26 ส.ค. 2019 เวลา 00:39 • การศึกษา
ศัตรูของทุเรียนเล็กและวัชพืช
ในช่วงที่ทุเรียนแตกในอ่อนควรป้องกันกำจัดโรคใบติด โรคใบติด หรือ โรคใบไหม้ (Durian leaf blight) เป็นโรคที่สำคัญในทุเรียนอีกโรคหนึ่ง ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ลักษณะอาการบนใบที่พบ จะมีรอย คล้าย ๆ ถูกนํ้าร้อนลวก สีใบซีด ใบแห้งติดกันด้วยเส้นใยของเชื้อรา จะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุมแผ่ไปตามผิวใบ แล้วลุกลามจนเป็น ทั้งใบ ใบที่ถูกทําลายจะร่วงหล่นไปในที่สุด และทำให้กิ่งนั้นแห้งเหี่ยวตายลง ถ้าเป็นที่ยอดทุเรียน ยอดทุเรียนก็แห้งตายเช่นกัน
หากอ่านแล้วเป็นประโยชน์ช่วยกด "ถูกใจ"หรือ"แชร์" ให้ด้วยนะครับ
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง ก็เป็นอีกหนึ่งศัตรูสำคัญของทุเรียน
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน ทำความเสียหาย ให้กับทุเรียนอย่างมาก ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต เมื่อระบาดมากๆ จะทำให้ใบหงิก งอ และถ้าเพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมาก ใบยังไม่คลี่ออกจะทำให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียนเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราตามบริเวณ ที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา ระยะตัวอ่อนเป็นระยะที่แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายมากที่สุด นอกจากนี้ แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับ ทุเรียนพันธุ์ชะนี หมอนทอง มากที่สุด
ตัวเต็มวัยจะวางไข่เป็นกลุ่มๆ เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช มีลักษณะเป็นตุ่มสีเหลืองหรือน้ำตาล เมื่อฟักเป็นตัวมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ด้านท้ายของลำตัวจะมีปุยยาวสีขาว คล้ายๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า “เพลี้ยไก่แจ้” หรือ “เพลี้ยไก่ฟ้า” เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเป็น ตัวเต็มวัยจะไม่ค่อยบิน นอกจากจะถูกรบกวน แมลงชนิดนี้มีระบาดในท้องที่ซึ่งปลูกทุเรียนทั่วไป และ ระบาดในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน
การทําลายทุเรียน ในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ําเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยูตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ําตาล ทําให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทําให้ใบอ่อนร่วงได้ ในระยะดอกอ่อนและดอกบานจะพบเพลี้ยไฟตามดอก ถ้าดอกบานจะอาศัยอยูตามเกสร กลีบดอก ทําให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ และดอกร่วง ระยะห้างแย้ไหม้-ผลอ่อน จะพบตามซอกหนามทุเรียนทําให้หนามทุเรียนติดกัน เมื่อลูกโตจะเป็นทุเรียนหนามจีบหรือหนามติด ส่งผลให้ราคาตก
การแพร่กระจายและฤดูการระบาดพบการระบาดของเพลี้ยไฟในช่วงที่อากาศร้อน มีแสงแดดจัด ในระยะทุเรียนแตกใบอ่อน ออกดอก และติดผลอ่อน โดยระบาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
เพลี้ยแป้งเป็นแมลงศัตรูที่สาคัญพบระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนในแปลงปลูกทั่วไปโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่งช่อดอกผลอ่อนผลแก่โดยมีมดดำเป็นตัวช่วยคาบพาไปตามส่วนต่างๆของพืชส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็นนอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน (honey dew) ออกมาเป็นเหตุให้ราดำเข้าทาลายซ้ำถ้าเพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนผลเล็กจะทำให้ผลแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตต่อไปแต่ถ้าเป็นทุเรียนผลใหญ่ถึงแม้จะไม่ทำให้เนื้อของทุเรียนเสียหายแต่ก็จะทาให้คุณภาพของผลทุเรียนเสียไปราคาตกและเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค
เพลี้ยแป้งมักจะระบาดทำความเสียหายแก่ผลทุเรียน ตั้งแต่ระยะที่ทุเรียนเริ่มติดผล จนกระทั่งผลโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
เพลี้ยจักจั่นฝอย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่ใต้ใบอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ขอบใบหงิกงอ ขอบใบแห้งกรอบเป็นรอยไหม้ ไม่สามารถผลิตช่อดอกได้
เพลี้ยจักจั่นชนิดนี้เมื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจะทำให้กลีบจำปาร่วงหล่นมากมาย ซึ่งรุนแรงกว่าการทำลายของเพลี้ยจักจั่นมะม่วงมาก ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะมีอาการโค้งงอทางด้านใต้ใบและปลายใบจะแห้งหดสั้น
ใบอ่อนที่ยังไม่ถึงระยะเพสลาดจะร่วงหล่นเสียหายมาก อาการปลายใบจะคล้ายการทำลายของเพลี้ยไฟ แต่ปลายใบที่ถูกทำลายโดย เพลี้ยจักจั่นฝอยจะแห้งและโค้งงอลงทางด้านใต้ใบ นอกจากนี้ช่อดอกที่ถูกทำลายจะหดสั้น และดอกร่วงหล่นได้อีกด้วย พบรุนแรงระหว่างพฤษภาคม – มิถุนายน
หมั่นสังเกตและดูแลรักษาให้ทันท่วงทีโดยการพ่นยากำจัดเชื้อรา เพลี้ยต่างๆ
การควบคุมดูแลวัชพืชภายในสวนนับเป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ในการทำสวนผลไม้
ทุเรียนซึ่งมีระบบรากอาหารอยู่ระดับหน้าดินหากปล่อยให้วัชพืชขึ้นรกรุงรังแล้วจะเป็นการแย่งอาหารแย่งน้ำจากต้นทุเรียนทำให้ทุเรียนได้รับอาหารไม่เต็มที่
การปล่อยให้สวนทุเรียนรกยังเป็นแหล่งอาศัยของโรคต่างๆ ของทุเรียน และแมลง
ยิ่งไปกว่านั้นสวนที่รกอาจมีสัตว์ที่มีพิษเป็นอันตรายต่อเราอีกด้วย
เนื้อหาทั้งหมดนี้เป็นความรู้ที่ได้จาก การศึกษาหนังสือหลากหลายเล่มและประสบการณ์โดยตรงของกระผมเองขอบคุณครับ
หากอ่านแล้วเป็นประโยชน์ช่วยกด "ถูกใจ"หรือ"แชร์" ให้ด้วยนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา