เมื่อวาน เวลา 03:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปไทม์ไลน์ 6 ข้อ ดราม่าประกันสุขภาพเพิ่มเบี้ย ที่สะท้อนช่องโหว่ใหญ่ ของระบบประกันสุขภาพ

ประเด็นร้อนในสังคมออนไลน์ตอนนี้ ก็คือการที่มีคนแชร์ว่า ตัวเองโดนบริษัทประกันปรับเบี้ยขึ้นเท่าตัว
และถ้าไม่อยากจ่ายเพิ่ม ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้แบบ Copayment 20%
จนทำให้ล่าสุดทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ต้องเรียกบริษัทประกันที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจง
ซึ่งถ้าหากอยากรู้ว่าเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนมาถึงปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
1. จุดเริ่มต้นของดราม่า
1
มีลูกค้ารายหนึ่งมาแชร์ว่า เคยทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ก่อนยุค Copayment แต่ล่าสุดกลับถูกบริษัทประกันปรับเพิ่มเบี้ย จากประมาณปีละ 30,000 บาทเป็น 84,000 บาท
ถ้าไม่อยากจ่ายเพิ่ม ต้องเปลี่ยนไปใช้แบบ Copayment 20% คือ ร่วมจ่ายค่ารักษาเองทุกครั้ง 20% ที่เข้าโรงพยาบาล
2
และต้องร่วมจ่ายแบบนี้ทุกปี ไม่ใช่เฉพาะปีถัดไปแบบเงื่อนไข Copayment ที่เพิ่งเริ่มใช้ในเดือนมีนาคม
1
เมื่อสอบถามไปทาง Call Center ก็แจ้งว่า เป็นเพราะเป็นเพราะเบิกค่ารักษาพยาบาลเกินเบี้ยประกันที่จ่ายไป
ซึ่งทางลูกค้าก็เล่าว่า ที่เบิกไปนั้นคือการผ่าตัดมดลูกเมื่อปลายปีที่แล้ว ที่มีค่าใช้จ่ายประมาณ 200,000 บาท
จุดนี้ทำให้หลายคนสงสัย ว่าประกันมีสิทธิทำแบบนี้ได้ด้วยหรือ ซึ่งเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ระบบประกันสุขภาพของไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น ค่อนข้างแตกต่างจากในปัจจุบันนี้
1
2. ทำความเข้าใจระบบประกันสุขภาพไทย 3 ยุค
- ยุคที่ 1 ประกันสุขภาพแบบเก่า ก่อนมี New Health Standard
คือกลุ่มที่ทำประกันสุขภาพไว้ ก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564
ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทสามารถเลือกที่จะไม่ต่ออายุและปรับเพิ่มเบี้ยประกัน โดยอ้างว่าขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทได้
2
คนที่อยู่ในยุคนี้ คือกลุ่มที่ เสี่ยงโดนปรับเบี้ยมากที่สุดในปัจจุบัน และกรณีที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนี้เช่นกัน
2
- ยุคที่ 2 ประกันสุขภาพแบบใหม่ ช่วง New Health Standard ก่อนการมาถึงของ Copayment
คือกลุ่มที่ทำประกันสุขภาพไว้หลัง 8 พฤศจิกายน 2564 และก่อนเริ่มใช้ระบบ Copayment ในเดือนมีนาคม 2568
ซึ่งช่วงนี้ถือเป็น “ยุคทองของคนทำประกัน” เพราะบริษัทไม่สามารถยกเลิกหรือปรับเพิ่มเบี้ยได้ตามใจ
1
ถ้าจะปรับเบี้ย ต้องปรับกับทุกคน โดยอ้างอิงจากอายุ หรือแนวโน้มค่ารักษาที่สูงขึ้นจริง
ปัจจุบันใครทำประกันช่วงนี้ ถือว่าได้ความคุ้มครองเต็มที่ และมีมาตรฐานคุ้มครองสิทธิอย่างชัดเจน
2
- ยุคที่ 3 ช่วง Copayment
1
คือกลุ่มที่ทำประกันสุขภาพหลังมีนาคม 2568
โดยช่วงนี้แบบประกันจะระบุชัดเจนตั้งแต่แรกว่า ถ้ามีการเคลมและเข้ารักษาตามเงื่อนไข ในปีถัดไปเราจะต้อง “ร่วมจ่ายค่ารักษา” ด้วยบางส่วน
ซึ่งมีทั้งแบบร่วมจ่าย 20% และ 50% แล้วแต่เงื่อนไข
และจะพิจารณาแบบปีต่อปี ไม่ได้หมายความว่าต้องร่วมจ่ายตลอดไป
และกรณีที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์นั้น ก็คือคนที่ทำประกันในยุคที่ 1 แต่เงื่อนไข Copayment ที่ถูกเสนอนั้น หลายคนมองว่าไม่ใช่แบบใหม่ที่ใช้กันในยุคที่ 3 ที่พิจารณาเป็นปีต่อปี แต่เป็น Copayment 20% ถาวร
3. หลังแชร์ออกไป คนจำนวนมากออกมาเล่าว่า “ตัวเองก็โดน”
1
หลังจากที่เรื่องราวนี้ถูกแชร์ออกไป กลับกลายเป็นว่า มีคนอีกจำนวนมาก ที่กำลังโดนเหตุการณ์แบบเดียวกัน
ทำให้เกิดความแตกตื่น หลายเพจเริ่มแชร์กันมากขึ้นกลายเป็นประเด็นร้อน
คนที่ทำประกันในช่วงเดียวกันที่ยังไม่โดนก็เริ่มกังวลว่า ประกันที่ถืออยู่ สักวันก็อาจจะโดนเพิ่มเบี้ยเหมือนกัน
4. หากเราตกอยู่ในสถานการณ์นั้น เราทำอะไรได้บ้าง?
ทางเลือกที่มีอาจเหลือเพียงไม่กี่ทางเท่านั้น คือ
- ยอมจ่ายเบี้ยเพิ่มอย่างในกรณีที่เป็นประเด็นอยู่ก็คือจาก 30,000 บาทเป็น 84,000 บาท
- ยอมร่วมจ่าย 20% ทุกครั้งที่รักษา
- ยกเลิกแล้วไปทำกับบริษัทอื่น แต่ต้องยอมรับว่าโรคที่เป็นอยู่อาจจะไม่ถูกคุ้มครองในประกันฉบับที่ไปทำกับบริษัทใหม่ด้วย
5. คปภ. เรียกบริษัทประกันเข้าชี้แจง
หลังจากดราม่านี้กลายเป็นประเด็นร้อน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ก็ได้เรียกบริษัทประกันที่เกี่ยวข้องเข้าไปชี้แจง
และให้ดำเนินการจัดทำและนำส่งแผนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2568
1
6. บริษัทประกันออกมาชี้แจงและแก้ไข
ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีประกาศจากทาง คปภ.
ทางบริษัทประกันก็ได้ออกจดหมายชี้แจงเช่นเดียวกัน
1
สรุปง่าย ๆ คือ บริษัทขอยกเลิกจดหมายที่บอกว่าจะปรับเบี้ยเพิ่ม หรือต้องเข้า Copayment ก่อนหน้านี้
1
ส่วนลูกค้าคนไหนที่จ่ายเบี้ยมาแล้ว บริษัทจะปรับเบี้ยและคืนส่วนต่างคืนให้
1
นอกจากนี้บริษัทยังให้สิทธิพิเศษ นั่นคือ ส่วนลดเบี้ยประกันสุขภาพ 10% ในปีต่ออายุหากว่าไม่ได้เคลมเลย
2
ทั้งหมดนี้ก็คือ ภาพรวมของดราม่าครั้งนี้ ที่เริ่มต้นจากผู้บริโภครายหนึ่ง แต่สะท้อนช่องโหว่ที่คนจำนวนมากกำลังเผชิญอยู่
ที่ทำให้ จากประกันสุขภาพ ซึ่งควรจะเป็นเครื่องมือช่วยลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินจำนวนมาก ในวันที่ผู้ซื้อประกันต้องป่วยไข้
แลกกับการจ่ายเบี้ยให้กับบริษัทประกันในวันที่ตัวเองยังคงสุขภาพดีอยู่ หรือที่มักจะเรียกกันว่าเป็นหลักการ “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข”
1
กลับกลายเป็นความทุกข์ใจ ให้กับคนที่ทำประกันสุขภาพแบบเก่า ซึ่งมีความเสี่ยงจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ถ้าหากบริษัทต้องการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
1
ซึ่งการที่ระบบประกันสุขภาพของไทยมีช่องโหว่ใหญ่ ที่สามารถส่งผลกระทบให้กับผู้บริโภคในวงกว้างได้ขนาดนี้
1
ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ทาง คปภ. จะมีมาตรการออกมาแก้ไขอย่างไร..
#วางแผนการเงิน
#ประกัน
#ประกันสุขภาพ
โฆษณา