7 มิ.ย. 2019 เวลา 10:05 • ประวัติศาสตร์
อาณาจักร CP ตอนที่ 16
จุดเริ่มต้นธุรกิจโทรคมนาคม ของ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ในนาม "ทรู"
.
ปี 2520 กิจการด้านโทรศัพท์ในประเทศของไทยนั้น อยู่ภายใต้การบริหารและให้บริการโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพียงองค์กรเดียวเท่านั้น
1
ทำให้โทรศัพท์ไม่เป็นที่แพร่หลายในครัวเรือนเท่าที่ควร จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2531 หลังจากประเทศไทยมีการเลือกตั้ง และพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่
และรัฐบาลไทยในขณะนั้นตัดสินใจเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมให้บริษัทและภาคเอกชนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุน เช่น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส
1
ซึ่งสมัยนั้นมีบริษัทปูนซิเมนต์ไทยและเครือเจริญโภคภัณฑ์เท่านั้นที่มีคุณสมบัติในการเข้าร่วมลงทุน
ภายหลังบริษัทปูนซิเมนต์ไทยได้ถอนตัวไป เครือเจริญโภคภัณฑ์สามารถชนะการประมูลบริษัทต่างชาติ และได้รับสิทธิ์ในการบริหารกิจการบริการโทรศัพท์พื้นฐาน
ต่อมาเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ลงทุนในธุรกิจโทรศัพท์และได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นในปี 2533 ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานภายใต้สัญญาร่วมงานและร่วมลงทุนกับบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน)
•ธันวาคม 2536 บริษัทได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในชื่อ บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “TA”
นอกเหนือจากการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และบริการเสริมต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริการโทรศัพท์สาธารณะและบริการโทรศัพท์พื้นฐานแบบพกพา WE PCT ที่ใช้กันเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและใกล้เคียงบางพื้นที่
WE PCT
•ตุลาคม 2544 บริษัทได้เข้าถือหุ้น ในบริษัทกรุงเทพ อินเตอร์เทเลเทค จำกัด (มหาชน) หรือ “BITCO” (ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด) ในอัตราร้อยละ 41.1 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือของเครือเจริญโภคภัณฑ์
บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเทเลคอม เอเชีย กับกลุ่มออเร้นจ์ จากประเทศฝรั่งเศส ในชื่อ ทีเอ ออเร้นจ์
•ปี 2545 ทีเอ ออเร้นจ์ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ
•ปี 2547 กลุ่มออเร้นจ์ได้ถอนทุนออกไปจากประเทศไทย ทางเทเลคอมเอเชียซึ่งเป็นบริษัทแม่ ได้เปลี่ยนชื่อ
เป็นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า “TRUE” และเปลี่ยนชื่อ
ทีเอ ออเร้นจ์ เป็น "ทรูมูฟ"
•ธันวาคม 2553 กลุ่มทรูได้เริ่มให้และขยายบริการ 3G (บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง)
1
•ปี 2554 เปิดตัวแบรนด์ “ทรูมูฟ เอช” อย่างเป็นทางการบนเครือข่ายไร้สายใหม่ 3G+
•มกราคม 2549 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เข้าซื้อหุ้น (ยูบีซี)
(ยูบีซี) เกิดจากการรวมกิจการ ของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี 2 รายใหญ่ในประเทศไทย คือไอบีซี และยูทีวี
บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด (ไอบีซี) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างคุณทักษิณ ชินวัตร กับวิลเลียม ไลล์ มอนซัน นักธุรกิจชาวอเมริกัน เข้ารับสัมปทานระบบบอกรับเป็นสมาชิกธุรกิจโทรทัศน์ อ.ส.ม.ท.
บริษัท ยูนิเวอร์แซล เทเลวิชัน เคเบิล เน็ตเวิร์ก จำกัด (ยูทีวี) เป็นบริษัทในกลุ่มเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชัน (ปัจจุบันคือ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชัน) เข้ารับสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ ระบบบอกรับเป็นสมาชิกจาก อ.ส.ม.ท.
•ปี 2540 เกิดวิกฤตการณ์การเงินทำให้ไอบีซีและยูทีวีต้องหาทางเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด
•พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไอบีซีซื้อกิจการยูทีวี โดยวิธีการแลกหุ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติง คอร์ปอเรชัน จำกัด (ยูบีซี) และออกอากาศด้วยชื่อ"ยูบีซี"อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ 1 ก.ค พ.ศ. 2541
โดยในยุคแรก UBC ออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคม 1 (แต่ปัจจุบันใช้ดาวเทียมไทยคม 5) แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มชินวัตรก็ขายหุ้นยูบีซีทั้งหมด ให้กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทแม่ของเทเลคอมเอเชีย และก็ดำเนินการจดทะเบียน เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อว่า UBC
จากนั้นปี 2549 กลุ่มเอ็มไอเอช (MIH) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชัน รวมเป็นหุ้นร้อยละ 98 ทำให้กลุ่มทรูเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น จึงยุติการซื้อขายหลักทรัพย์ของยูบีซี โดยกลุ่มทรูฯ ประกาศซื้อหุ้นยูบีซี จากผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เหลือ
ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูบีซี-ทรู จำกัด (มหาชน) รวมถึงใช้เครื่องหมายการค้าใหม่คือ ยูบีซี-ทรู
ปี 2550 ยูบีซีเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ทรูวิชั่นส์-ยูบีซี จำกัด (มหาชน)
ปี 2552 เปลี่ยนชื่อเป็น
บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีธุรกิจหลักแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
- ธุรกิจอินเตอร์เน็ต True Online
- ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ True Move H
- ธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (True Visions)
- อื่นๆ เช่น ร้านกาแฟ TrueCoffee
ลุงแมนเชื่อว่าหลายๆท่านที่อยู่ในกรุงเทพฯ คงเคยได้ใช้ โทรศัพท์ PCT ^^
ติดตามตอนต่อไปของอาณาจักร CP
ตอนที่ 17
อ่านบทความ อาณาจักร CP
ย้อนหลัง ตอนที่ 15

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา