4 ก.ย. 2019 เวลา 12:59 • ความคิดเห็น
ซีรี่ย์ : ● โลก • จิต ● {ลำดับที่ 03}
ภาพลวงตาโดมิโน สู่การมองมุมกลับ
...
จากบทความที่แล้ว ผมได้เขียนถึงภาพรวมของ ‘การมองโลกในแง่ดี หรือความคิดเชิงบวก’ แบบภาพรวมไปแล้ว
...
บทความสั้นนี้ ผมจะมาเขียนหนึ่งในวิธีทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่ดีได้นั้นก็คือ ‘การมองมุมกลับ’ ครับ
...
ก่อนอื่น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในขณะที่ทุกท่านกำลังบทความนี้ผ่านมือถือหรือแท็บเล็ตอยู่นะครับ เพราะมันง่ายแก่การหมุนกลับหน้าจอนั้นเองครับ
...
ผมอยากให้ทุกท่านลองดูภาพที่ 1 ที่มีชื่อว่า ‘ภาพลวงตาโดมิโน (Domino illusions)’ นี้ครับ และผมขอตั้งคำถามกับท่านว่า “ท่านเห็นจุดนูนทั้งหมดกี่จุดกันเอ่ย?”
...
ภาพที่ 1 ภาพลวงตาโดมิโน : เครดิตภาพ https://oup-arc.com/access/content/sensation-and-perception-5e-student-resources/sensation-and-perception-5e-activity-5-6
ท่านผู้อ่านคงเห็นจุดนูนทั้งหมด 4 จุดเท่ากับที่ผมเห็นใช่ไหมครับ?
...
โอเค...ทีนี้ผมขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านลองย้อนกลับไปดูภาพลวงตาโดมิโนนั้นอีกครั้ง แต่ทีนี้ลองหมุนกลับหัวมือถือหรือแท็บเล็ตของตัวเองดูครับ (อย่าลืมตั้งล็อคภาพหน้าจอกันด้วยนะครับ ฮ่าๆ)
...
เครดิตภาพ : https://www.techmoblog.com/chilli-k118-fidget-spinner-phone/
คราวนี้ท่านเห็นจุดนูนทั้งหมดกี่จุดกันเอ่ย?
...
ติ๊กต๊อก…
...
ติ๊กต๊อก..
...
ติ๊กต๊อก.
...
ติ๊กต๊อก
คราวนี้จุดนูนกลับเพิ่มขึ้นเป็น 5 จุดแล้วใช่ไหมครับ
...
ทำไมเราถึงเห็นเป็นแบบนั้นล่ะ?...เบื้องต้นนี้ผมขออธิบายตามหลักจิตวิทยาให้ฟังครับ
...
จิลเลียน บัตเลอร์ นักจิตวิทยาคลินิกจากศูนย์บำบัดด้านการรู้คิดออกซ์ฟอร์ด และเฟรดา แม็กมานัส นักจิตวิทยาคลินิกเชิงที่ปรึกษา อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บำบัดด้านการรู้คิดออกซ์ฟอร์ด ได้ให้คำตอบไว้ดังนี้ครับ “สมมติฐานหลักในกรณีนี้มีพื้นฐานเชิงวิวัฒนาการหลายล้านปีที่ผ่านมา เรา (มนุษย์) ได้พัฒนาแนวโน้มที่จะเรียนรู้ว่าแหล่งกำเนิดแสง (ดวงอาทิตย์) มาจากด้านบน ดังนั้นวัตถุที่นูนจะสว่างด้านบนและมืดด้านล่าง ส่วนวัตถุที่เว้าก็จะตรงกันข้าม...ซึ่งสมองของเราจะตัดสินสิ่งที่เราเห็น พอๆ กับดวงตาของเราเอง” (ผู้อ่านจะลองเลื่อนกลับขึ้นไปสังเกตดูภาพลวงตาโดมิโนอีกครั้งก็ได้ครับ ว่าสิ่งที่อาจารย์ทั้ง 2 ท่านพูดเป็นความจริงไหม)
...
ซึ่งภาพลวงตาโดมิโนนี้ ได้สอนเราว่า ‘เพียงแค่เราลองเปลี่ยนมุมมอง ภาพที่เราเห็นก่อนหน้านี้อาจเปลี่ยนไปจากเดิมก็ได้’ เปรียบดั่งภาพลวงตาโดมิโนนี้ ที่ทีแรกเรารู้สึกว่าปัญหาที่เราเผชิญอยู่นั้น มันดูหนักหนาจังเพราะมันมีรอยเว้าตั้ง 5 รอยแน่ะ (ระดับของปัญหา ผมขอเปรียบเป็นจำนวนรอยเว้านะครับ) แต่เมื่อเราลองเปลี่ยนมุมมองมัน รอยเว้ามันกลับลดลงเหลือ 4 รอยเท่านั้น แม้จะลดลงไปไม่มาก เเต่อย่างน้อยๆ มันก็ดูเบาลงกว่าทีแรก ซึ่งมันก็เพียงพอที่จะทำให้เรามีแรงก้าวไปข้างหน้ามากขึ้นใช่ไหมล่ะครับ
...
เพื่อไม่ให้เกิดการมองความจริงเพียงด้านเดียวที่อาจทำให้เรารู้สึกเหนื่อยหรือท้อถอย การมองมุมกลับนั้นไม่ใช่เรื่องของคนโลกสวย แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อให้เรามีแรงพอในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า การปรับเปลี่ยนมุมมองเพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ หรือกล้าที่จะพุ่งชนกับปัญหา เมื่อเราได้มองปัญหานั้นในมุมใหม่ๆ
...
⏯ ทำไมภาระงานของเราดูเยอะกว่าคนอื่นจัง? ---> มองมุมกลับโดยเลือกที่จะมองว่านี้เป็น “โอกาส” ในการเรียนรู้ : งานเราหลากหลายอย่างนี้ เท่ากับเราได้มีโอกาสเรียนรู้งานที่หลากหลายมากขึ้น ประสบการณ์จะมีมากกว่าคนอื่น ทำงานได้คล่องและแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนที่รับภาระงานเพียงแค่ด้านสองด้าน...สุดท้ายคนที่ได้คือตัวเราเอง
...
⏯ ฉันจะทำได้ไหมเนี่ย? ---> มองมุมกลับโดยเลือกเปลี่ยนจากความท้อให้เป็นพลัง : ทำไมฉันจะทำไม่ได้ แต่ขอเวลาเรียนรู้ก่อนนะ มาลองดูกันสักตั้ง
...
เห็นไหมครับ...แค่มองมุมกลับ คุณก็สามารถสร้างหนึ่งในฟันเฟื่องของการมองโลกในแง่ดีสำหรับเสริมพลังในการขับเคลื่อนชีวิตไปข้างหน้าได้แล้ว แต่ก็อย่าลืมมองมุมกลับให้ไม่หนีข้อเท็จจริงมากเกินไปกันด้วยนะครับ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ ‘ภาพลวงตาเชิงบวก’ ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้
...
สุดท้ายนี้ ผมท่องอินเตอร์เน็ตแล้วไปเจอภาพๆ หนึ่ง ที่ดูแล้วช่างน่าทึ่งและขอชูฮกให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์ภาพนี้จริงๆ ภาพนี้เป็นของบริษัทรถยนต์ Jeep (จิ๊ป) ที่มีชื่อผลงานว่า “Upside Down” โดยศิลปิน Leo Burnett France
...
ภาพ Upside Down : เครดิตภาพ https://sabaijainote.wordpress.com/2015/03/13/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A1/
ภาพที่ท่านผู้อ่านจะมองเห็นคือ ภาพแรกเห็นเป็นรูปศรีษะของช้าง ภาพที่สองเป็นศรีษะของยีราฟ ภาพสุดท้ายเป็นภาพศรีษะของกวาง ซึ่งผมเชื่อว่าเราทุกคนเห็นเป็นแบบนี้แน่นอน
...
ทีนี้เหมือนเดิมครับ ผมขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านลองหมุนกลับหัวมือถือหรือแท็บเล็ตของตัวเองดูครับ แค่ท่านลองเปลี่ยนมุมมอง...คราวนี้ท่านผู้อ่านเห็นเป็นภาพอะไรกันบ้าง ช่วยบอกผมหน่อยนะครับ ^_^
...
บรรณานุกรม
จิลเลียน บัตเลอร์, เฟรดา แม็กมานัส. (2558). จิตวิทยา ความรู้ฉบับพกพา. แปลจาก Psychology : A Very Introduction. แปลโดย ณัฐสุดา เต้พันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openworlds.
กรุงเทพประกันชีวิต. (25 มิถุนายน 2561). แค่คิดมุมใหม่ มองมุมกลับ ชีวิตก็มีความสุข. สืบค้นจาก https://www.bangkoklife.com/HappyLifeClub/th/SukRobDan/detail/5
โฆษณา