Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MONEY LAB
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
23 ก.ค. เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ดัชนีตลาดหุ้นไทย 30 ปี ไม่ไปไหน แต่คนรวยสุดในตลาดหุ้นไทยรวยขึ้น 10 เท่า
ถ้าใครมีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป น่าจะเคยผ่านยุคโชติช่วงชัชวาลที่สุดของเศรษฐกิจไทยกันมาแล้ว บรรยากาศในตอนนั้นเต็มไปด้วยความฝัน และความหวังว่า ไทยกำลังจะกลายเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย
แต่แล้วความฝันที่ว่ากลับไม่เคยเกิดขึ้นจริง..
ที่น่าเศร้าไปยิ่งกว่านั้นคือ จากสังคมที่เต็มไปด้วยความหวัง ตอนนี้คงไม่มีใครกล้าแม้แต่ฝันว่า ไทยจะกลายเป็นเสือของเอเชียได้อีก
เดือนธันวาคม ปี 2537 SET Index ปิดที่ 1,360 จุด
เดือนธันวาคม ปี 2567 SET Index ปิดที่ 1,400 จุด
30 ปีผ่านไป ตลาดหุ้นไทยแทบไม่ขยับไปไหนเลย
อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงรู้สึกหดหู่ใจไม่น้อย ถ้าแบบนั้น เราลองมาอ่านเรื่องดี ๆ กันบ้างดีกว่า
ปี 2537 เป็นปีแรกที่วารสารการเงินธนาคาร จัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทย ปีนั้นเราได้คุณอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย ด้วยมูลค่าหุ้นที่ถือครองมากกว่า 21,680 ล้านบาท
ปี 2567 บัลลังก์แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยถูกเปลี่ยนเป็นของคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี เจ้าของกัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ ด้วยมูลค่าหุ้นที่ถือครองมากกว่า 240,000 ล้านบาท
ถึงแม้แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยจะเปลี่ยนหน้าไปเป็นคนละคนจากเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่จะเห็นได้ว่ามูลค่าหุ้นที่ถือครองโดยคนที่รวยที่สุดเพิ่มมากขึ้นถึง 10 เท่า
หลายคนน่าจะสงสัยแล้วว่า เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทำไมถึงเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ ?
MONEY LAB ขอต้อนรับเพื่อน ๆ เข้าสู่ ซีรีส์บทความ “Money Wheels” ท่องไปในกงล้อประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ผ่านตลาดหุ้น
- ปี 2537 ถึงปี 2539 ยุคสมัยแห่งความหวังของไทย ยุคทองของธุรกิจอสังหาฯ และโทรคมนาคม
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยในปี 2537 คือ คุณอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่อย่างบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ด้วยมูลค่าหุ้นที่ถือครองอยู่ที่ 21,680 ล้านบาท
ส่วนอันดับ 2 ในปีเดียวกัน ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นคุณทักษิณ ชินวัตร เจ้าของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
3
เจ้าของเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ AIS และดาวเทียมไทยคม ที่ปัจจุบันกลายสภาพเป็น INTUCH ด้วยมูลค่าหุ้นที่ถือครองอยู่ที่ 19,485 ล้านบาท
2
คนในยุคนั้น คงไม่มีทางนึกภาพออกเลยว่า มหาเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 2 คนนี้ จะกลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ และการเมืองไทย ในช่วงเวลา 30 ปีต่อจากนี้ อย่างที่ไม่เคยมีนักธุรกิจไทยคนไหนเคยเป็นมาก่อน
2
ความร่ำรวยของ 2 นักธุรกิจ ที่มาจากอสังหาฯ และโทรคมนาคม ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะบริบททางสังคม และเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
5
ซึ่งนักธุรกิจทั้ง 2 คนนี้สามารถเกาะคลื่นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในไทยได้พอดิบพอดี
1
คลื่นความเปลี่ยนแปลงแรก คือ การขยายตัวของชนชั้นกลางในไทย และการขยายตัวของการอยู่อาศัยแบบสังคมเมือง
6
เศรษฐกิจไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรม ไปสู่สังคมอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ตั้งแต่การค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เมื่อปี 2524 อันเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในไทย
3
1
รวมถึงการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่นมาไทย หลังการทำสัญญา Plaza Accord ในปี 2528 นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็ผุดขึ้นทั่วประเทศ ตั้งแต่ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ และอยุธยา
2
ทำให้เกิดคลื่นแรงงานอพยพจากภาคการเกษตรในต่างจังหวัด ไหลเข้าสู่เมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม
2
เมื่อคนไทยมีค่าแรงที่สูงขึ้น และต้องเข้ามากระจุกตัวตามแหล่งงานในเมืองใหญ่ ความต้องการที่อยู่อาศัยแบบหมู่บ้านจัดสรรจึงเพิ่มมากขึ้น
4
และคนที่ได้รับประโยชน์จากคลื่นความเปลี่ยนแปลงนี้ไปเต็ม ๆ ก็คือ คุณอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทผู้พัฒนาหมู่บ้านจัดสรรรายใหญ่ในยุคนั้นอย่าง แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ นั่นเอง
1
คลื่นความเปลี่ยนแปลงลูกที่ 2 คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร อย่างโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นโทรศัพท์แบบพกพาขนาดเล็ก
ใครที่อายุน้อยกว่า 30 ปีคงไม่เคยมีประสบการณ์ยืนรอพี่น้องใช้โทรศัพท์บ้านคุยกับแฟนกัน รู้ไหมว่าหลายบ้านถึงกับทะเลาะกันเพราะสมาชิกในบ้านใช้โทรศัพท์กันนานก็มี
2
1
แต่การเข้ามาของโทรศัพท์มือถือขนาดพกพา ทำให้ทุกคนเริ่มมีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง บางคนถึงขั้นมีโทรศัพท์ 2 เครื่อง เพื่อใช้ส่วนตัว 1 เครื่อง และติดต่อธุรกิจอีก 1 เครื่อง
3
เมื่อโทรศัพท์มือถือเริ่มเป็นที่นิยม ธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์นี้ก็คงหนีไม่พ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ AIS
ไม่เพียงแต่คุณทักษิณ ที่ได้รับอานิสงส์จากคลื่นความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นเท่านั้น
2
แต่คุณอดิศัย โพธารามิก ผู้ก่อตั้งบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ให้คำปรึกษา และรับจ้างวางระบบโทรคมนาคม ก็กลายเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยในปีต่อมา ด้วยมูลค่าหุ้นที่ถือครองสูงถึง 38,979 ล้านบาท
1
ส่วนปี 2539 แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย กลับมาเป็นของตระกูลชินวัตร คือคุณพจมาน ชินวัตร (นามสกุลในยุคนั้น) ภรรยาของคุณทักษิณ ที่รับโอนหุ้นมาจากสามี ด้วยมูลค่าหุ้นที่ถือครองอยู่ที่ 18,945 ล้านบาท
2
- ปี 2540 วิกฤติต้มยำกุ้ง ตามมาด้วยฟองสบู่อสังหาฯ ของไทยที่แตกออก
1
ด้วยภาวะความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ ผู้คนจึงมองหาสิ่งบันเทิง เพื่อหลีกหนีโลกความเป็นจริงที่โหดร้าย
2
แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยในปีนี้ เลยตกเป็นของอากู๋ ไพบูลย์ หรือคุณไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม จากการนำค่ายเพลงแกรมมี่เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ถือครองอยู่ที่ 8,239 ล้านบาท
2
ขณะที่มูลค่าหุ้นของอดีตแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยหลายราย หายวับไปกับฟองสบู่ที่แตกไป
3
- ปี 2541 ถึงปี 2555 เจ้าพ่อธุรกิจอสังหาฯ และโทรคมนาคม กลับมาทวงบัลลังก์อีกครั้ง
1
ถึงแม้เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้งอย่างหนัก จนแทบไม่เหลือความหวังว่าจะกลายเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชียได้อีกต่อไป
1
แต่การขยายตัวของสังคมเมือง โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตที่เริ่มเป็นที่นิยมในสังคมไทยก็ยังดำเนินต่อไป
ทำให้ในช่วงเวลานี้ นักธุรกิจอสังหาฯ อย่างคุณอนันต์ อัศวโภคิน และคุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ เจ้าของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) บริษัทอสังหาฯ รายใหญ่อีกแห่งของไทย ต่างสลับกันขึ้นมาเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยกันอย่างสูสี
และที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย คือตระกูลชินวัตร ที่นำโดยคุณทักษิณ ชินวัตร หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจ
เขาก็เริ่มเบนความสนใจมาที่การเมือง จนประสบความสำเร็จเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัย ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปี 2549
หุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น ที่ถือครองโดยคุณทักษิณ ถูกโอนไปให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวของเขา
ทำให้ในช่วงเวลานี้สมาชิกตระกูลชินวัตร จึงเป็นอีกกลุ่มที่สลับกันขึ้นมาเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย แข่งกับนักธุรกิจอสังหาฯ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญที่สั่นสะเทือนวงการธุรกิจและตลาดทุน หรืออาจจะสั่นสะเทือนไปถึงวงการการเมืองไปด้วยก็มาถึง
เมื่อตระกูลชินวัตร ตัดสินใจขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น ให้กับกลุ่มเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ ในปี 2549 ด้วยมูลค่าสูงถึง 73,271 ล้านบาท นับว่าเป็นดีลการซื้อขายกิจการที่แพงที่สุดในตลาดหุ้นไทยในตอนนั้น
7
1
และในปีเดียวกันนั้นเอง รัฐบาลของคุณทักษิณ ชินวัตร โดนรัฐประหาร และต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศนานกว่า 17 ปี
2
พอตระกูลชินวัตรขายหุ้นธุรกิจโทรคมนาคมไปหมดแล้ว บัลลังก์เศรษฐีหุ้นไทย จึงกลายเป็นเวทีระหว่างคุณอนันต์ อัศวโภคิน และคุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ 2 นักธุรกิจอสังหาฯ ได้ผลัดกันขึ้นมาเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย
- ปี 2556 ถึงปี 2561 ยุคทองของธุรกิจการแพทย์ไทย
บัลลังก์เศรษฐีหุ้นไทยตกเป็นของนักธุรกิจอสังหาฯ ได้ไม่นาน ก็มาถึงยุคของคุณหมอนักธุรกิจเจ้าของเครือข่ายโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในไทย อย่างนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของเครือโรงพยาบาล BDMS
4
โดยความสำเร็จของหมอปราเสริฐค่อนข้างต่างออกไปจากนักธุรกิจรายอื่น ๆ เพราะเกิดจากการใช้เครื่องมือทางการเงิน และตลาดทุนให้เป็นประโยชน์ในการขยายอาณาจักรธุรกิจ ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นในคราวเดียวกัน
1
เห็นได้จากหนึ่งในดีลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของหมอปราเสริฐ อย่างการควบรวมกิจการระหว่างกลุ่มโรงพยาบาลพญาไทของคุณวิชัย ทองแตง และกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพของหมอปราเสริฐในปี 2554
1
สิ่งที่ทำให้ดีลนี้น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ หมอปราเสริฐไม่ได้กู้เงิน หรือใช้เงินสดที่มีอยู่มาควบรวมกิจการ แต่ใช้วิธีการออกหุ้นใหม่ให้กับคุณวิชัย ทองแตง
2
คุณวิชัย เลยกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
1
และอานิสงส์ของดีลนี้ก็สร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายไล่ตั้งแต่..
1
คุณวิชัย จากเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 297 หลังดีลนี้ก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น จนกลายมาเป็นเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 4 ในปี 2554
2
ส่วนเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ หรือ BDMS ในปัจจุบัน ก็มีโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็น 27 แห่ง จากเดิม 19 แห่ง และจำนวนเตียงไว้รองรับคนไข้ ก็เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าทันที หลังการควบรวมเสร็จสิ้น
1
แถมอัตรากำไรที่ในปี 2553 อยู่ที่ 9.6% พอมาปี 2555 ก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 17.3% ด้วยประสิทธิภาพจากการบริหารโรงพยาบาลแบบเครือข่าย
1
ซึ่งเครือ BDMS ใหญ่มาก จนครั้งหนึ่งเคยเป็นเครือข่ายโรงพยาบาลที่มีมูลค่าบริษัทมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกเลยทีเดียว
2
และผู้ที่ได้รับประโยชน์จากดีลนี้มากที่สุดก็คือ หมอปราเสริฐ ที่ครองแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2556 ถึงปี 2561 โดยในปี 2561 มีมูลค่าหุ้นที่ถือครองคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 77,129 ล้านบาท
3
- ปี 2562 ถึงปี 2567 GULF อาณาจักรที่เพิ่งสร้าง
ใครจะไปคิดว่าหมอปราเสริฐ จะถูกโค่นบัลลังก์แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย โดยนักธุรกิจที่แทบไม่เคยมีใครรู้จักชื่อของเขามาก่อน
เขาคือ คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ก่อตั้งบริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ ผู้นำธุรกิจพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานรายใหญ่ของไทย
2
1
จากการที่คุณสารัชถ์ นำ GULF เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเมื่อปลายปี 2560 ในตอนนั้น GULF ยังทำแค่ธุรกิจโรงไฟฟ้าอยู่
2
ที่น่าสนใจก็คือ ย้อนกลับไปช่วงต้นบทความ ที่เราบอกว่าปี 2537 เป็นปีแรกที่มีการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทย ตอนนั้นคุณสารัชถ์อายุเพียง 29 ปีเท่านั้น
1
ก็ไม่แน่ใจว่าคุณสารัชถ์เห็นการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทย จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะก่อตั้งธุรกิจเป็นของตัวเองหรือไม่
เพราะคุณสารัชถ์ในวัย 29 ปี คือตอนที่เขาเริ่มก่อตั้งอาณาจักร GULF ขึ้นมา
ไม่น่าเชื่อว่าผ่านมาเกือบ 30 ปี ชายหนุ่มอายุ 29 ปีคนนั้น จะกลายมาเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย ที่ถือครองหุ้นมูลค่ากว่าหลักแสนล้านบาท ซึ่งมูลค่าระดับนี้ยังไม่เคยมีแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยคนไหนเคยครอบครองมาก่อน
3
ที่บอกว่า GULF เป็นอาณาจักรที่เพิ่งสร้าง ก็เพราะว่าหลังจากที่ GULF จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นแล้ว
บริษัทแห่งนี้ก็ยังไม่หยุดที่จะขยายอาณาจักรธุรกิจของตัวเองออกไปในน่านน้ำใหม่ ที่ตัวเองไม่เคยเข้าไปทำธุรกิจมาก่อน
1
ดีลที่ฮือฮาในวงการตลาดทุนก็คือ ดีลการควบรวมระหว่าง GULF และ INTUCH การรวมกันระหว่างธุรกิจโรงไฟฟ้า และธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีรายได้มั่นคงทั้งคู่
ทำให้เสมือนว่าคุณสารัชถ์ มีเครื่องจักรผลิตเงินสด 2 เครื่องอยู่ในมือ
นอกจากนี้ในโลกยุค AI สิ่งที่ AI ต้องการมากที่สุดก็คือไฟฟ้า และข้อมูล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็อยู่ในมือของ GULF และ INTUCH
6
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมคุณสารัชถ์ ถึงโค่นแชมป์เก่า ที่หลายคนไม่คิดว่าจะมีใครโค่นได้ และขึ้นเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 6 ปีซ้อน ด้วยมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวมกันมากถึง 240,000 ล้านบาท ในปี 2567
2
จะเห็นได้ว่า ในแต่ละยุคสมัย สิ่งที่เศรษฐีหุ้นไทยทุกคนมีร่วมกันคือ การมองเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศ มีอุตสาหกรรมอะไรเป็นตัวผลักดัน แล้วคว้าโอกาสนั้นไว้
แต่ที่น่ากังวลก็คือในโลกยุคใหม่ที่ AI กำลังจะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจไหนที่ไม่ได้ประโยชน์จาก AI อาจจะมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจน้อยลง
เมื่อหันไปมองในตลาดหุ้นไทย กลับมีแต่ธุรกิจที่เป็นโลกยุคเก่า ทั้งอสังหาฯ โรงพยาบาล ร้านอาหาร ธนาคาร ค้าปลีก ที่ล้วนพึ่งพาการบริโภคของประชากร
ในโลกที่ประชากรเกิดน้อยลง สวนทางกับจำนวน AI ที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจเหล่านี้จะเริ่มมีรายได้ลดลงไปเรื่อย ๆ เราจึงเห็นดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนเลยมา 30 ปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่โลกเปลี่ยนไปเร็วขึ้นทุกวันแบบนี้ ก็ไม่มีใครรู้ว่าได้ในอนาคต ธุรกิจของเศรษฐีหุ้นไทยในยุคต่อไปจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะสุดท้ายแล้ว การเปลี่ยนแปลงย่อมต้องเกิดขึ้นเสมอ
1
ก็ไม่แน่เหมือนกันว่า นักธุรกิจคนไหนในช่วงวัย 30 ปี ที่กำลังนั่งอ่านบทความนี้อยู่ อาจจะกลายเป็นเศรษฐีหุ้นที่รวยที่สุดของตลาดหุ้น ในอีก 30 ปีข้างหน้าก็เป็นได้..
1
#ลงทุน
#เศรษฐกิจไทย
#MoneyWheels
3
References
-
https://www.tcijthai.com/news/2014/25/watch/4449-https://www.bangkokbiznews.com/blogs/finance/stock/1163866
-
http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/69/02012002-04-24t03.pdf
-
https://www.investopedia.com/terms/p/plaza-accord.asp
-
https://www.finnomena.com/monkey-money/how-to-trade-with-jas/
-
https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1074589
-
https://www.longtunman.com/50374
-
https://www.longtunman.com/41923
-
https://www.longtunman.com/46228
-วารสารการเงินธนาคาร
หุ้น
การลงทุน
46 บันทึก
60
7
53
46
60
7
53
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย