12 ส.ค. 2019 เวลา 09:17 • สุขภาพ
จรรยาบรรณ
สิ่งทำควรทำและไม่ควรทำเป็นเรื่องของจิตสำนึก
ภาษาทางการเขาเรียกว่า​ จรรยาบรรณ
ในนี้มีน้องเภสัชจบใหม่ และนิสิต/นักศึกษาเภสัช ไม่น้อย
แอดขอมาเล่าประสบการณ์ การถูกชวนแขวนป้าย และวิธีการปฏิเสธ หากไม่ต้องการจะเป็นเภสัชกรแขวนป้ายให้กับใครค่ะ
#เพื่อเป็นประโยชน์เท่านั้นงดพาดพิงหรือแสดงความคิดเห็นเชิงด่าทอหรือตำหนินะคะ 🙏
...สมัยจบมาใหม่ๆ แอดได้บรรจุรับราชการที่อำเภอใกล้บ้านค่ะ (ใช้ทุนตามสัญญาที่ทำไว้ตั้งแต่เข้าเรียนปี 1 เหมือนแพทย์/ทันตะ แต่เภจะไม่ได้ใช้ทุกคนเพราะตำแหน่งมีจำกัดค่ะ😭)
...การเป็นเภสัชแขวนป้ายคือ การที่เราเอาใบประกอบวิชาชีพที่เราได้มาอย่างยากลำบาก ไปให้กับคนที่จ่ายเงินเรา เพื่ออาศัยใบประกอบเราได้การเปิดร้านยา โดยที่เราอาจไม่ต้องไปที่ร้านเลย หรือเข้าบ้างเป็นครั้งคราว ตามตกลง เพื่อให้ขออนุญาตเปิดร้านขายยาได้ตามกฏหมายค่ะ ซึ่งการทำแบบนี้ เท่ากับว่า เราเปิดโอกาวให้ใครก็ไม่รู้ ใช้ใบอนุญาตของเรา /จ่ายยา ขายยาแทนเรา นั่นแหละค่ะ
...ถูกชวนแขวนป้ายครั้งแรก...จาก#เภสัชกร ที่ทำงานจังหวัดเดียวกัน เพื่อเปิดร้านขายยาสาขาที่ 2 โดยพี่เค้าขอยืมใบและจะให้รายเดือนมากกว่าเกือบเท่านึง ที่โรงพยาบาลรัฐจ่ายให้เรากรณีที่เราไม่เปิดร้านค่ะ ซึ่งได้เพียงเดือนละ 5000 บาทเท่านั้น แลกกับการที่เรา จะไม่เปิดร้าน หรือไปอยู่เวรรพ.เอกชน หรือไปทำงานพาร์มไทม์ ร้านยาค่ะ
ครั้งนี้ ยอมรับว่าตกใจ เพราะเป็นครั้งแรกที่ถูกถามลักษณะนี้ แอดเลยตอบไปว่า แอดมีแผนจะเปิดร้านยาในไม่ช้านี้ เพื่อปฏิเสธแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่นไป...สุดท้าย พี่คนนี้ก็เลิกถามไปเองค่ะ😥
...ถูกชวนแขวนป้ายครั้งที่2 จากแพทย์ท่านนึง เพื่อเปิดร้านยาให้ญาติที่ไม่ใช่เภสัชกร ที่ยื่นข้อเสนอให้ค่าใบในการแขวนป้าย 15000 สูงกว่าที่รพ.จ่าย 3 เท่าเลยไหมล่ะ ครั้งนี้แอดรู้สึกตกใจเป็นอย่างมากเพราะพี่คนนี้ แอดนับถือและเห็นเป็นแบบอย่างในการรักษาผู้ป่วย เห้อ สุดท้าย แอดเลยปฏิเสธไปตรงๆ ว่าแอดไม่ต้องการจะแขวนป้ายจริงๆ เพราะแอดตั้งใจไว้ตั้งแต่ก่อนจะเรียนจบค่ะ ตามคำปฏิญาณตนเข้าสู่วิชาชีพแล้ว😥
...ถูกชวนแขวนป้ายครั้งที่สาม จากเพื่อนสมัยเรียนท่านนึง ซึ่งเป็นคนทำงานในสายวิทย์สุขภาพ โดยยื่นเงื่อนไข เข้าร้านเดือนละ 2-3ครั้ง และให้ค่าเช่าใบ 12000 บาท โดยเขายืนยันจะอยู่ร้านเอง ครั้งนี้ปฏิเสธไปโดยบอกว่าไม่สะดวก เพราะร้านอยู่ไกล 😥
...ถูกชวนแขวนป้ายครั้งที่สี่ จากเภสัช ที่ทำงานจังหวัดเดียวกัน เพื่อเปิดร้านยาสาขาที่ 2 ส่วนค่าตอบแทน ก็สองเท่าของที่รพ.จ่ายให้ ซึ่งก็ปฏิเสธไปว่า จะเปิดร้านเองค่ะ...😥😥😥
...ปัจจุบัน แอดก็ไม่ได้เปิดร้านค่ะ เหตุผลคือ คิดว่าตัวเองน่าจะยังจัดการและบริหารร้านไม่เก่งแน่ๆ และแอดก็ทำสัญญาไม่ทำเวชส่วนตัว (เปิดร้านยา)กับโรงพยาบาลที่แอดทำงานอยู่ค่ะ ก็ได้ค่าสัญญา แค่เดือนละ 5000 ซึ่งออกตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง แต่แอดก็โอเคค่ะ อยู่ได้ ด้วยเงินเดือนรพ.รัฐ...😭😭😭
...ถ้าแอดไปแขวนป้าย แน่นอน แอดได้เงินเพิ่ม สบายๆ แค่เอาใบให้เขาไป จริงมั้ยค่ะ แต่แอดมองว่า นั่นเป็นการเห็นแก่ตัวมากๆ ที่เรายอมให้ใครก็ไม่รู้หยิบยาให้ผู้ป่วย ซึ่งยานั้น อาจเป็นอันตรายต่อเขาแน่ๆ และที่สำคัญ ผิดกฏหมายค่ะ มีโทษถึงเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่ง เภสัชกรทุกคนรู้ดี...
จรรยาบรรณ หรืออุดมการณ์ ถึงมันแปลงเป็นเงินไม่ได้ แต่เราก็รู้อยู่เต็มอกค่ะ ว่าเราทำเพื่ออะไร
#เพราะเกียรติศักดิ์วิชาชีพเภสัชกรรมคือเกียรติแห่งการรับใช้ผู้ป่วยและสาธารณชน
https://www.aol.co.uk/living/2019/06/19/reasons-to-visit-your-pharmacist-rather-than-your-gp/
บทบาทของ #เภสัชกร ร้านยาที่มีต่อประชาชนในประเทศอังกฤษ
1. ให้คำแนะนำและรักษาโรคที่ไม่รุนแรง เช่น โรคติดเชื้อที่ตา ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไอ ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย บางร้านก็จะรับยาจาก NHS ได้ (แบบที่เมืองไทยจะทำในอีกไม่กี่เดือน)
2. ให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่
3. ให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพเมื่อต้องเดินทางต่างประเทศ อาทิเช่น ยาเม็ดป้องกันมาเลเรีย หรือ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบางชนิดก็สามารถทำได้ที่ร้านยา (ในประเทศอังกฤษ)
4. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ฟรี ตามระบบประกันสุขภาพของอังกฤษ (NHS)
5. ให้คำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง (MUR - MEDICINE USE REVIEW) โดยเฉพาะในกลุ่มโรคหอบหืด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน COPD หรือ ในผู้ที่กินยาละลายลิ่มเลือด
6. ให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพในชีวิตประจำวัน (HEALTHY LIVING PHARMACY) อาทิเช่น อาหารเสริม การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย วัดความดันเลือด เช็คค่าน้ำตาลในเลือด
7. ยาคุมฉุกเฉิน (อันนี้อังกฤษช้ากว่าไทย)
ในขณะที่เภสัชกรต่างประเทศสามรถฉีดวัคซีนได้ที่ร้านยา(หลังได้รับการอบรม) มีเภสัชกรประจำห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องICU เภสัชกรต้องเข้าร่วมโค้ดบลูในโรงพยาบาล ซึ่งเกิดเมื่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีภาวะวิกฤต ต้องการยาด่วนซึ่งเภสัชกรต้องแม่นยำทั้งขนาดยาและ drug of choice เรียกว่าหมอใช้เภสัชกรเป็นคนอ้างอิงทั้งขนาดและวิธีการให้ยา (ผมเองตื่นเต้นมากกับโค้ดบลูในตอนเริ่มทำงานในรพ.ที่อเมริกาเพราะไม่คิดว่าต้องรับผิดชอบมากขนาดนี้) ต้องเตรียมยาข้างเตียงคนไข้แบบเร่งด่วน และอีกหลายหน้าที่
ทั้งหมดล้วนกระแสตอบรับที่ดีทั้งจากเพื่อนร่วมงานในองค์กร และผู้รับบริการ หลักเดียวเลยครับคือที่ไหนมียา......ที่นั่นเภสัชกรต้องเข้าไปดูแล
ห้องฉุกเฉินเอาเภสัชกรไปซักประวัติการใช้ยาคนไข้ ทำ Medication reconciliation (ขณะที่ไทยเป็นหน้าที่พยาบาล ซึ่งมีปัญหาเพราะได้รายละเอียดไม่ครบเนื่องจากพยาบาลต้องทำงานเอกสารและหัตการอื่นๆอีกมากมาย) จุดนี้ทำให้การคัดกรองผู้ป่วยมีประสิทธิภาพที่ดี ทราบปัญหาการใช้ยา และ/หรือพบ drug interactions ที่อาจเกิดขึ้น เป็นที่ปรึกษาแพทย์ในการเลือกใช้ยา เตรียมยาฉุกเฉิน
ห้องICU ก็มีเภสัชกรเพื่อทำการตรวจสอบยาที่คนไข้สมควรได้รับ อันไหนเกินจำเป็นก็เอาออก อันไหนขาดก็บอกแพทย์ คนไข้วิกฤตมีแพทย์ดูแลหลายคนเกิดการได้รับยาซ้ำซ้อนจำนวนมาก พอมีเภสัชกรเข้าไปอุบัติการณ์ก็เกิดน้อยลง คนไข้ได้รับยาที่ดีมีประสิทธิภาพ องค์กรก็ใช้งบสิ้นเปลืองน้อยลงเพราะมีการใช้ยาที่เหมาะสม
ที่แชร์ประสบการณ์และข้อมูลก็เพื่อให้เภสัชกรกลับมาดูบทบาทของตนและทราบถึงศักยภาพที่เภสัชกรสามารถทำได้และสมควรทำ ที่อเมริการเขาทำมาเกือบ 20 ปีแล้วครับ แต่ประเทศไทยจุดยืนของเภสัชกรกลับดูเหมือนจะถดถอยลง ทั้งที่จริงๆแล้วเภสัชกรไทยทำงานหลากหลายมาก คนในวิชาชีพมักพูดตรงกันว่าเหมือนปิดทองฐานพระ เพราะทำเยอะ แต่ไม่มีใครทราบ!!! ทำ Pharm D เหมือนอเมริกาแต่รายได้และการยอมรับยังนับว่าอีกไกล
190911
บทความอื่น
Your Pharmacist: A Partner for Good Health
ไปร้านยาถามหาเภสัชกร
การซักประวัติ
โฆษณา