” แต่เหมือน “ถูกตั้งค่ามาให้รองรับชีวิตได้”
นี่เรียกว่า Fine-Tuning Problem
ถ้าทุกค่าถูกสุ่มขึ้นมา ทำไมมันลงตัวพอดี
ในจักรวาลแบบสุ่ม (Random Universe)
ค่าคงที่ควรจะ "กระจาย" ไปเรื่อยๆตามโอกาส ส่วนใหญ่จะไม่ลงตัว แต่อันที่ลงตัวกลับ “ลงตัวแบบพอดีเป๊ะสุดขีด” เหมือนถูกเลือกมาโดยเฉพาะ
สมมุติ
ถ้ามีจักรวาล 1 ล้านแบบที่มีค่าคงที่แตกต่างกัน จะมีกี่แบบที่เหมาะกับการเกิดชีวิตได้ ซึ่งบางงานวิจัยตอบว่า "ไม่ถึง 1 ในพันล้าน"
😱😱😱😱😱😱😱😱😮😮😮😮🥲🥲🥲
โฆษณา