4 ก.ย. 2019 เวลา 09:30 • ธุรกิจ
ภาพรวมของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปีนี้คาดว่าจะเติบโต 6% คิดเป็นมูลค่า 20,000 ล้านบาท ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด แต่ “มาม่า” กลับมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นกว่า 3% ถือเป็นการเติบโตมากที่สุดในรอบ 45 ปี
เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ทำไมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถึงขายดิบขายดีขึ้นมาอย่างน่าตกใจ | สมองไหลจะเล่าให้ฟัง...
ในช่วงครึ่งเเรกของปี 2562 ยอดขายรวมของมาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พุ่งสูงถึง 4,600 ล้านบาท มีการเติบโตถึง 11.6% มากกว่าเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้เพียง 5% เมื่อตอนต้นปี
1
ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของมาม่าขยับเพิ่มขึ้นจาก 49% เป็น 51% ถือเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 45 ปี เพราะปกติเเล้วที่ผ่านมามาม่าทำได้เพียงเเค่พยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาดเดิมเอาไว้ไม่ให้ลดลงเท่านั้น
ซึ่งความสำเร็จนี้เกิดจากการปรับกลยุทธใหม่ของมาม่าที่คิดจะทำสินค้า “พรีเมี่ยม” เพื่อสู้กับ “มาม่าเกาหลี”
เริ่มต้นจากมาม่าเเอบเห็นมาสักระยะหนึ่งเเล้วว่า ผู้บริโภคเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป คือยังนิยมทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่ เเต่เริ่มมองหารสชาติที่เเปลกใหม่มากยิ่งขึ้น ถึงกับยอมจ่ายเงิน 40-100 บาทเพื่อสั่งซื้อ “มาม่าเกาหลี” เพียงเพราะอยากลองรสชาติใหม่ๆ
จึงเป็นคำถามกลับมาที่มาม่าเองว่า “เเล้วทำไมมาม่าถึงไม่ทำเอง” ทั้งที่มาม่าเป็นเเบรนด์ไทย ยังไงก็ต้องเข้าใจรสชาติที่คนไทยชอบมากกว่าเกาหลี
ในที่สุดมาม่าก็ออกสินค้าตัวใหม่ ในชื่อ มาม่า OK” หรือ ออเรียลทัลคิตเชน (Oriental Kitchen) ซึ่งประกอบด้วย 3 รสชาติ คือ รสผัดไข่เค็ม รสฮอตโคเรียน และกุ้งผัดซอสต้มยำ ด้วยความที่รสชาติเผ็ดแซบเเบบไทยๆ แต่ราคาเพียง 15 บาท จึงทำให้ได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างรวดเร็วจนถึงกับขาดตลาด
เเละเพื่อสร้างการเติบโตจากการนำเสนอ “ของใหม่” ให้กับผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “มาม่า” ยังแตกไลน์สินค้าไปยังตลาดใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น โจ๊ก ข้าวต้ม ควบคู่ไปกับการคิดค้น “เมนูใหม่-รสชาติใหม่” ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
เพราะในธุรกิจอาหาร โจทย์สำคัญ คือ เรื่องรสชาติต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นแต่ละเมนูที่ออกวางจำหน่ายต้องผ่านการวิจัยและพัฒนาอย่างดีที่สุด รวมถึงต้องเข้าใจตัวผู้บริโภคอย่างเเท้จริง !!
รู้หรือไม่ว่า ? บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงผู้จัดจำหน่ายมาม่า ส่วนผู้ผลิตที่เเท้จริงคือบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)
รายได้ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2559 รายได้ 22,000 ล้านบาท กำไร 2,900 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 22,000 ล้านบาท กำไร 2,900 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 23,000 ล้านบาท กำไร 3,400 ล้านบาท
ปี 2562 ครึ่งปีเเรก รายได้ 12,000 ล้านบาท กำไร 1,800 ล้านบาท
หากถูกใจบทความนี้ ก็อย่าลืมกดไลค์ กดเเชร์ เเละกดติดตามเพจ "สมองไหล" กันด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ ที่มีมาเสริฟให้คุณทุกวัน
ขอบคุณครับ 🙏
Source
โฆษณา