10 ก.ค. เวลา 01:32 • หุ้น & เศรษฐกิจ

📘 จิตวิทยาการลงทุน (The Psychology of Investing)

โดย John R. Nofsinger แปลไทยโดย พิริยะ พาณิชย์ชะวงศ์

หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราเข้าใจว่า “คน” ไม่ได้ลงทุนด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว แต่ “อารมณ์ ความรู้สึก และอคติ” มีบทบาทสำคัญ จึงอยากสรุปบางประเด็นสำคัญที่นักลงทุนมักพลาด มาแบ่งปันกัน
1. 🧠 Overconfidence — มั่นใจในตัวเองเกินไป
เมื่อเราลงทุนแล้วได้กำไร มักคิดว่าเพราะเราเก่ง
แต่ถ้าขาดทุน มักโทษดวง โทษตลาด หรือโทษคนอื่น
ยิ่งกำไรบ่อย ยิ่งมั่นใจเกินจริง → ประเมินความเสี่ยงต่ำลง
ผลคือ:
* กล้าลงทุนมากเกินไป
* กระจายความเสี่ยงน้อย
* เสี่ยงพอร์ตเสียหายตอนตลาดเปลี่ยนทิศ
ตัวอย่าง:
ช่วงตลาดขาขึ้น คนส่วนใหญ่ทำกำไรได้ง่าย → คิดว่าตัวเอง “เจ๋ง” → กล้าซื้อหุ้นเสี่ยงขึ้นเรื่อย ๆ
2. 📉 Disposition Effect — ขายตัวที่ได้กำไรเร็วเกิน / ถือขาดทุนนานเกิน
เพราะเรา "ดีใจเวลาได้กำไร" และ "ไม่อยากยอมรับความผิดพลาด"
เลยรีบขายหุ้นที่มีกำไรเพื่อเก็บความภูมิใจไว้
และไม่กล้าขายหุ้นขาดทุนเพราะไม่อยากรับรู้ว่า “เราตัดสินใจผิด”
คำพูดที่ได้ยินบ่อย:
“ยังไม่ขาย ยังไม่ขาดทุน” 😓
วิธีรับมือ:
* วางแผนก่อนลงทุนว่า “จะขายเมื่อไหร่”
* มีวินัยในการทำตามแผน ไม่ใช่ตามอารมณ์
3. 🧾 Mental Accounting — บัญชีในใจ
เรามักแยกการลงทุนแต่ละตัวออกจากกันในสมอง
เหมือนเปิด “แฟ้มใหม่” ทุกครั้งที่ซื้อหุ้น
โดยไม่มองว่า พอร์ตโดยรวมของเรามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่าง:
การซื้อหุ้นที่มีลักษณะธุรกิจเดียวกันหมดในพอร์ตการลงทุน ทำให้พอร์ตมีความเสี่ยงได้มาก ถ้าธุรกิจนี้มีปัญหา
ดังนั้นควรมองปฏิสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนใหม่กับพอร์ตโดยรวมที่มีอยู่แล้วด้วย
4. 🎰 House Money Effect — เสี่ยงมากขึ้นเมื่อได้กำไร
เมื่อได้กำไรจากหุ้น กำไรนั้นอาจรู้สึกเหมือน "เงินฟรี"
→ กล้าเอาไปเสี่ยงกับหุ้นที่ปกติไม่กล้าลงทุน
เช่น:
ลงทุน 100,000 → ขายได้ 150,000 → เอากำไร 50,000 ไปลงหุ้นเสี่ยง
→ คิดว่า “ขาดทุนก็แค่เงินที่ได้มาเปล่า ๆ”
แต่จริง ๆ คือ “เงินของเราเหมือนกัน ควรดูแลเท่า ๆ กัน”
5. 🐍 Snake Bite Effect — กลัวการลงทุน เพราะเคยเจ็บ
เคยลงทุนแล้วพัง → กลัว → ไม่กล้ากลับเข้ามาอีก
เหมือนคนเคยโดนงูกัด → กลัวไปตลอดชีวิต
ผลเสีย:
* อาจพลาดโอกาสดีในการลงทุนอนาคต
* ปล่อยเงินไว้เฉย ๆ ไม่ให้ทำงาน
6. 👥 Herding — ทำตามคนหมู่มาก
เห็นคนอื่นซื้อหุ้นตัวนั้นเยอะ เราก็อยากซื้อตาม
เพราะไม่อยาก “ตกขบวน” หรือรู้สึกว่า “เขารู้อะไรมากกว่าหรือเปล่า”
ผลคือ:
* ราคาหุ้นอาจพุ่งเกินพื้นฐาน
* หรือร่วงแรงเวลาคนแห่ขาย
→ เจ็บหนักเพราะลงทุนตาม “กระแส” แทนที่จะวิเคราะห์เอง
7. 🧩 Representativeness & Familiarity — ชอบของที่คุ้นเคย
สมองใช้ “ทางลัด” ตัดสินใจจากสิ่งที่คุ้น
เวลาที่เราคุ้นเคยอยู่กับสิ่งใดแล้ว จะมีมุมมองที่บิดเบือนได้ นักลงทุนจะมองหาการลงทุนที่คุ้นเคย ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่ต่ำไป

เช่น หุ้นตัวที่เคยกำไรดี → คิดว่าจะดีเสมอ
หรือลงทุนเฉพาะในประเทศเพราะรู้สึกปลอดภัยกว่า โดยยังไม่ได้ลองศึกษา
→ พลาดการกระจายความเสี่ยง / โอกาสใหม่ ๆ
🔎 สรุป:
การลงทุนไม่ใช่แค่เรื่องของ “ข้อมูล” หรือ “ตัวเลข”
แต่คือเรื่องของ “คน” ที่มีอารมณ์ ความกลัว ความโลภ และอคติเต็มไปหมด
การรู้เท่าทัน “จิตวิทยาของตัวเอง” คือทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เราไม่หลงทางในการลงทุน
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#จิตวิทยาการลงทุน
#ลงทุนแบบมีสติ
#เข้าใจตัวเองก่อนเข้าใจตลาด
โฆษณา