16 ส.ค. 2019 เวลา 11:01 • การศึกษา
"ส่วนควบ" ของทรัพย์ ฉบับเข้าใจง่ายๆ
📝 ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
 
☑ ปพพ.มาตรา 144 ว.แรก
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆนะครับ
โดยสภาพแห่งทรัพย์ "น้ำหมึก"ย่อมเป็นส่วนควบของหนังสือ ถ้าไม่มีหมึกที่พิมพ์เป็นตัวอักษร ย่อมไม่ใช่หนังสือ
📝 หลักเกณฑ์ง่ายๆ คือ
 
1. เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น
2. ไม่อาจแยกออกจากกันได้นอกจาก
 
➡ ทำลาย
➡ ทำให้บุบสลาย
➡ เปลี่ยนแปลงรูปทรง / สภาพ
1
"ใบพัด" เป็นส่วนควบของพัดลม ➡ จึงเป็นสาระสำคัญของพัดลม .. พัดลมเมื่อไม่มีใบพัด ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ
"สากกะเบือ" เป็นส่วนควบของครก ➡ โดยจารีตประเพณี .. ถ้ามีแต่ครก ไม่มีสาก แล้วจะเอาอะไรตำ
📝 เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
 
☑ ปพพ.มาตรา 144 ว.ท้าย
 
ให้เข้าใจง่ายๆ คือ
 
🔸ซื้อพัดลมต้อง มีใบพัด ➡ เพราะเป็นส่วนควบ
🔸ซื้อครก ต้องมีสาก ➡ เพราะเป็นส่วนควบ
🔸ซื้อหม้อ ต้องมีฝาหม้อ ➡ เพราะเป็นส่วนควบ
🔸ซื้อรถ ต้องมีล้อ ➡ เพราะเป็นส่วนควบ
🔸ซื้อนาฬิกา ต้องมีเข็ม ➡ เพราะเป็นส่วนควบ
📝 ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
 
☑ ปพพ.มาตรา 145 ว.แรก
"ไม้ยืนต้น" เป็นส่วนควบของที่ดิน
♦♦ ข้อยกเว้นเรื่องส่วนควบ ♦♦
📝 ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
 
☑ ปพพ.มาตรา 145 ว.ท้าย
"ไม้ล้มลุก" และ "ธัญชาติ" ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน
ไม้ล้มลุก เช่น กล้วย ข้าวโพด แตงกวา ฯลฯ
ธัญชาติ เช่น ข้าว เป็นต้น
ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย
 
☑ ปพพ.มาตรา 146
3
ทรัพย์ติดกับที่ดินหรือโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่เป็นส่วนควบ
📝 เช่น เต๊นท์หลังคา บ้านน็อคดาวน์ เครื่องจักรโรงงาน ฯลฯ
📝 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่ง "ผู้มีสิทธิ" ในที่ดินของผู้อื่น ➡ ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้น
📝 คำว่า "ผู้มีสิทธิ" ในมาตรา 146
 
โดยสิทธิที่จะปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่น มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
 
1. สิทธิตามสัญญา
🔹มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ได้
🔹ทำโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้
 
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เช่าที่ผู้อื่นปลูกบ้าน ... บ้านที่เราปลูก จึงไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน เป็นต้น
2. สิทธิในที่ดินของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นทรัพยสิทธิ
 
ตัวอย่าง เช่น อาศัยสิทธิเหนือพื้นดิน สร้างยุ้งฉางลงบนที่ดินที่มีสิทธิ ➡ ยุ้งฉางนั้นจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน และไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน
👆👆 เรื่อง"ส่วนควบ" จะเชื่อมโยงกับเรื่อง "อุปกรณ์" สามารถอ่านเรื่องอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา