15 ก.ค. เวลา 00:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ

📊 3 วิธีประเมินมูลค่าหุ้น

ก่อนจะซื้อหุ้น เราไม่ควรดูแค่ธุรกิจดี แต่ต้องรู้ด้วยว่า ราคาหุ้นที่ซื้อ "แพงไป" หรือ "ถูกไป" หรือไม่ โดยมี 3 วิธีพื้นฐานที่ใช้ประเมินมูลค่าหุ้น ดังนี้:
✅ วิธีที่ 1: ดูจากค่า P/E (Price to Earnings Ratio)
📌 P/E คืออะไร?
คิดจาก: ราคาหุ้น ÷ กำไรต่อหุ้น (EPS)
หรือทั้งบริษัทคือ: Market Cap ÷ กำไรสุทธิย้อนหลัง 1 ปี (4 ไตรมาส)
บอกว่า "ถ้ากำไรเท่าเดิม จะคืนทุนในกี่ปี"
ตัวอย่าง:
ราคาบริษัท 5,000,000 บาท กำไรปีละ 500,000 บาท → P/E = 10 → คืนทุนใน 10 ปี
📌 P/E มีกี่แบบ?
Trailing P/E (ย้อนหลัง): ใช้กำไรจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ใช้ในเว็บไซต์ SET มาเทียบกับราคาหุ้น
Forward P/E (ล่วงหน้า): ใช้กำไร "ที่คาดว่าจะเกิด" ในอนาคต เห็นในบทวิเคราะห์โบรกเกอร์
✨ Trailing P/E คือ P/E ที่วัดความถูกแพงของราคาหุ้นปัจจุบัน จากกำไรที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ Forward P/E คือ ความถูกแพงของราคาหุ้นปัจจุบัน เมื่อเทียบกับกำไรในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ข้อควรระวัง เนื่องจาก Forward P/E เป็นการคาดเดาอนาคต ดังนั้นไม่มีใครคาดเดาได้ถูกต้องแน่นอน
ถ้ามีกำไร/ ขาดทุน พิเศษ เป็นกำไรหรือขาดทุนที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เป็นรายการที่ไม่เกิดบ่อย เช่น การขายสินทรัพย์บ้างอย่าง ได้เงินชดเชย จะส่งผลต่อ P/E ได้
P/E ต่ำ ≠ หุ้นดีเสมอ ต้องดูคุณภาพธุรกิจด้วย
✅ วิธีที่ 2: ดูจากค่า P/BV (Price to Book Value)
📌 P/BV คืออะไร?
คิดจาก: ราคาหุ้น ÷ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value)
Book Value = สินทรัพย์ – หนี้สิน หรือ “ส่วนของผู้ถือหุ้น”
ตัวอย่าง:
ส่วนผู้ถือหุ้น 800,000 บาท / หุ้น 100,000 หุ้น → BV ต่อหุ้น = 8 บ./หุ้น
ราคาหุ้น 16 บ. → P/BV = 2 เท่า
📌 แปลว่าอะไร?
ถ้า P/BV < 1 แปลว่า ราคาหุ้นตอนนั้นถูกกว่าส่วนของเจ้าของ มันบอกว่าถูก แต่ไม่ได้เป็นการบอกว่า น่าลงทุนหรือเปล่า
❗ ข้อสังเกต
- P/BV มองเรื่องงบดุลเป็นหลัก ซึ่งมีการบันทึกมูลค่าตามราคาทุนปรับมูลค่า จึงมักเหมาะกับการประเมินหุ้นกลุ่มธนาคาร หรือหุ้นที่มีสินทรัพย์ที่น่าจะสร้างมูลค่าได้ในอนาคตแต่ยังถูกบันทึกค่าในส่วนของราคาทุนอยู่
- ค่า P/BV จะมีความสัมพันธ์กับ ROE(return on equity) บอกความสามาถในการทำกำไรของบริษัทต่อส่วนผู้ถือหุ้น คิดจาก กำไรสุทธิ/ ส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าลงทุนด้วยราคาเท่ากับส่วนผู้หุ้น(P/BV = 1) บริษัทนั้นทำกำไรให้เราจะได้เท่าไหร่ ดังนั้นยิ่งเราซื้อด้วย P/BV ที่สูง ผลตอบแทนที่เราได้จากหุ้นนั้นจะลดลง
✅ วิธีที่ 3: ประเมินจาก เงินปันผล (Dividend Discount Model) เนื่องจากเงินปันผลนั้นเป็นกระแสเงินสดที่เราได้รับในแต่ละปี จึงสามารถประเมินมูลค่าหุ้น โดยใช้เงินปันผลในแต่ละปีที่ได้รับในอนาคตมาปรับมูลค่าของเงินตามเวลาในแต่ละก้อน
📌 ถ้าไม่มีการเติบโต:
ราคาหุ้นเหมาะสม = เงินปันผลต่อปี ÷ ผลตอบแทนที่คาดหวัง
ตัวอย่าง:
ปันผล 7 บ./หุ้น คาดหวังผลตอบแทน 7% → ราคาที่เหมาะสม = 7 ÷ 0.07 = 100 บ.
📌 หากมีการเติบโตของเงินปันผล:
ราคาหุ้น = D0 × (1 + g) ÷ (r – g)
D0 = เงินปันผล
g = อัตราการเติบโตของปันผล
r = ผลตอบแทนที่คาดหวัง
ตัวอย่าง:
D = 7 บ., g = 3%, r = 7%
ราคาหุ้น = 7 × (1 + 0.03) ÷ (0.07 – 0.03) = 175.5 บ.
❗ ข้อควรระวัง
เมื่อเราคิดว่า มีการเติบโต มูลค่าที่เราคำนวณได้จะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเวลาที่คิดเรื่องการเติบโต ควรพิจารณาด้วยว่า บริษัทจะสามารถเติบโตลักษณะนี้ไปได้ในระยะยาวรึป่าวด้วยนะ
📌 สรุป:
P/E ราคาหุ้นเทียบกำไร ระวังกำไรพิเศษ, ควรประเมินกำไรในอนาคตให้สมเหตุผล ไม่คาดหวังมากเกินไป
P/BV ราคาหุ้นเทียบส่วนผู้ถือหุ้น หุ้นกลุ่มธนาคารมักใช้วิธีนี้
Dividend ราคาหุ้นมูลค่าปัจจุบันของเงินปันผลในอนาคตทั้งหมด ไว้ใช้ประเมินหุ้นปันผลได้
อย่าดูแค่ “ราคาถูก” แต่ต้องเข้าใจ “ความถูก” นั้นมาจากอะไร และเหมาะกับคุณภาพของกิจการหรือไม่ 💡
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #ประเมินมูลค่าหุ้น #PE #PBV #หุ้นปันผล #เงินปันผล
โฆษณา