26 ส.ค. 2019 เวลา 14:42 • ประวัติศาสตร์
26 สิงหาคม วันคล้ายวันประสูติ
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี 💛
มิสเตอร์อาเชอร์ กงสุลอังกฤษในขณะนั้นกล่าวถึงการถวายตัวของเจ้าดารารัศมีว่าเป็น “Important step” เนื่องจากพระราชโอรสหรือพระราชธิดาที่ประสูติจะขึ้นเป็น “ Rightful ruler ” ของเมืองเชียงใหม่ และได้รับความเคารพอย่างสูงสุดเนื่องจากเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรีพระองค์หนึ่ง
การเข้ารับราชการฝ่ายในของเจ้าดารารัศมี เริ่มต้นด้วยการโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในพระราชอุปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ให้ประทับที่ “ห้องผักกาด” ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ภายหลังเจ้าดารารัศมีทรงขอพระบรมราชานุญาตสร้างพระตำหนักของพระองค์เอง โดยใช้เงินของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระบิดา)
พระตำหนักของพระองค์เป็นตำหนักขนาดใหญ่ก่ออิฐฉาบปูนสูง 4 ชั้น โดยสร้างแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกภายในตกแต่งด้วยไม้สัก ที่ส่งมาจากเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังโปรดให้นำวัฒนธรรมล้านนาไปใช้หลายประการ
พ.ศ. 2451 พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ต่อมาซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของเจ้าดารารัศมีเสด็จลงมาเฝ้ารัชกาลที่ 5 เจ้าดารารัศมีจึงได้กราบบังคมทูลลากลับไปเยี่ยมพระประยูรญาติเป็นครั้งแรก หลังจากจากมาเป็นเวลา 21 ปี การนี้รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชอิสริยยศขึ้นเป็น “พระราชชายา” ซึ่งเป็นตำแหน่งพิเศษ ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน
.
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงเสด็จไปส่งที่สถานีรถไฟสามเสน พระราชชายาฯ ถวายบังคมลาตามประเพณีล้านนาด้วยการสยายพระเกศาออกเช็ดพระบาทของพระราชสวามี ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพรักอย่างสูงสุด
พระราชชายาฯ ทรงประทับอยู่ ณ นครเชียงใหม่ได้ 6 เดือนเศษ ก็เสด็จนิวัติพระนคร ทรงประทับอยู่ในพระราชวังดุสิต และรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบรมราชสวามีได้เพียง 10 เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
..
นับรวมเวลาที่พระราชชายาฯ ได้ถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาท เป็นเวลา 23 ปีเศษ
และเป็นอีกครั้งเมื่องาน พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านผู้หญิงพัวอนุรักษ์ราชมณเทียร บันทึกเหตุการณ์ที่น่าสนใจในครั้งนั้นไว้ว่า .. “ ที่ตำหนักสมเด็จพระพันวัสสาอยู่ใกล้พระที่นั่งดุสิต เป็นทางผ่านที่จะไปเฝ้าที่พระมหาปราสาท พวกเราเด็กๆ ไม่มีอะไรทำมากนัก จึงหาเวลาดูคนผ่านไปมา มีสิ่งที่ติดตาอยู่จนบัดนี้คือ เห็นพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเปลือยพระเกศาตามประเพณีของชาวเหนือ ปล่อยพระเกศายาวมาจนถึงปลายผ้าซิ่นที่ทรงอยู่ ”
.
การปล่อยผมลักษณะดังกล่าวนั้นเป็นการแสดงความทุกข์โศกอันใหญ่หลวงตามประเพณีล้านนาด้วย
2
ปี พ.ศ. 2457 จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกราบถวายบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จนิวัตินครเชียงใหม่เป็นการถาวร
..
พระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ คุ้มรินแก้ว สิริพระชันษา 60 ปี 3 เดือน 13 วัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
1
ข้อมูลอ้างอิง : วิกีพีเดีย, t_2539 ig , Thecloud , MatichonWeekly
เมื่อเดือนมิถุนา’ ที่ผ่านมา ได้ไปหาลูกค้าที่เชียงใหม่ และอยู่เที่ยวต่อเอง เวลาน้อยโปรแกรมแน่นเอียด
.
4 โมงเย็นยังอยู่ห่างจากเมืองมาก พี่ที่รู้จักคนหนึ่งที่อยู่เชียงใหม่แนะนำว่าให้ไปเที่ยว ‘ วัดป่าดาราภิรมย์ ‘ อยู่แถวแม่ริม ตอนนั้นก็ไม่คิดจะไปเพราะเย็นแล้ว แต่ก็ตัดสินใจขับรถไปเกือบ 1 ชั่วโมง มาถึงตัววัดเดินได้แต่รอบ ๆ เป็นเวลาพระทำวัตรเย็นอยู่ในอุโบสถ เลยขึ้นไปชมภายในอุโบสถไม่ได้
.
.
เป็นการมาที่นี่ครั้งแรกของฉัน เดินไปถึงหอแก้วเห็นประตูยังเปิดอยู่ แค่ก้าวเข้าไปก็รู้สึกบอกไม่ถูก จู่ ๆ น้ำตาไหลเฉยเลย
.
กราบองค์พระด้านในหอแก้วเสร็จแล้ว นั่งเฉย ๆ น้ำตาไหลพราก ๆ ไม่มีปี่มีขลุ่ยราวกับเปิดก๊อก! อยู่คนเดียวในหอแก้วประมาณ 10 นาที ตลอดเวลาคือ น้ำตาไหล ๆ แต่ไม่ได้ร้องไห้สะอึกสะอื้น งงตัวเองมาก!
.
..
กลับมาจากเชียงใหม่ ค้นประวัติอ่านเรื่องของเจ้าดารารัศมีอยู่พักหนึ่งเชียว ..
* ลึก ๆ คิดเองว่า รึฉันอาจจะมีอะไรผูกพันกับท่านมาก่อนหรือเปล่า หรือเคยเป็นข้ารับใช้พระองค์ก่อนหน้านี้! นึกถึงวันที่น้ำตาไหลพราก ๆ ในหอแก้วไม่หยุด ยังขนลุก 😅
(* ขึ้นป้ายเตือนโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน )
.
..
รฉัตร วรรณกุล
26 สิงหา’ 2562

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา