Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Por Nattakorn
•
ติดตาม
22 ก.ค. เวลา 11:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วันนี้ วันหน้า วันซวย หลักคิดการเก็บเงินบนโลกที่ไม่แน่นอน
สรุปความรู้จาก ดร.สันติธาร เสถียรไทย - Dr Santitarn Sathirathai นักยุทธศาสตร์อนาคต ในรายการ NEW GEN INVESTOR EP.63
สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือ Game Changer ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง
ยุคนี้น่าสนใจที่สุด เพราะ Game Changer มีเยอะมาก
1) Demographic - เป็นสิ่งที่ขยับช้ามาก แต่ถึงจุดหนึ่งจะมี Tipping Point ที่เริ่มเห็นผล ซึ่งในประเทศไทยก็เริ่มเห็นได้ชัด จากการที่เศรษฐกิจไทยโตช้าลง เพราะประชากรวัยแรงงานกำลังหดตัว Consumer ตลาดเล็กลง อย่างไรก็ตาม ก็ทำให้ฝั่งเฮลท์แคร์ อาหารสุขภาพ บิวตี้ โตขึ้น
2) ภูมิรัฐศาสตร์ - เป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนโลกไปอีกทิศทาง กว่า 80 ปี ที่การค้าโลกคล่องตัว ประเทศไหนผลิตสิ่งไหนได้ดีก็ไปผลิตที่นั่น แต่ปัจจุบัน สหรัฐบอกไม่เอาแล้ว ขึ้นภาษีอะไรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบนความไม่แน่นอนนี้ก็ทำให้ภูมิภาคอาเซียนโดดเด่นขึ้นมาบนเวทีโลก รวมถึงเอเชียใต้ อย่างอินเดียก็มาแรงเช่นกัน
3) เทคโนโลยี AI - ร้อนแรงอยู่แล้วในช่วงนี้ แต่มันกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากความสนใจเรื่องของโมเดลว่าของใครฉลาดกว่าใคร จะเริ่มขยายไปสู่ Application layer มากขึ้น คือ AI สามารถทำอะไรในด้านไหนได้บ้าง เช่น เฮลต์แคร์ กฎหมาย เพื่อสร้าง Productivity ให้คนได้จริง ๆ
1
4) Sustainability - จากเดิมที่เป็น ESG และ Green Economy แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการที่สหรัฐก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้มากนัก หลายกองทุนก็บอกว่าไม่เน้น Sustain แล้ว แต่ ดร.ต้นสน เชื่อว่าเทรนด์นี้ยังไงก็ยังอยู่ แต่จะเริ่มขยับเป็นธีมใหม่ขึ้นมา
เช่น Climate Adaptation คือ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้สามารถอยู่ได้ในโลกที่อากาศมันแปรปรวน เช่น ยุโรปประสบปัญหาไฟดับ ทำยังไงให้ Grid มันสามารถ resilience, ทำยังไงให้ตึก แม้จะมีฝุ่น มีอากาศร้อนอยู่ข้างนอก แต่ยังสามารถอยู่ได้, ทำยังไงให้เกษตรกรรม ทนทานต่ออากาศที่ไม่เป็นใจ ขาดน้ำ ขาดปัจจัยต่าง ๆ ได้
เทคนิคในการแยกกระแสระยะสั้น กับ เมกะเทรนด์ระยะยาว
ดร.ต้นสนยก Quote นึงที่ชอบ
"The future is already here, but It is not here everywhere"
3
อนาคตมาถึงแล้วแต่ยังไม่ทั่วถึง
แปลว่า ถ้าเรามองไปในโลก เราจะพอมองเห็นว่าอนาคต หน้าตาจะเป็นแบบไหน แล้วเราก็ลองจำลองว่าถ้ามันมาเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือใกล้ตัวเรา มันจะเป็นยังไง
โดยมีเทคนิค ดังนี้
1. มองเทรนด์จากประเทศผู้นำ
ดร.ต้นสน เล่าถึงสมัยที่อยู่บริษัทเทคโนโลยี โมเดลของธุรกิจแพลตฟอร์มในตอนนั้นก็ดูจากจีน เพราะจีนนำเรื่องนี้ ตอนนั้นเรารู้แล้วว่ามันมีโมเดลอเมริกาที่เป็น Computer Laptop Based และก็เห็นจีนที่ทุกอย่างอยู่ใน Mobile หมดเลย ซึ่งเป็นการ Leapfrog ข้ามไป
1
ดร. จึงมองว่า อาเซียนน่าจะออกมาในรูปแบบ Mobile เพราะว่า อัตราการเข้าถึงบัตรเครดิต (Credit Card Penetration) ต่ำ รวมถึงอัตราการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ (PC Penetration) หลายประเทศก็ไม่ค่อยดี แล้วมันก็ทำให้เห็นว่า สิ่งนี้มันมาแน่ จึงได้ลงทุนไปกับสิ่งเหล่านี้จำนวนมาก ซึ่งทำให้จับเทรนด์ได้ถูกเวลาพอดี
2
2. ลอกการบ้านเพื่อน - มองหา Early Adopter หรือคนกลุ่มแรก ๆ ที่ชอบเปิดรับสิ่งใหม่
อาจจะดูในระดับประเทศที่นำเทรนด์โลก เช่น สิงคโปร์ หรือ เพื่อนใกล้ตัวเราก็ได้ เช่น เพื่อนที่บ้าเทค บ้าเอไอ พวกนี้พอรู้แล้วจะมีปัญหาคือ ไม่มีคนคุยด้วย ดังนั้น ถ้าเขาต้องการ Unload ข้อมูล เราก็คุยกับเขา แล้วเราจะได้ข้อมูลเยอะมาก แต่ว่า บางทีเราก็ต้องมาทวนดูอีกทีว่ามันจริงหรือไม่
3. ย้อนมองประวัติศาสตร์
ลองดูไปในอดีตว่าเวลามีสิ่งใหม่เข้ามา มันต้องมี Trigger Point อะไรบางอย่างหรือไม่ ประวัติศาสตร์จึงเป็น Guide ที่ดีมาก ๆ
4. ดูสิ่งที่เป็น Surprised หรือเรื่องราวที่น่าประหลาดใจ
คืออะไรที่ผิดคาด เวลาเราหา Turning Point อะไรบางอย่าง เราจะดูว่ามี Surprised อะไรเกิดขึ้น และเป็นอย่างไร เช่น ถ้าดูระยะสั้น เศรษฐกิจจีน หรือ อเมริกา กำลังจะดีหรือไม่ดี หรือกำลังจะไปทางไหน ให้เราดูเซอไพรส์ ถ้าอยู่ดีๆ มันมีเทรนด์ว่า เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาดหลาย ๆ รอบติดกัน มันอาจจะเป็นสัญญาณแล้วว่า มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างที่นักวิเคราะห์ทุกคนมองไม่เห็น และถ้ามันมองไม่เห็น มันกำลังจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเทรนด์บางอย่าง
ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจไทย ที่ต่ำกว่าคาดมาตลอด โดย ดร.ต้นสน เริ่มเห็นเทรนด์ Growth ที่ลดลง ตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ Credit Suisse (ก่อนเข้า SEA) ซึ่งพอไปเจาะลึก ๆ จึงพบว่ามันเริ่มมีเทรนด์จริง ๆ เช่น โรงงานย้ายไปประเทศอื่น มีการปิดตัว รวมถึงหลายๆ เทรนด์ที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรม และเทรนด์ในวันนั้นก็ลากยาวมาถึงวันนี้
เพราะฉะนั้น เวลาเราเห็นเซอไพรส์ บางทีคนเราจะมีความรู้สึกว่า เดี๋ยวมันก็กลับมาเหมือนเดิม อันนี้คงเพราะอย่างนั้น อย่างนี้ แต่คำถามของ ดร.ต้นสนที่ถามตัวเองคือ มันเป็นเพราะอะไรบางอย่าง หรือเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น เราจึงต้องอ่านภาพนั้นให้ออก
ทักษะสำคัญที่ New Gen ต้องลงทุนในตัวเอง มีอะไรบ้าง
1. ความไม่ยอมแพ้ (Grit) และวินัย (Discipline) รวมไปถึงการมี Resilience เพราะในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องทำอะไรผิดพลาดเยอะมาก ถ้าเราไม่ทำผิดพลาดเลย แปลว่าเราไม่ได้ลองอะไรใหม่เลย ดังนั้น การมีความสามารถในการล้มแล้วลุกไปต่อได้ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ
4
2. ความอ่อนโยน (Kindness) ข้อแรกถ้าทำมากไปเราจะกลายเป็นคนที่เหี้ยมได้ คือไม่เห็นใจอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งข้อนี้จะมาช่วยบาลานซ์ข้อแรกให้เราคิดถึงคนอื่นนอกจากตัวเอง ชุดทักษะในกลุ่มนี้ก็จะมี Empathy ซึ่งก็จะเกี่ยวกับโลกของ AI ที่เทคโนโลยีไปไกลมาก ๆ การมีทักษะมนุษย์อย่าง Empathy จึงสำคัญ ทำให้เราเข้าใจคนอื่น มีเพื่อนฝูง และมี Relationship ที่ดี
1
3. มีความสุข (Happy) เพราะโลกนี้แฮปปี้ยาก ทุกอย่างเปลี่ยนเร็ว ทำให้เราเครียดได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงเป็น Generation ที่ต้องแบกอะไรเยอะมาก เช่น หนี้ พ่อแม่ ความคาดหวัง ซึ่งแฮปปี้จะไปผูกกับอีกทักษะนึงคือ Self Awareness รู้ว่าอะไรทำให้เราไม่แฮปปี้ อะไรทำใหเรามีพลัง เวลาที่ดีที่สุดของตัวเองคือตอนไหน พอเราเข้าใจตัวเอง จะทำให้เราสามารถ Optimized ตัวเองให้เหมาะสมที่สุดได้
1
แล้วเราจะรู้จักตัวเอง เรียนรู้ตัวเองมากขึ้นได้ยังไง
เรามักจะนึกว่า เรารู้จักตัวเอง แต่จริง ๆ อาจไม่ได้รู้ขนาดนั้น และตัวเราที่คิดว่ารู้จักดีก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลาจังหวะชีวิต
ดังนั้น เราต้องคอยอัพเดตตัวเอง ซึ่งวิธีอัพเดตที่ดีที่สุดคือ การลองผิดลองถูก Expose ตัวเองไปกับอะไรใหม่ ๆ ที่ตัวเองไม่เคยทำ แล้วสิ่งที่จะเกิดคือ Dis Comfort ความไม่มั่นใจอะไรต่าง ๆ แต่จุดนั้นจะช่วยเปิดทางให้เรารู้ตัวเองมากขึ้น ดร.ต้นสน บอกว่า มันคือการ "หลงทางเพื่อให้พบพาน" คือเราต้องหลง ถ้าเราไม่หลง เราจะเดินตามแผนที่ที่ถูกเขียนไว้แล้วเหมือนเดิม แต่ถ้าเรายอมหลง เราจะค้นพบว่า เห้ย ที่ตรงนี้ เราไม่เคยรู้เลยว่ามีทางนี้อยู่ด้วย หรือเราทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ได้ด้วย
1
วิธีจัดการเงินให้ชีวิตมีความสุข
แม้เราจะรู้ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกของชีวิต อาจจะเลือกไม่ได้เยอะ แล้วส่วนใหญ่มันก็มาเรื่องเงิน
สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเงิน คือ ซื้อ Freedom ให้เรา
เราอาจจะรู้ว่างานแบบไหนที่เราแฮปปี้ นายแบบไหนที่เราไม่ชอบ แต่เราก็ไม่มีทางเลือก เพราะเราต้องทำงานเพื่อเงิน มันจึงต้องมีเงินมาถึงจุดนึง เราถึงจะเริ่มเลือก และทดลองอะไรใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
สำหรับ ดร.ต้นสนเอง เมื่อมองย้อนกลับไป มีงานที่ไม่ชอบเยอะมาก แต่ทำจนชิน เหมือนหลอกตัวเองว่า แบบนี้เราโอเค จนเหมือนกับมันเป็นตัวตนของเรา
ดร.ต้นสน แนะนำวิธีแบ่งเงินเป็น 3 ก้อน คือ
วันนี้ วันหน้า วันซวย
ก้อนแรก - วันนี้ คือเงินที่เป็นสภาพคล่องสำหรับใช้กินใช้อยู่ ใช้เที่ยววันนี้
ก้อนสอง - วันหน้า คือการลงทุนเพื่ออนาคต สร้างความมั่งคั่ง
ก้อนที่สาม - วันซวย ตัวนี้เป็นเงินที่เรามักไม่ค่อยนึกถึง แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นทีนึง อาจจะ Set Back 2 ตัวแรกได้เลย ดังนั้น เราจึงต้องตระเตรียมเผื่อตรงนี้ไว้ด้วย เช่น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต แล้วก็เงินก้อนเผื่อฉุกเฉิน
การบริหารจัดการเงินสำหรับลงทุนให้งอกเงย
ดร.ต้นสน บอกว่า ส่วนตัวเวลาลงทุน ส่วนใหญ่จะลงในหุ้น Global
และในสมัยเรียน มีอาจารย์ท่านนึงชื่อ Robert C. Merton ที่เคยได้รับรางวัล Nobel ด้าน Finance บอกว่า
"ไม่ว่าคุณจะมั่นใจหุ้นตัวนี้ดีแค่ไหนก็ตาม คุณอย่าลงมันตัวเดียว ให้คุณกระจายการลงทุนอยู่เสมอ"
1
กลยุทธ์ลงทุนแบบ Barbell
คือ การเน้นกระจายการลงทุนไปยังสองขั้วตรงข้าม ด้านนึงคือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมาก ส่วนอีกด้านนึงคือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องน้อยมาก เช่น Private Assets ต่าง ๆ ที่ลงทุนแบบระยะยาว
ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้คือ เมื่อต้องการใช้เงินก็จะมีฝั่งสภาพคล่องสูงเป็นตัวบาลานซ์ ให้เราไม่ไปยุ่งกับอีกฝั่ง ทำให้เงินมันเติบโตได้ต่อเนื่อง
เพราะ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับการลงทุนระยะยาว คือ การถูกบังคับขาย (Forced Sell) โดยอาจจะเกิดขึ้นในตลาด หรือเกิดจากสภาวะของตัวเราเอง เช่น เรารู้ว่าหุ้นตัวนี้อีก 5 ปีจะดีมาก ๆ แต่เผอิญว่า ต้องการใช้เงินด่วน เราจึงขายหุ้นตัวนั้นออกมาก่อน โดยเฉพาะตอนที่มันลงอยู่ แล้วเราต้องขาย อันนี้ถือว่าหนักมาก ๆ ดังนั้น เราจึงต้องมีกองสภาพคล่องเอาไว้เป็นเกราะป้องกันนั่นเอง
ความมั่นคงทางการเงินในมุมมองของ ดร.ต้นสน
1
ถ้ามี 3 ก้อนคือ วันนี้ วันหน้า วันซวยครบ ก็ถือว่ามั่นคงแล้ว แต่มันจะมีอีกเรื่องนึงคือ เรื่องครอบครัว โดยเฉพาะเงินให้ลูก ที่ต้องตกลงกันว่าเราจะให้ลูกแค่ไหน
บางคนอยากให้ลูกสบายมาก มันก็จะต้องใช้เงินที่สูงขึ้น แต่สำหรับ ดร.ต้นสน บอกว่า เขาโชคดีที่ไม่ใช่คนเทสแพง สองคือ สามารถตกลงกับภรรยาได้ว่า จะส่งลูกเรียนแค่ไหน ก็คือ ปริญญาตรี แต่ถ้าลูกอยากเรียนต่อ ให้หาทุนเอง
และไม่ได้อยากให้ลูกสบายเกินไป รวมถึงปริญญาในอนาคต อาจไม่ได้สำคัญเท่าวันนี้
ปัจจุบัน ลูกของ ดร.ต้นสน ยังเล็ก สิ่งที่ทำคือ พยายามสอนลูกให้มีวินัย แต่ยังไม่อยากสอดแทรกเรื่องของเงินให้เขามากนัก เพราะรู้ว่า สุดท้ายแล้วเรื่องเงินมันก็เป็นเรื่องวินัย พอเขามีวินัยกับอะไรบางอย่าง เช่น ด้านกีฬา ด้านดนตรี เขาก็จะเข้าใจว่าวินัย สามารถนำมาใช้กับเรื่องการเงินได้เช่นกัน
New Gen ควรคิดเรื่องงานอย่างไร
ดร.ต้นสน บอกว่า วันก่อนลูกถามว่า งานที่ดีที่สุดในโลกคืออะไร
ซึ่งคำตอบคือ อาชีพที่ดีที่สุด มันไม่เหมือนกันของแต่ละคน และแต่ช่วงชีวิตก็ไม่เหมือนกัน
ถ้าเปรียบเทียบงานกับอาหาร งานสามารถให้เราได้ทั้งความอร่อยและสารอาหาร ในช่วงแรกของชีวิตด้านสารอาหารสำคัญกว่าความอร่อย เช่น ให้เงินเราพอเลี้ยงชีพ, ให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง, ให้เราได้ทดลองทำสิ่งต่าง ๆ กลุ่มนี้ที่ใช้คำว่าสารอาหาร เพราะว่า มันอาจจะไม่อร่อยเลย แต่ก็ต้องกิน ให้เป็นประโยชน์เพื่ออนาคต
1
ซึ่งในช่วงแรก ต้องยอมรับว่าด้านความอร่อย เช่น การได้ทำงานที่รัก การมีเพื่อนที่ทำงานดี เราอาจจะยังไม่มีทางเลือกมากขนาดนั้น รวมไปถึงอาจไม่สามารถเลือกทำงานที่ตรงกับเป้าหมายของเราเป๊ะ ๆ ได้ แต่มันสามารถทำ Path way ได้ว่า งานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน วันนึงมันจะพาเราไปถึงงานที่ตรงกับเป้าหมายของเราได้อย่างไร และสุดท้ายพอเรามีเงินเยอะขึ้น เราก็จะเลือกอาหารที่อร่อยได้มากขึ้น
2
แล้วด้านการจัดสรรเวลาที่ดีควรเป็นอย่างไร
การบริหารเวลา ก็ต้องกลับมาดูว่า อะไรเป็น Asset สำคัญที่เราอยากจะบริหารจัดการ ซึ่ง ดร.ต้นสน คิดว่ามี 3 อย่างในชีวิต ได้แก่
1. เงิน - ใช้เวลาในการหาเงิน สร้างความมั่งคั่ง
2. พลังงาน - เวลาคนเราบอกว่าหมดไฟ บางทีอาจไม่ได้เหนื่อยเพราะงานเยอะ แต่อาจจะเหนื่อยเพราะทำอะไรหลายอย่างที่มันขัดกับตัวเอง หรือทำงานกับคนที่ไม่ใช่มาก ๆ จนเกิด Toxic และทำให้หมดไฟ
มีคำพูดที่ว่า "บางครั้งคุณไม่ได้ขาดเวลา แต่คุณขาดพลังงาน"
3. ความสัมพันธ์ - ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งรู้ว่า เรื่องนี้สำคัญ สุดท้ายแล้ว คนที่สำคัญในชีวิตเราจริง ๆ อาจมีไม่ถึง 10 คน เพราะฉะนั้น ให้เวลาอย่างมีคุณภาพกับคนที่สำคัญ ไม่ใช่แค่อยู่ด้วยกันเฉย ๆ
ระวัง อย่าคิดเรื่องเงินอย่างเดียว จนลืมให้ความสำคัญกับ พลังงาน และความสัมพันธ์ เพราะถ้าสองอย่างหลังพังเมื่อไหร่ ทุกอย่างอาจจะพังหมดเลย
มันจะมีแนวคิดว่า แค่ทำงานหาเงินก็แย่แล้ว เราจะมีเวลาไปบริหาร 2 อย่างหลังได้ยังไง?
ดร.ต้นสน มองว่า เป็นแนวคิดที่ปกติมาก แต่เป็นแนวคิดที่อันตราย เพราะมันเหมือนกับว่า เราต้องหาเงินให้ได้ระดับนึงก่อน เราถึงไปบริหารพลังงาน และความสัมพันธ์ แต่จริง ๆ ถ้าเราบริหารพลังงาน และความสัมพันธ์ได้ดี การทำงานหาเงินก็จะดีตามไปด้วย
หนังสือที่ควรอ่านสำหรับเพิ่มทักษะแห่งอนาคตของ ดร.ต้นสน
หมวดการเงิน
1. หนังสือของ Ray dalio เพื่อให้เราเข้าใจโลกกว้าง ๆ ระดับ Macro ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเงิน
2. Why Nations Fail - เพื่อให้รู้เกี่ยวกับการล่มสลายของธุรกิจและประเทศ
3. Harvard Business Review (HBR) - จะทำให้เราเข้าใจธุรกิจและอุตสาหกรรมเชิงลึก
หมวดหนังสือเพื่อเข้าใจตัวเอง
Thinking fast and slow - เข้าใจวิธีคิดและ Bias ของตัวเอง
สิ่งสำคัญคือ อ่านแล้วอยากให้ลองทำ และคิดเยอะ ๆ ว่าจะนำมาใช้กับตัวเองยังไง จากนั้นหยุด และกลับมาประเมินว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากนั้นกลับไปอ่านใหม่
อ่าน > คิด > ทำ > คิด > อ่านใหม่
ทำให้ลูปนี้เกิดวนซ้ำไปเรื่อย ๆ มันจะเป็นพลังที่ Powerful มาก
อ่านจบแล้วเป็นไงกันบ้าง สำหรับผมตอนนั่งจดไป ฟังไป พบว่า นี่มันของดีเลยนี่นา555 แต่ละข้อคิด แต่ละคำแนะนำมันมีประโยชน์มากจริง ๆ
หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์เหมือนกันนะค้าบบ
ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ กดไลค์ กดแชร์ให้กันด้วยคับ:)
การลงทุน
ธุรกิจ
เทคโนโลยี
56 บันทึก
42
51
56
42
51
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย