21 ส.ค. 2019 เวลา 05:33
เอาละครับ ตามสัญญา บทความแรกที่จะมาชี้แจงแถลงไขว่าสารเคมีมีความจำเป็นต่อการเกษตรหรือไม่ ? ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องการเกษตรเกี่ยวกับพืชนะครับ (เรื่องสัตว์รอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาเปิดประเด็นเอาเอง) ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับคนทุกผู้ทุกนามอย่างไม่ต้องสงสัยตราบใดที่เรายังคงบริโภคพืชผักผลไม้เป็นอาหาร 🍀☘🌿🌴🌳🌱
พูดถึงสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรจะมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งหลักๆก็ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชซึ่งก็แยกย่อยลงไปอีกเป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดแมลง และสารป้องกักำจัดโรคพืช ไหนจะยังมีสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชอีกหรือที่เรียกกันง่ายๆว่าฮอร์โมนพืช...นั่นเริ่มเยอะแล้วล่ะสิ 🤔🤔🤔🤔
บทความนี้จะพูดถึงเฉพาะปุ๋ยก่อนละกันเนาะ ผู้อ่านที่น่ารักจะได้ไม่สับสน จะพยายามเขียนให้ย่อยง่ายๆ ไม่ต้องวิชาการมาก ทั้งๆที่มันเป็นงานวิชาการล้วนๆ เวลาเรียนก็มีวิชาเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งต้องเรียนกันเป็นปีๆเลยล่ะคุณเอ๊ย !!!!!
คำว่า "ปุ๋ย" แปลให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชนั่นเอง เปรียบเทียบง่ายๆกับคนที่มีสารอาหารที่จำเป็นอยู่ 5 หมวดหมู่ หรือที่เรียกกันว่า "อาหารหลัก 5 หมู่" ที่เรียนกันมาตั้งแต่สมัยประถมนั่นแหละ เพียงแต่ว่าของคนมีเพียง 5 อย่าง คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ แค่นี้เอง แต่ถ้าขาดอย่างใดอย่างนึงไปก็กลายเป็นคนขาดสารอาหารได้หรือว่าเติบโตได้แต่ไม่เต็มที่นั่นเอง พืชก็เช่นกันแหละฮะท่านผู้ชมเพียงแต่ว่าอาหารของพืชมีมากกว่านั้นเยอะ....ให้ทายครับว่ามีกี่อย่าง....ติ๊กต็อก ติ๊กต็อก ติ๊กต็อก.......หมดเวลา.......งั้นไปดูเฉลยกันเลยฮะ
16 !!!!.... ครับ !!! ท่านอ่านไม่ผิดแน่นอน....ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชมีทั้งหมด 16 ชนิดครัพ้มมมมมม 😮😮😮 และใน 16 ชนิดเนี่ยสามารถแยกย่อยออกไปอีกนะตามปริมาณความต้องการของพืช เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง และจุลธาตุ โดยธาตุหลักพืชก็จะต้องการในปริมาณที่มากหน่อย ธาตุรองก็รองลงมาตามชื่อส่วนจุลธาตุหรือบางคนเรียกธาตุอาหารเสริมก็ต้องการในปริมาณที่น้อยที่สุด (แต่ก็ยังสำคัญเด้อ ขาดไม่ได้คือเก่านั่นล่ะ)
ธาตุหลักก็จะมีอยู่ 6 ชนิดฮะ ได้แก่ คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแทสเซียม แต่ 3 ชนิดแรกพืชสามารถช็อปปิ้งเอาเองได้จากอากาศคือคาร์บอน ส่วนออกซิเจนและไฮโดรเจนก็ได้มาจากนั่นเอง อย่าลืมว่าน้ำมีสูตรโครงสร้างเคมีคือ H2O นะจ๊ะ หมายถึงไฮโดรเจน 2 โมเลกุลมาฟิชเจอร์ริ่งกับออกซิเจน 1 โมเลกุล ผลที่ได้ก็คือน้องน้ำจ้า ส่วนอีก 3 ชนิดคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม พืชต้องไปหามาเองจากแหล่งที่ตัวเติบโตขึ้นมาจ้า พูดง่ายๆก็คือในดินที่หยั่งรากลงไปนั่นแหละ....จบแล้ว สำหรับธาตุอาหารหลัก
เอ้า !!! มาต่อที่ธาตุอาหารรองกันเลย ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันไม่กี่หน่อหรอก แต่ความสำคัญก็ไม่เบาเหมือนกันนะ ถ้าขาดเธอพืชก็แทบจะขาดใจเหมือนกัน 😁😁😁 ซึ่งได้แก่ แมกนีเซียม แคลเซียม และ "ถัน" หรือชื่อเต็มของถันก็คือกำมะถันจร้า 😋😋😋 ส่วนจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมจะมีพวกเยอะกว่าชาวช้านชาวชองเค้าหน่อยแต่เยอะยังไงปริมาณความต้องการก็ยังน้อยนิดเมื่อเทียบกับธาตุหลักและธาตุรอง ได้แก่ โบรอน โมลิบดินั่ม เหล็ก สังกะสี แมงกานีส คลอรีน และค็อปเปอร์หรือทองแดงนั่นเอง...
แล้วธาตุอาหารพืชทั้งหลายเหล่านี้แหละจะมารวมตัวกันเป็นน้อง "ปุ๋ย" เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของพืชต่อไปในภายภาคหน้า โดยน้องปุ๋ยเองเค้า segment ตัวเองออกได้อีก 3 ชนิดเชียวแหละ ส่วนจะมีอะไรบ้างเอาไว้ต่อใน EP หน้าเนาะ..เดี๋ยวจะงงไปกันใหญ่ 😂😂😂
ป.ล. ดูจากชื่อของอาหารพืชแล้ว พอจะได้คำตอบเลาๆหรือยังฮะว่าสารเคมีจำเป็นต่อการเกษตรมั้ย ??? ขนาดน้องน้ำที่เราดื่มกินมาตั้งแต่เกิดยังมีโครงสร้างทางเคมีเลยเนาะ...
สำหรับวันนี้...สวัสดี 😘😍😘😍😘😍
โฆษณา