30 ก.ย. 2022 เวลา 19:25 • สุขภาพ
Hot Issues ไปร้านยา ควรถามหาเภสัชกร !
เรื่องดีๆ ที่เภสัชกรช่วยคุณให้ใช้ยาอย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์
1. เภสัชกรจะบอกชื่อยา
ชื่อยานี้สำคัญมากครับ หลายครั้งที่ผู้ป่วยจำลักษณะเม็ดยาและสี แต่ไม่ทราบชื่อยา โปรดจดจำชื่อสามัญทางยา กับชื่อทางการค้า เช่น Tylenol เป็นชื่อทางการค้า ส่วนชื่อสามัญทางยาคือ paracetamol
2. เภสัชกรจะบอกถึงความจำเป็นที่ต้องกินยานี้
ข้อนี้ต้องถามตัวเองเสมอว่า มีความจำเป็นไหม เพราะยาก็คือสารเคมีที่อาจจะทำให้เกิดพิษได้
3. เภสัชกรจะบอกว่ายานี้มันจะช่วยแก้อาการได้อย่างไร?
ผู้บริโภคควรเข้าใจการทำงานของยาเบื้องต้นว่ามันช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งควรศึกษาข้อมูลจากฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม
4. เภสัชกรจะถามว่าเคยเกิดอาการแพ้ยาหรือสารเคมีอื่นที่เป็นองค์ประกอบในยาหรือไม่?
ผู้บริโภคต้องแจ้งผู้ประกอบวิชาชีพทุกครั้งว่าแพ้ยาอะไรบ้าง นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่จะแพ้ยาตัวอื่นในกลุ่มยาเดียวกัน ที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกัน ซึ่งผู้ใช้ยาก็ต้องระมัดระวังการใช้ยา ทั้งยาตัวที่แพ้โดยตรง และยาตัวอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดการแพ้ยาเหล่านี้ด้วยเสมอ นอกจากนี้ บางคนอาจจะแพ้สารเคมีบางอย่างที่เป็นองค์ประกอบในยา เพราะในเม็ดยา หรือยารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้มีเฉพาะตัวยาสำคัญเท่านั้น ยังมีสารเคมีอื่นๆ ที่ช่วยทำให้ยาเป็นรูปเป็นร่าง มีความคงตัว และมีสีและกลิ่นที่น่ากิน
5. เภสัชกรจะบอกว่าต้องกินปริมาณเท่าไหร่?
ยาชนิดเดียวกันอาจมีหลายขนาด ผู้บริโภคต้องทราบปริมาณที่ต้องใช้ หากเป็นยาสามัญประจำบ้านก็ต้องอ่านที่ฉลากยา และกินในปริมาณที่แนะนำ
6. เภสัชกรจะบอกว่าต้องกินแค่ไหน วันละกี่ครั้ง?
การกินยาเป็นการนำส่งโมเลกุลยาผ่านทางเดินอาหาร เพื่อเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้น ปริมาณยาที่เข้าสู่ร่างกายจึงสำคัญ ยาบางประเภทอาจระบุชัดเจนว่าให้กินทุกๆ กี่ชั่วโมง ทั้งนี้ เพื่อให้ระดับยาในเลือดสูงเพียงพอที่จะทำให้เกิดผลการรักษา
7.เภสัชกรจะบอกว่าต้องกินตอนไหนของวัน?
ยาบางตัวจำเป็นต้องกินตอนเช้า ยาบางตัวก็ต้องกินตอนค่ำ ยางบางตัวก็ไม่ได้มีข้อกำหนด กินได้ตลอดวัน ดังนั้น ศึกษาข้อมูลให้ดีครับ
8.เภสัชกรจะบอกว่าควรกินยานี้ตอนท้องว่างหรือกินพร้อมอาหาร?
ยาบางตัวอาจจะดูดซึมได้ดีตอนท้องว่าง อาหารและกรดในทางเดินอาหารอาจทำลาย จึงแนะนำให้กินก่อนมื้ออาหารประมาณ 30 นาที แต่ยาบางตัวควรกินพร้อมอาหาร เพื่อส่งเสริมการดูดซึม หรือลดอาการข้างเคียงบางอย่าง เช่น ยาระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
9. เภสัชกรจะบอกว่าควรเก็บยานี้ไว้ที่ไหนดี?
โดยปกติควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ไม่ควรเก็บในที่ร้อนจัด หรือเอาไว้ในพาหนะ ซึ่งจอดกลางแจ้ง ยาบางกลุ่มอาจจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ทั้งนี้ ควรปรึกษาเภสัชกรสำหรับยากลุ่มพิเศษนี้
10. เภสัชกรจะบอกว่าควรทำอย่างไรถ้าลืมกินยา?
ยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ ที่ใช้ เมื่อมีอาการ ถ้าลืมกินยาก็สามารถกินได้เลยเมื่อนึกขึ้นได้ และหยุดกินยาเมื่ออาการหาย ถ้าลืมกินยาก่อนอาหาร ก็รอให้กระเพาะอาหารว่างก่อน(ประมาณ 2 ชั่วโมง หลังอาหาร) แล้วค่อยกินยา ทั้งนี้ ยาบางประเภท (เช่น ยาคุมกำเนิด) ควรปรึกษาเภสัชกรถามเป็นกรณีไปว่า หากลืมกินยาจะต้องทำอย่างไร
11. เภสัชกรจะบอกว่าควรจะต้องกินยานี้ไปอีกนานแค่ไหน?
ยาที่ระบุว่าให้กินเมื่อมีอาการ สามารถกินยาซ้ำได้ ตามความถี่ที่ระบุไว้ เช่น กินยาทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่ออาการหายแล้วก็สามารถหยุดยาได้ แต่ยาบางประเภท เช่น ยาปฏิชีวนะรักษาอาการติดเชื้อ จำเป็นต้องกินต่อเนื่องเป็นสัปดาห์
12. เภสัชกรจะบอกว่าควรจะสังเกตตัวเองได้อย่างไรว่ายานี้มันทำให้อาการโรคดีขึ้นแล้ว?
ถ้าเป็นยาแก้อาการง่ายๆ กินเมื่อมีอาการ ถ้าอาการมันหายก็คงบ่งบอกว่า ยานี้มันช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ถ้าเป็นยารักษาโรคเรื้อรัง คุณจำเป็นต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ และมาพบแพทย์เพื่อดูผลของยาว่า มันช่วยแก้อาการได้ไหม ผลการตรวจค่าบ่งชี้บางอย่างซึ่งอาจจะมาจากการตรวจเลือด จะเป็นตัวบอกว่า ยาตัวนี้ ในขนาดนี้ ได้ผล หรือต้องปรับขนาดให้สูงขึ้น หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวใหม่
13. เภสัชกรจะบอกว่าผลข้างเคียงของยานี้ที่อาจจะเกิดขึ้นกับมีอะไรบ้าง?
ผลข้างเคียงของยานี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ใช้ยาได้ทุกคน เพราะเป็นอาการที่เกิดจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาตามปกติ เช่น อาจจะง่วงซึม ปากแห้ง เป็นต้น หากเกิดผลข้างเคียงของยาที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถทนได้ ปรับตัวได้ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าอาการรุนแรง และรบกวนการใช้ชีวิตปกติ ก็ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแจ้งแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อค้นหาแนวทางการใช้ยาใหม่
14.เภสัชกรจะบอกว่ายานี้มันจะมีผลต่อการทำงาน การขับรถ หรือกิจกรรมอื่นใดไหม?
ยาแก้แพ้บางกลุ่มทำให้ง่วงซึม จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือขับรถ และระมัดระวังการใช้ในเด็กเป็นพิเศษ
15. เภสัชกรจะบอกว่ายานี้จะเกิดอันตรกิริยา (ยาตีกัน) กับอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาอื่นๆ หรือไม่?
อาหารบางอย่าง เช่น นม อาจจะรบกวนการดูดซึมของยาบางชนิดได้ ยาบางประเภทก็ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาอื่นๆ ที่ต้องกินร่วมกันในห้วงเวลาเดียวกัน อาจจะเกิดภาวะยาตีกัน ซึ่งอาจจะเป็นการเสริมฤทธิ์กันหรือเกิดการต้านฤทธิ์กันก็ได้
ดังนั้นไปร้านยา…ต้องถามหาเภสัชกรนะครับ
"3 ข้อที่ผู้ป่วยควรระลึกถึงเมื่อมีการใช้ยา"
มีคำถามเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านคุณ
ส่วนหนึ่งของรายการ MUPY Alumni Talk Ep.8 เรื่อง "เภสัชกร กับ ความปลอดภัยทางยาของผู้ป่วย" ในวันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 20:00-21:00 น.
สามารถรับชมย้อนหลังได้สองช่องทาง
🔔🔔เสวนาจากผู้นำองค์กรสมาคมวิชาชีพเภสัชกรรมหัวข้อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเภสัชกร after covid-19 pandemic, update tale-pharmacy, การรับยา COVID-19 ที่ร้านยา, ค่าตอบแทนเภสัชกร, GPP และโครงการร้านยาอบอุ่น
#ภก.ธีระ ฉกาจนโรดม นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
#ภก.รศ.(พิเศษ)กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม
#ภก.คมสัน โสตางกูร นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
#ภก.สมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
ผู้ดำเนินการเสวนา โดย เภสัชกรหญิงศศิมา อาจสงคราม
ดราม่าคลิป World Pharmacist Day และ Easter Egg และเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ภายในคลิป 3 นาที
CLIP
.
.
สภาเภสัชกรรมออกโฆษณา "เข้าใจร้านยากันใหม่" ย้ำทุกคำถามอาจช่วยชีวิตคุณได้
25 กันยายน #วันเภสัชกรโลก
.
'
เมื่อลูกค้าคุณป้าที่มีประวัติเเพ้ยา สงสัยการใช้ยามาพบกับ เภสัชสกาย ด้วยความโมโหร้ายอะไรจะเกิดขึ้น ?
เภสัชสกายจะทราบได้อย่างไรว่าเเพ้ยาหรือไม่ ป้าโมโหร้ายจะทำอย่าง ประวัติแพ้ยาสำคัญไฉน
ติดตามต่อได้ใน “GPP in my heart รักนี้เกิดได้ในร้านยา GPP”
EP 4/4 GPP ช่วยลดปัญหาการให้บริการ
.
25 กันยายน #วันเภสัชกรโลก
บทความอื่นๆ
การซักประวัติ
💥
RX
จรรยาบรรณ
Your Pharmacist: A Partner for Good Health
POSTED 2022.01.10
โฆษณา