21 ก.ค. เวลา 14:08 • หนังสือ

3 หลักคิดของอัจฉริยะ Edward O. Thorp

ชายผู้เอาชนะทั้งเวกัสและวอลสตรีตด้วย “สมการคณิตศาสตร์” จากหนังสือ A Man For All Markets
ว่ากันว่าปัจจุบันโลกของการลงทุน ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม
- กลุ่มแรก นักเศรษฐศาสตร์ ที่มักล้มเหลวซ้ำๆ หรือรวยจากค่าธรรมเนียม ไม่ใช่การเก็งกำไรจริง เช่น Long-Term Capital Management ที่นักเศรษฐศาสตร์การเงินระดับโลกต่างล้มละลายยับเยินในปี 1998
- กลุ่มสอง นักเก็งกำไรที่เข้าใจข้อมูลและเทรดเดอร์ที่ใช้โมเดลวิทยาศาสตร์ เช่น เรย์ ดาลิโอ, พอล ทูดอร์ โจนส์ หรือ Goldman Sachs
และในกลุ่มที่สองนี้เองทุกคนในที่นี้อยู่รอดได้เพราะกำลังลงทุนโดยใช้แนวทางที่ “เอ็ดเวิร์ด ธอร์ป” บุกเบิกขึ้นมาไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
[ เอ็ดเวิร์ด ธอร์ป หนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่รวยด้วยตัวเลข ]
Edward O. Thorp (เอ็ดเวิร์ด ธอร์ป) คือหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โลกไม่มีวันลืม ผลงานและทฤษฎีของเขายังคงถูกนำมาใช้สร้างผลตอบแทนจนถึงทุกวันนี้
สิ่งที่ธอร์ปศึกษาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเรียบง่ายแต่ใช้ได้จริง เช่น “สมการสร้างกลยุทธ์ผลตอบแทนทบต้นโดยไม่หวั่นความผันผวนของตลาด” ซึ่งเริ่มต้นจากการวางแผนปิดความเสี่ยงทางการเงิน และหาวิธีเอาชนะวอลสตรีท เขาทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึง 19.1% ต่อเนื่องเกือบ 20 ปี ล่วงหน้าคาดการณ์สูตร Black-Scholes ได้ก่อนใคร มองออกว่านักต้มตุ๋นที่โลกยังไม่รู้จักคือเบอร์นาร์ด เมย์ดอฟฟ์ ที่สร้างความเสียหายหลายหมื่นล้านดอลลาร์
นัสซม นิโคลัส ทาเลบ (Nassim Nicholas Taleb ตำนานเทรดเดอร์ ทฤษฎีหงส์ดำ Black Swan) กล่าวถึงธอร์ปไว้ว่า “เขาคือนักคณิตศาสตร์ยุคใหม่คนแรกที่นำศาสตร์นี้มาใช้ลงทุนได้สำเร็จและเป็นคนแรกที่รวยจากการทำแบบนั้นด้วย”
เหตุเพราะ เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ยุคแรกๆ ที่ใช้ทฤษฎีคณิตศาสตร์ในการลงทุนและวัดความเสี่ยงจนประสบความสำเร็จ และสำคัญกว่านั้น เขาคือหนึ่งในไม่กี่คนที่ “รวย” จริงจากสิ่งที่คิดค้นขึ้นมาเอง
[ 🔥 3 หลักคิดของอัจฉริยะ ผู้เอาชนะทั้งเวกัสและวอลสตรีท ]
หนังสือ A Man For All Markets ถ่ายทอดชีวิตและแนวคิดของเอ็ดเวิร์ด โธร์ป ชายผู้เอาชนะทั้งเวกัสและวอลสตรีท ตั้งแต่การเติบโตท่ามกลางวิกฤติ Great Depression และสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานการณ์ชีวิตหล่อหลอมให้เขาเป็นคนที่ “คิดเอง ทำเอง” ใช้เหตุผล วางแผนอย่างเป็นระบบ และรู้จักรอคอยจนกว่าจะมี หลักฐานเพียงพอ
นี่คือ 3 สิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้
✅1. มองหา Edge ที่ชัดเจน และเปลี่ยนมันเป็นเงินจริง
ในหลักคิดของเขา คือเขาจะมองหา Edges หรือข้อได้เปรียบที่ชัดเจนที่จะทำให้เขามีโอกาสชนะในระยะยาว โดยข้อได้เปรียบที่เขามองหาจะต้องเห็นได้ชัดและไม่ซับซ้อน และเปลี่ยนข้อได้เปรียบนั้นให้กลายเป็นเงินในบัญชี อาหาร ทริปท่องเที่ยวและของขวัญ
เช่น ธอร์ปไม่เชื่อเรื่อง “ดวง” เขาสังเกตว่าแบล็คแจ็คต่างจากรูเล็ต เพราะเล่นด้วยสำรับจำกัด ไพ่ที่ออกไปแล้วเปลี่ยนความน่าจะเป็นของไพ่ต่อไปทันที เขาแปลงเกมให้เป็น Markov process ที่สถานะของเกมในแต่ละรอบขึ้นกับอดีตเสมอ เหมือนแนวคิด Bayesian
และต่อยอดมาเป็น Path-dependency หรือ “อดีตกำกับอนาคต” ที่ฟินเทคยุคใหม่นำมาใช้และกลายเป็นคำอธิบายว่าทำไมหลายกองทุนจะล้มเหลวทันทีถ้าลืมไปว่า “ขาดทุนเมื่อวาน” ไม่ได้แยกขาดจาก “วันนี้”
✅2. เดิมพันให้พอดี ไม่น้อยไป ไม่มากไป
เขาจะหยุดเล่นก่อนที่จะถูกจับตาจากคาสิโน หรือตอนเสียไปถึงระดับหนึ่ง เพราะเขามองว่าเกมคือชุดของรอบยาวๆ ที่ผลลัพธ์ในระยะยาวสำคัญกว่าผลในแต่ละช่วง หลักการเดียวกันนี้ใช้ได้ทั้งในคาสิโนและตลาดหุ้น
✅3. ความสำเร็จแท้จริงคือหลุดจากวงล้อหนู
ครั้งหนึ่ง ตอนที่เขาเป็นอาจารย์ที่ MIT ใกล้หมดสัญญา เขาได้รับข้อเสนอให้อยู่ต่อ พร้อมโอกาสเลื่อนเป็นตำแหน่งถาวร แต่เขาปฏิเสธ แม้จะมั่นใจว่าตัวเองมีความสามารถมากพอจะเติบโตในสายวิชาการ แทนที่จะเดินตามเส้นทางดั้งเดิม ร่วมงานกับอาจารย์อาวุโสเพื่อสร้างชื่อเสียง
เขากลับเลือกทุ่มเวลาไปกับการศึกษาแบล็คแจ็ค และพัฒนา “คอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ (wearable computing)” ร่วมกับศาสตราจารย์แชนนอน เพื่อเอาชนะรูเล็ต ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในยุคที่เรื่องเหล่านี้ยังไม่เป็นศาสตร์แขนงใด ไม่มีผู้สนับสนุน ไม่ใช่งานคณิตศาสตร์ที่ “ถูกต้อง” ทำไปก็ไม่ได้มีชื่อเสียง และไม่ได้ช่วยให้อาชีพการงานในมหาวิทยาลัยก้าวหน้า
แต่สามสิบปีต่อมา MIT กลายเป็นผู้นำโลกในการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ และวางรากฐานให้แนวคิดไทม์ไลน์บนอินเทอร์เน็ต โดย Media Lab ยกเครดิตให้เขาและแชนนอนว่าเป็นผู้บุกเบิกเครื่องมือนี้คนแรก
ในช่วงนั้น เขายังเป็นอาจารย์หนุ่มอนาคตไกล มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งแย่งตัว ทั้งมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกที่เสนอเงินเดือนสูงขึ้นจาก 6,600 ดอลลาร์ที่ MIT เป็น 9,000 ดอลลาร์ต่อปี และมหาวิทยาลัยวอชิงตันก็เสนอเลื่อนตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ แต่เขาเลือกนิวเม็กซิโก แม้เพื่อนร่วมงานจะมองว่าเป็นทางเลือกเสี่ยง เพราะที่นั่นเคยถูกมองว่าเป็น “หลุมดำของวงการคณิตศาสตร์”
เหตุผลสำคัญไม่ใช่เรื่องตำแหน่งหรือชื่อเสียง แต่เป็นเพราะการย้ายไปนิวเม็กซิโกทำให้ภรรยา (วิเวียน) และลูกชาย (รอน) ได้อยู่ในสภาพอากาศที่ดีกว่า และใกล้ครอบครัวมากขึ้น
สรุป: นี่คือบางส่วนจากเรื่องในหนังสือ A Man for all Markets ที่ตอนนี้มีแปลภาษาไทยว่า “เทรดเดอร์อัจฉริยะ ผู้เอาชนะเวกัสและวอลสตรีท” (สำนักพิมพ์ Investing) เล่มนี้อัดแน่นไปด้วยอัตชีวประวัติของเอ็ดเวิร์ด โธร์ป ที่อ่านแล้วจะเข้าใจทั้งทฤษฎี วิธีคิด และ mindset ของชายที่เอาชนะได้ทั้งคาสิโนและตลาดหุ้น ด้วยเหตุผลและคณิตศาสตร์
หากคุณกำลังหาหนังสือที่สอนให้คิดอย่างเป็นระบบ กล้าเถียงสิ่งที่คนส่วนใหญ่เชื่อ และรู้จักรอโอกาสที่มี Edge จริงๆ หนังสือเล่มนี้คือคำตอบ
หนังสือ "A Man For All Markets : เทรดเดอร์อัจฉริยะ ผู้เอาชนะเวกัสและวอลสตรีท"
สั่งซื้อได้ที่ https://investing.in.th/product/9786169449393
#aomMONEY #EdwardOThorp #AManForAllMarkets #เทรดเดอร์อัจฉริยะ #INVESTING #เทรดเดอร์อัจฉริยะผู้เอาชนะเวกัสและวอลสตรีท #Invest
โฆษณา