Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ด.ดล Blog
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
2 ก.พ. 2019 เวลา 02:09 • ธุรกิจ
ประวัติ Jeff Bezos ตอนที่ 9 : Amazon Web Service
แม้ Kindle นั้นจะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญที่ เจฟฟ์ เบซอส ได้สร้างขึ้นมาและพา amazon ขึ้นสู่บริษัทนวัตกรรม แบบเดียวที่ สตีฟ จ๊อบส์ ทำกับ apple ได้สำเร็จ แต่ความพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ amazon จากบริษัทค้าปลีกให้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีนั้น มันยังไม่สำเร็จเสียทีเดียว โครงการใหม่ ๆ เช่น Search Engine อย่าง
A9.com
ล้มเหลวและถูกปิดตัวลงไปหลังจากออนไลน์ได้ไม่นาน โครงการ BlockView โดน StreetView ของ google แซงหน้าไป บริการค้นหาในเล่ม (Search Inside Book) น่าสนใจแต่ไม่สามารถช่วยให้ amazon ผงาดขึ้นมาได้
Jeff Bezos ตอนที่ 9 : Amazon Web Service
ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ เจฟฟ์ และ amazon เจอคือ บรรดาวิศวกรที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกกำลังหนีตาย จากวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มล้าหลังของ amazon แห่กันไปหา google รวมถึง startup เปิดใหม่แห่งอื่นใน ซิลิกอน วัลเลย์ ซึ่งหาก เจฟฟ์ เบซอส ต้องการพิสูจน์ให้โลกรู้ว่าแท้จริงแล้ว amazon เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีอย่างที่เขามักกล่าวอยู่เสมอ เขาต้องอาศัยการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่
ทิม โอไรล์ลี นักเผยแพร่การใช้เว๊บและผู้จัดพิมพ์หนังสือคอมพิวเตอร์ ได้บินมาซีแอตเทิลเพื่อมาพูดคุยกับ เจฟฟ์ เบซอส โดย โอไรล์ลี นั้นได้กล่าวกับ เจฟฟ์ ว่า amazon ทำตัวเหมือนเว๊บปลายทางโดดเดี่ยวและไม่ยอมข้องแวะกับใคร เขาอยากให้ amazon เปิดเผยข้อมูลของ amazon ให้แก่สังคมภายนอก
ทิม โอไรลีย์ ผู้เปิดแนวคิดให้ amazon สร้าง API ให้นักพัฒนาภายนอก
โอไรล์ลี ได้สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า amarank ซึ่งเป็นเครื่องมืออันซับซ้อนมาให้เจฟฟ์ ได้ดู โดยเครื่องมือดังกล่าวนั้นจะทำการเข้าเยี่ยมชมเว๊บไซต์ amazon ทุก ๆ สองสามชั่วโมง และคัดลอกการจัดอันดับหนังสือของสำนักพิมพ์โอไรล์ลีมีเดีย รวมถึงหนังสือของคู่แข่ง แต่มันเป็นกระบวนการที่ช้าอืดอาดมาก เพราะใช้เทคนิคแบบเก่า และรูปแบบการทำงานคล้าย ๆ hack ข้อมูลจากหน้าจอ
amazon.com
โอไรล์ลี แนะนำว่า amazon ควรที่จะพัฒนาชุดเครื่องมือออนไลน์ที่เรียกว่า ส่วนต่อประสานประยุกต์ ( application programming interface) หรือ API เพื่อให้บุคคลภายนอกติดตามข้อมูลเรื่องราคา ผลิตภัณฑ์ และอันดับการขายได้อย่างง่ายดาย
1
เจฟฟ์ เบซอส เริ่มเห็นโอกาสบางอย่างจากการพบกับ โอไรล์ลี ครั้งนี้ เขาคิดถึงเรื่องของความสำคัญของการเป็นแพลตฟอร์ม และการพัฒนา API เพื่อให้คนภายนอกได้ใช้งานเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
เขาจึงสั่งดำเนินการให้ทีมงานสร้า API ชุดใหม่เพื่อให้นักพัฒนาเชื่อต่อเข้าเว๊บ amazon ได้ ซึ่งมันจะทำให้ เว๊บไซต์อื่นสามารถเผยแพร่รายการสินค้าจากแคตตาล็อกของ amazon ได้ รวมถึงแสดงราคา และ คำอธิบายประกอบสินค้าอย่างละเอียด ทั้งยังอนุญาติให้ใช้ระบบชำระเงินและตะกร้าสินค้าของ amazon ได้อีกด้วย
ตัวเจฟฟ์ เบซอส เองนั้นก็ได้ยอมรับหลักคิดใหม่เกี่ยวกับการเปิดกว้างขึ้นของเว๊บ amazon ได้เริ่มมีการจัดประชุมนักพัฒนาครั้งแรกขึ้น และได้เชิญบุคคลภายนอก ที่เดิมเคยคิดจะเจาะเข้ามาระบบของ amazon ให้มาร่วมพัฒนา API กับ amazon เสียเลย ซึ่งมันทำให้นักพัฒนากลายมาเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของ amazon ecosystem และเจฟฟ์ นั้นได้ตั้งชื่อโครงการนี้อย่างเป็นทางการว่า บริการ amazon web service (AWS)
จากแนวคิด API พัฒนาจนกลายมาเป็น Amazon Web Service (AWS)
และมันทำให้ในปัจจุบันนั้น บริการ amazon web service หรือ AWS กลายเป็นธุรกิจขายโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล หรือระบบการคำนวณแบบสมรรถนะสูง มันทำให้บริษัทเกิดใหม่อย่าง Pinterest หรือ Instragram สามารถกำเนิดขึ้นมาได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นไม่สูงมากนัก
หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Netflix ก็ใช้บริการของ amazon เพื่อทำการสตรีมภาพยนต์ส่งให้ลูกค้า และ AWS เองก็จำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำรายได้ในอนาคตของบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ ซึ่งมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของ amazon ที่ไม่ได้พึ่งพาแค่ อีคอมเมิร์ซอีกต่อไป
ให้บริการตั้งแต่บริษัท startup ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix
ต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของ AWS นั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน บริการเว๊บเซอร์วิส ที่เข้าถึงง่าย และราคาไม่แพงของ amazon ช่วยให้เกิดบริษัทตั้งใหม่ด้าน internet อีกเป็นพัน ๆ แห่ง ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งขึ้นมาได้เลยหากไม่มีบริการดังกล่าว
นอกจากนี้ บริการ AWS ของ amazon ยังส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่เช่า super computer ในระบบ cloud ได้ จนนำไปสู่ยุคใหม่แห่งนวัตกรรมแขนงต่าง ๆ เช่น การเงิน น้ำมันและก๊าซ สุขภาพ และวิทยาศาสตร์ มันไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลยที่จะพูดได้ว่า AWS ช่วยฉุดเทคโนโลยีทั้งหมดขึ้นมาหลังจากป่วยเรื้อรังจากยุคดอทคอม และกำหนดนิยามใหม่ของคลื่นลูกถัดไปในเรื่องการประมวลผลระดับองค์กรธุรกิจขึ้นมาใหม่
และการปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอาจเป็นภาพลักษณ์ของ amazon นั่งเอง AWS นั้นขยายขอบข่ายความเป็นสรรพสินค้าออกไปอีก อีกทั้งยิงมีสินค้าอื่นๆ ที่ดูจะแตกต่างออกไปด้วย amazon จึงได้ฉีกหนีคู่แข่งไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็นวอลมาร์ต และบริษัทค้าปลีกที่เป็นคู่แข่งรายอื่น ๆ amazon ได้สร้างเสน่ห์ใหม่ ๆ ให้บริษัทสามารถดึงดูดเหล่าวิศวกรอัจฉริยะให้เข้ามาทำงานได้อีกครั้ง และที่สำคัญหลังผ่านความล้มเหลวและความขมขื่นภายในมานานนับปี ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตอนนี้ amazon ได้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีแล้ว อย่างที่เจฟฟ์ เบซอส นึกฝันอยากให้เป็นเสมอมา
อ่านตอนที่ 10 : From Zero to No. 1 (ตอนจบ)
https://www.blockdit.com/articles/5c55df24be68cd7d326f72ed
Credit แหล่งข้อมูลบทความ
https://www.blockdit.com/articles/5c4df9cb9f33b726ed51028b
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :
facebook.com/tharadhol.blog
Twitter :
twitter.com/tharadhol
Instragram :
instragram.com/tharadhol
Website :
www.tharadhol.com
m.facebook.com
You’re Temporarily Blocked
22 บันทึก
77
20
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Jeff Bezos and the rise of amazon.com
22
77
20
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย