ญี่ปุ่น และห่าน 4 ตัวแห่งเอเชีย
จากเหตุการณ์ Plaza Accord ในปี ค.ศ. 1985 (2528) และค่าเงินเยนที่แข็งค่า ทำให้บริษัทญี่ปุ่นต้องปรับตัว ย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศ ASEAN4 ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ว่าที่จริงแล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทจากญี่ปุ่นลงทุนนอกประเทศ โดยในช่วงปี 1970 นั้น กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs4) ได้บินตามประเทศญี่ปุ่นที่เป็นจ่าฝูงกันไปแล้ว ประเทศใน NIEs4 ได้แก่ สิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง
โดยหลังจากปี 1985 ค่าเงินของประเทศในกลุ่ม ASEAN4 ได้อ่อนค่าลง อีกทั้งค่าแรงที่ต่ำและโอกาสการขยายตลาดของญี่ปุ่นมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ตลาดแรงงานก็ยังเอื้ออำนวย ยกตัวอย่างประเทศไทย ในปี 1987-2005 (พ.ศ. 2530-2539) มีประชากรวัย 15-19 ปีที่เป็นเพศชายมีอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานร้อยละ 62 และหญิงร้อยละ 61 ขณะที่ใน ปี 2014 ชายวัย 15-19 ปีเพียงร้อยละ 26 เข้าสู่ตลาดแรงงาน และหญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานเพียงร้อยละ 13
ซึ่งการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากต่างประเทศ ก็ทำให้ไทยได้รับประโยชน์เต็มที่ โดย GDP ไทยช่วงนั้นเติบโตสูงมาก ระดับ 10% ต่อปี และการส่งออกเติบโตระดับ 20% ต่อปี โดยสมัยรัฐบาลของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มีการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจ “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” จนมีคำกล่าวที่ว่า ไทย จะเป็น “เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย” จนมีการบรรจุเข้าในตำราเรียนท่องจำกันใหญ่ เห่อกันมาก
1
ที่มา: Venngage
เทียบฟอร์ม GDP ต่อหัว ของ ASEAN4
ช่วงก่อนปี 1990
ล่าสุด
แต่แล้วเหตุการณ์คล้ายๆ ประเทศญี่ปุ่น ก็เกิดขึ้นที่กลุ่มประเทศ ASEAN4 โดยมีไทยเป็นหัวหอก อย่างที่หลายๆ คนทราบก็คือเหตุการณ์วิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ในปี ค.ศ.1997 เป็นบทสรุปของช่วง ASEAN Miracle ที่การย้ายเงินทุนจากญี่ปุ่นมายังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเติบโตอย่างรวดเร็ว และฟองสบู่แตก ด้วยการกู้เงินที่เกินตัว และการเกร็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ เรื่องราวต่อมาก็อย่างที่พวกเราน่าจะทราบกันดี...
1
ที่มา: Faculty of Economics CMU, TDRI, Worldbank,
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า" ได้หลายช่องทาง
✌️Blockdit (อ่านสนุกกว่า): https://www.blockdit.com/pages/5cf403f48a04c80fff7950bb
👌Line openchat (พูดคุยแลกเปลี่ยน ระหว่างผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก): https://line.me/ti/g2/hxcbVyO45-1yxNkh-vKf1g
👌Line openchat (พูดคุยแลกเปลี่ยน ระหว่างผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก): https://line.me/ti/g2/hxcbVyO45-1yxNkh-vKf1g

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา