31 ส.ค. 2019 เวลา 13:09 • การศึกษา
สัญญาจ้างนักฟุตบอล เป็นการจ้างแรงงานหรือไม่ ?"
เมื่อพูดถึง เมสซี่ โรนัลโด้ เนย์มาร์ ชื่อเหล่านี้ แม้คนที่ไม่ใช่คอฟุตบอลก็ต้องเคยได้ยินอย่างแน่นอน
Cr. pixabay
เพราะคนเหล่านี้ เป็นนักฟุตบอลระดับโลก มีค่าตัวมหาศาลระดับหลายพันล้านบาท
แล้วทำไม สโมสรต้นสังกัดถึงยอมจ่ายค่าจ้างมหาศาลให้แก่คนเหล่านี้ล่ะ
เรื่องพวกนี้ตอบได้ไม่ยาก เพราะเป็นไปตามหลักอุปสงค์ อุปทาน เมื่อมีความต้องการมาก การตอบสนองก็ยิ่งมากไปด้วยเช่นกัน
นักฟุตบอลพวกนี้ นอกจากผลงานในสนามจะเรียกได้ว่า "ขั้นเทพ" แล้ว สิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาเหล่านี้ ก็สร้างรายได้ให้กับสโมสรต้นสังกัดอย่างเป็นกอบเป็นกำ เรียกได้ว่า "โครตคุ้มค่า" เลยทีเดียว
Cr. pixabay
ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการขายเสื้อฟุตบอล ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ค่าออกทัวร์ตามประเทศต่าง ๆ เรียกได้ว่า ขายได้ทุกอย่าง และทั่วโลกจริง ๆ
จึงไม่แปลกที่ "สัญญา" ของนักฟุตบอลเหล่านี้จะมีค่ามหาศาล
กลับมาที่เมืองไทย
ปัจจุบัน กีฬาในบ้านเรากำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งหลายประเภทก็ได้พัฒนาถึงขั้นมีลีกอาชีพกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเก็ตบอล ซึ่งในบทความนี้แอดมินขอโฟกัสที่ฟุตบอล
หลายสโมสรต่างเสริมความแข็งแกร่ง โดยจ้างผู้เล่นต่างชาติเข้ามาเสริมทัพ เนื่องจากผู้เล่นเหล่านี้บางคน มีประสบการณ์หรือสภาพร่างกายที่แข็งแกร่งกว่านักเตะไทย
Cr. pixabay
แน่นอนค่าตัวก็ต้องสูงตามไปด้วย แม้จะไม่เท่ากับสโมสรใหญ่ ๆ ในต่างประเทศก็ตาม
ส่วนนักฟุตบอลอาชีพที่เป็นคนไทย
ค่าเหนื่อยจะมากหรือน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับ "ฝีเท้า" และ "ชื่อเสียง" ของนักกีฬาคนนั้น ซึ่งหากเป็นนักกีฬาที่มีประสบการณ์ในระดับหนึ่ง ค่าเหนื่อยของนักฟุตบอลเหล่านี้ หากเปรียบเทียบกับพนักงานบริษัท ก็คงเป็นผู้บริหารระดับสูงเลยทีเดียว (xxx,xxx - x,xxx,xxx บาท)
สำหรับสัญญาจ้างนักฟุตบอล
โดยหลัก ๆ แล้วก็คงไม่ต่างจากสัญญาอื่น ๆ ที่จะต้องระบุถึงค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ระยะเวลาการจ้าง และสิ่งที่นักกีฬาต้องทำให้กับสโมสร ฯลฯ
Cr. pixabay
ซึ่งในขณะเซ็นสัญญา คงมีนักกีฬาเพียงไม่กี่คนที่จะศึกษาข้อสัญญา และประเภทของสัญญาอย่างละเอียด เว้นแต่ นักกีฬาคนนั้นจะมีชื่อเสียง มีกำลังทรัพย์มากพอที่จะจ้างเอเยนต์มืออาชีพ ให้คอยดูแลสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้
ทีนี้ พอเกิดข้อโต้แย้งขึ้นมา เช่น ถูกสโมสรบอกเลิกสัญญา หรือถูกลงโทษต่าง ๆ
ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นทันทีเลยว่า นักกีฬาจะสามารถฟ้องให้สโมสรจ่ายเงินค่าชดเชยได้มั้ย หรือการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมรึเปล่า...???
เรามาดูตัวอย่างนี้กันครับ
คดีนี้ นายเทพชัย นักเตะแข้งทอง เจ้าของฉายา "สตั๊ดบินได้" นักฟุตบอลของสโมสรแมวครวญ ยูไนเต็ด ได้เป็นโจทก์ฟ้องสโมสรต้นสังกัดเป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่า...
Cr. pixabay
จำเลยว่าจ้างโจทก์เป็น "นักฟุตบอล" ค่าจ้างสุดท้ายเดือนละ 160,000 บาท จ่ายค่าจ้าง ทุกวันที่ 1 ของเดือน สิ้นสุดสัญญาวันที่ 31 ธันวาคม 2562
ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2562 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ทำความผิด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอบังคับให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้าง ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
จำเลยให้การว่า โจทก์โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คในลักษณะที่ทำให้จำเลยเสียหาย อีกทั้ง
ยังขาดซ้อมซึ่งจำเลยได้ตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้งแล้ว และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษ พิจารณาแล้วเห็นว่า "เรื่องสัญญาจ้างนักฟุตบอล" เป็นสัญญาว่าจ้างให้ฝึกซ้อม ทำการแข่งขัน ตลอดจนการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ฝึกสอน หรือผู้บริหาร โดยมุ่งประสงค์ต่อผลสำเร็จของงานที่รับจ้างก็คือผลการแข่งขัน และนำไปสู่การมีชื่อเสียงของผู้ว่าจ้างอันเป็นเป้าหมายสำคัญ
Cr. pixabay
จึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน แต่เป็นสัญญาทางแพ่งอย่างหนึ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินตามกฎหมายแรงงานในฐานะลูกจ้าง
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง และให้โจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่ต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
(อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 903/2560)
📌 สรุป คดีนี้ศาลท่านเห็นว่า สัญญาจ้างนักฟุตบอลระหว่างเทพชัยกับสโมสร ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน แต่เป็นสัญญาทางแพ่งทั่วไป จึงไม่อาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ (ฟ้องผิดศาลนั่นเอง)
2
แต่เพื่อความยุติธรรม จึงให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาได้ใหม่ ภายใน 60 วัน
1
เกือบไปแล้วนะ... พ่อเทพ
Cr. pixabay
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา