5 ต.ค. 2019 เวลา 10:59 • ประวัติศาสตร์
การเขียนเเบบ "เรื่องเล่า" สร้างพลังได้มากกว่า !!
1
นับตั้งเเต่วันเเรกที่ผมเริ่มเขียน Blockdit จนถึงวันนี้ก็มากกว่าครึ่งปี ซึ่งก็เขียนไปเเล้วมากกว่า 100 บทความ
ตลอดเส้นทางการเขียนของผมนั้นก็มีทั้งบทความไม่มีใครสนใจเลยไปจนถึงบทความที่ผู้อ่านชอบสุดๆ จนยอด Engagement ถล่มทลาย
เเละผมก็ค้นพบว่าบทความที่ผู้อ่านชอบมากที่สุด มียอดไลค์ยอดเเชร์มากที่สุด ก็คือ บทความที่เป็น “เรื่องเล่า”
ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การติดกระจกทำให้ลิฟท์เร็วขึ้น” ที่มีสถิติคนกดไลค์มากที่สุดของเพจสมองไหลถึง 1,700 คน หรือจะเป็นบทความในซีรีย์ “เรื่องเล่าจากเเดน...อาทิตย์อุทัย” ก็มียอดกดไลค์เฉลี่ย 800-1,000 คนเช่นกัน
ซึ่งทุกเรื่องที่กล่าวมาล้วนเป็น “เรื่องเล่า”ทั้งสิ้น เเละ “เรื่องเล่า” ก็มักจะสร้างพลังได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ
เพราะจริงๆเเล้ว คนเรามักลืมตัวเลขเเละสถิติ เเต่ถ้าเป็นเรื่องเล่าดีๆ มันจะติดอยู่ในสมองไม่มีวันถูกลืมเลือน
ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้รับการพิสูจน์ในงานวิจัยจำนวนมาก เพราะงานวิจัยพบว่าสมองของคนเราชอบเรื่องเล่า และยังพบด้วยว่าสิ่งที่คนมักจดจำได้ดีที่สุดก็คือเรื่องเล่า เช่นกัน
แต่การจะเล่าเรื่องให้คนอยากติดตามหรือสนใจนั้นไม่ใช่การเล่าไปเรื่อยๆ เเต่มันมีวิธีของมันอยู่
ผมจึงรวบรวมหลักการและเทคนิคที่ผมชอบใช้อยู่มาแบ่งปันให้เพื่อนนักเขียนได้นำไปใช้ โดยหลักๆเเล้วมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ เรื่องเล่าที่ดีต้องมี ประเด็นปัญหา | จุดคลี่คลาย | และตอนจบ
1) เรื่องเล่าจะดูน่าติดตามมากขึ้นถ้ามีประเด็นปัญหาหรืออุปสรรค
ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาในบทความ “การติดกระจกทำให้ลิฟท์เร็วขึ้น” คือ หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ของตึกสำนักงานให้เช่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากหนักงานว่า “ลิฟท์ช้า” ซึ่งนับวันก็ยิ่งมีผู้มาร้องเรียนมากขึ้นจนปัญหาเริ่มบานปลายใหญ๋โต
2) ต่อมาถ้าอยากให้สนุก เรื่องที่เล่าจะต้องมีจุดพลิกผันให้เห็นว่าเรื่องนั้นจะคลี่คลายได้อย่างไรหรือที่เรียกกันว่า “จุดคลายแม็ก” เหมือนในหนังนั้นเเหละครับ
ซึ่งจุดคลายแม็กของบทความข้างต้นก็คือ ผู้จัดการค้นพบว่า “ปัญหาที่เเท้จริงไม่ใช่เพราะลิฟท์ช้า เเต่เป็นเพราะคนไม่ชอบประสบการณ์ตอนอยู่ในลิฟท์” ผู้จัดการจึงเเก้ปัญหาโดยการสั่งให้ช่างมาติด “กระจก” บานใหญ่บนผนังทุกด้านภายในลิฟท์ เพื่อให้คนใช้ลิฟท์ส่องกระจก จนไม่รู้สึกว่ากำลังรอลิฟท์นานๆ
3) และสุดท้ายก็ต้องบอกว่าเรื่องนั้นจะจบลงอย่างไร ซึ่งตอนจบของบทความที่ผมยกตัวอย่างก็ คือ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาลิฟท์ช้านั้นลดลงถึง 90% เพราะลึกๆเเล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบดูตัวเอง
ทั้งหมดนี้คือเทคนิคการเล่าเรื่องที่ผมนำมาใช้ เเละไม่ได้ใช้เฉพาะกับการเขียนเท่านั้น เเต่ยังรวมไปถึง สื่อสารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการพูด การวาด การทำคลิป หรือแม้แต่การแสดงออกทางร่างกายด้วย
เเละผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักเขียนทุกคนนะครับ
หากถูกใจบทความนี้ ก็อย่าลืมกดไลค์ กดเเชร์ เเละกดติดตามเพจ "สมองไหล" กันด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ ที่มีมาเสริฟให้คุณทุกวัน
ขอบคุณครับ 🙏
โฆษณา