17 ก.ค. เวลา 07:13 • ธุรกิจ

The Ghost Radio ในมุมธุรกิจ ตอนนี้รายได้ทั้งเครือ หลัก 100 ล้าน

- ใครจะคิดว่า “รายการผี” จะกลายเป็นธุรกิจจริงจัง แถมธุรกิจนี้มีรายได้รวมกันทั้งเครือ หลัก 100 ล้านบาท
แต่นี่คือมุมธุรกิจ ของ The Ghost Radio รายการผีชื่อดังในไทย
1
The Ghost Radio ในมุมธุรกิจ น่าสนใจอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้อ่านกัน..
ผลประกอบการเครือ The Ghost Radio ปี 2567 ที่ผ่านมา
- บริษัท เดอะ โกสท์ เรดิโอ จำกัด
ธุรกิจจัดรายการวิทยุ The Ghost Radio ที่มีผู้ติดตามบนช่อง YouTube 6.96 ล้านผู้ติดตาม
รายได้ 79 ล้านบาท กำไร 18 ล้านบาท
2
สำหรับโมเดลรายได้หลัก ของ The Ghost Radio
รายได้หลัก ๆ ก็น่าจะมาจากค่าสปอนเซอร์สำหรับโฆษณาในรายการ อย่างเช่น สปอตก่อนเริ่มรายการ ระหว่างรายการ หรือสปอนเซอร์ที่ปรากฏตามคลิปต่าง ๆ ของช่อง
- บริษัท เดอะ โกสท์ สตูดิโอ จำกัด
ธุรกิจผลิตสื่อออนไลน์ The Ghost Studio ที่มีผู้ติดตามบนช่อง YouTube 1.04 ล้านผู้ติดตาม
รายได้ 32 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า เดอะ โกสท์ สตูดิโอ อาจมีรายการรายได้ระหว่างกันกับธุรกิจในเครือ เช่น รับงานจ้างต่อมาจากเครืออีกที
2
- บริษัท เดอะ โกสท์ เฮ้าส์ เบฟเวอเรจ จำกัด
ธุรกิจร้านกาแฟ The Ghost House เป็นธุรกิจคาเฟและร้านกาแฟด้านล่างสำนักงานของ เดอะ โกสท์ เรดิโอ
รายได้ 4.3 ล้านบาท ขาดทุน 0.4 ล้านบาท
จะเห็นว่าทั้ง 3 ธุรกิจในเครือ ปี 2567 มีรายได้รวมกัน 115.3 ล้านบาท
ส่วนกำไร รวมกันได้ 32.6 ล้านบาท
แล้ว The Ghost Radio ในมุมธุรกิจ น่าสนใจอย่างไร ? มาลองวิเคราะห์กันดู
- กลยุทธ์ที่ 1 : เจาะตลาดดูเหมือนจะ Niche แต่ทำให้ Mass
หลายคนอาจมองว่า The Ghost Radio เจาะตลาดเล่าเรื่องผี ซึ่งเป็น Niche Market ที่จำกัดเฉพาะกลุ่มคนชอบเรื่องผี เรื่องลี้ลับ โดยเฉพาะ
แต่หากมองให้ลึกลงไป เสน่ห์ของเรื่องผี เรื่องลี้ลับ คือการเล่นกับความสงสัย คาดเดายาก และเล่นกับความกลัว ซึ่งเป็นอารมณ์กลัว ที่เป็นจุดร่วมของทุกคน
ทำให้เราจะเห็นว่า ไม่ว่ากี่ปี ๆ เรื่องผีเรื่องลี้ลับ ก็มักจะได้รับความสนใจอยู่เสมอ
และทำให้ตลาดนี้ มุมหนึ่งก็มองว่าเป็นตลาดเฉพาะทาง หรือ Niche Market
แต่อีกมุมหนึ่ง ก็สามารถทำให้กลายเป็นเรื่อง Mass ที่จับคนจำนวนมากได้เหมือนกัน
1
- กลยุทธ์ที่ 2 : คอนเทนต์ที่ไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมด เพราะใช้พลัง UGC
UGC หรือ User-Generated Content หมายถึง เนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าของแบรนด์ เป็นคนสร้างขึ้น
โดยรูปแบบรายการของ The Ghost Radio คือจะมี 2 ตัวละครหลัก ๆ คือ พี่แจ็ค ที่เป็นพิธีกรดำเนินรายการ และคนที่โทรเข้ามาเล่าเรื่อง
โมเดลนี้ ทำให้รายการไม่ต้องคอยคิดคอนเทนต์เอง ที่เหลือคือพี่แจ็คมีหน้าที่คอยกำกับดูแลรายการ ให้ราบรื่นและได้อรรถรสมากที่สุด
3
และยิ่ง The Ghost Radio มีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งมีคนฟังเยอะ ก็ยิ่งดึงดูดนักเล่าที่มีเรื่องดี ๆ เล่าเก่ง ๆ อยากโทรมาเล่ามากขึ้น ทำให้รายการมีคอนเทนต์ใหม่ ๆ เข้ามาในรายการไม่มีหมด
2
พอเรื่องเล่าในช่องมีเยอะ สะสมมาเรื่อย ๆ มีเรื่องดี ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ คนฟัง ก็ฟังจนติดรายการ
ซึ่งในมุมธุรกิจ เรียกว่าเป็นการมีป้อมปราการ หรือ “Moat” ที่แข็งแกร่ง ที่เป็นแต้มต่อให้คู่แข่งเข้ามาแข่งได้ยากขึ้นนั่นเอง
- กลยุทธ์ที่ 3 : ต่อยอดแบรนด์ใหม่ ภายใต้ Ecosystem เดิม ในเรื่องที่ตัวเองถนัด
เมื่อแบรนด์หลักอย่าง The Ghost Radio แข็งแรงมากพอ ก็เริ่มขยายพื้นที่ ไปยังธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ที่เห็นก็เช่น
- ธุรกิจรับผลิตสื่อออนไลน์ The Ghost Studio เช่น หนังสั้นเดอะโกสท์
1
- ร้านกาแฟธีมผี The Ghost House
นอกจากนั้นยังมีการต่อยอดไปทำสินค้าหรือร่วมกับแบรนด์อื่น ๆ เช่น
- จำหน่ายสินค้าที่ระลึก ผ่านแบรนด์ตัวเอง เช่น เสื้อ The Ghost Run 2025, กระเป๋าผ้า The Ghost Tote Bag
- คอลแลบและทำสินค้ากับแบรนด์อื่น
เช่น แก้วเก็บความเย็น Stanley x The Ghost Radio, เสื้อยืดวินเทจ 7th Street x The Ghost Radio
1
- คอลแลบรายการกับช่องอื่น
เช่น รายการสถานีผีดุ Thairath Studio x The Ghost Radio
หรือรายการอังคารคลุมโปง x The Ghost Radio
1
- จัดกิจกรรมออฟไลน์ เช่น The Ghost Halloween ที่เป็นการเปิดบ้านผีสิง 3 หลัง ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องเล่าจริงของ The Ghost Radio
และ The Ghost Run วิ่งสู้ผี ที่เป็นงานวิ่งมาราธอน ของเหล่าชาวแก๊ง The Ghoster
ทั้งหมดนี้ ทำให้ The Ghost Radio ตอนนี้ กลายมาเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ทั้งเครือ ได้ในระดับ 100 ล้านบาท ไปแล้ว..
Reference
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โฆษณา