12 พ.ย. 2019 เวลา 11:17 • ความคิดเห็น
อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น
...การจ้างงานเพื่อรับสังคมสูงวัยขั้นสุดยอด ?
คาดกันว่าในปี 2574 คนไทยทุกๆ 20 คนจะรับภาระดูแลผู้สูงอายุที่มีสภาวะติดบ้านติดเตียง 1 คน(1)..ล่าสุด มหาดไทยมีการประกาศระเบียบการจ้างงานในท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงวัยเหล่านี้ ในนาม"อาสาบริบาลท้องถิ่น" จึงขอชวนคิดว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์หรือไม่ อย่างไร
ภาพจาก 2
แรงบันดาลใจ เกิดจากการพบ ความลำบากใจรายวัน ระหว่างญาติผู้ดูแล กับฝ่ายโรงพยาบาล ในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยซึ่งผ่านช่วงวิกฤติแต่กลายเป็นติดเตียง
ผู้ป่วยเหล่านี้มักเป็นผู้สูงวัย เนื่องจากการฟื้นตัวของสมองภายหลังการเผชิญวิกฤติเกิดได้น้อย...
ฝ่ายญาติก็น่าเห็นใจ ที่สภาวะเศรษฐกิจบีบคั้น มีลูกน้อยเช่นนี้ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เจาะคอ, มีสายยางให้อาหาร กระทบชีวิตอย่างมาก
ฝ่ายโรงพยาบาลก็น่าเห็นใจ ที่จำนวนผู้ป่วยวิกฤติกว่าก็ต้องการเตียง..
ภาพจาก 1
ดูเป็นปัญหาที่ไม่มีทางออก จนเมื่ออ่านเจอข่าวนี้จึงหยิบยกมาสรุป และค่ะ
🌻 สรุปสาระสำคัญของ "อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น"
🍀ชื่อว่า "อาสาสมัคร" แต่มีค่าตอบแทนรายเดือนให้ 5000 ถึง 6000 บาท ในลักษณะว่าจ้างจากองค์การบริหารท้องถิ่น (ไม่ได้บรรจุราชการ)
🍀 ผู้มีสิทธิสมัครคือ ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่ไม่มีเงินเดือนประจำ (ดังนั้น ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พนักงานบริษัท จึงสมัครไม่ได้ค่ะ) และมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านในพื้นที่
🍀 ต้องผ่านการฝึกอบรม 70 ชั่วโมงของกรมอนามัย ก่อนจะได้รับเงินเดือน 5000
หลังจากนั้นภายใน 3 ปีต้องผ่านการอบรม 50 ชั่วโมงและสอบผ่านจะได้เป็น "นักบริบาลชุมชน" จึงจะได้ต่อสัญญา และได้เพิ่มเงินเดือนเป็น 6000
🍀ภาระงานคือการช่วยเหลือการดำเนินชีวิตผู้สูงอายุติดบ้าน(เช่น ออกไปซื้อของ ไปพบแพทย์เองไม่ได้) ในระดับ หรือการดูแล 'พื้นฐาน' เช่นช่วยอาบน้ำ ป้อนอาหาร ผู้ป่วยติดเตียง..วันละ 8 ชั่วโมง 20 วันต่อเดือน
1
🍀 แต่ละตำบลมีโควตาตำแหน่งอาสาฯ 1 คนต่อจำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงในท้องที่ 2 คน
รายละเอียดอ่านได้ในอ้างอิงที่ (2) และ (3) ค่ะ
ภาพจาก 2
🌻 ความเห็นส่วนตัว
🍀 รูปแบบนี้มีที่มาจาก 'ลำสนธิโมเดล' ของ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุไม่มีคนดูแล สมัยท่านเป็น ผอ.รพ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี ซึ่งประสบความสำเร็จดีมาก ด้วยแนวคิด "คนในชุมชนไม่ทิ้งกัน" (4)
ข้อดีคือโมเดลนี้ผ่านการปฎิบัติจริงในชุมชนหนึ่งมาแล้ว จึงน่าจะมีโอกาสสำเร็จสูงกว่าโมเดลที่นำมาจากต่างประเทศ โดยยังไม่เคยทดสอบกับบริบทไทยเลย
ภาพจาก 4
🍀 ดูจากค่าจ้างกับภาระงาน ตกชั่วโมงละ 32 บาท (5000 บาท/(8×20 ชั่วโมง) แล้วก็ยอมรับว่า จัดเป็น 'อาสาสมัคร' มากกว่าจะเรียกว่า 'อาชีพ'ค่ะ
จึงเป็นความท้าทายว่า ในแต่ละชุมชนจะมี 'จิตอาสา' มากน้อยเพียงไร
🍀 มีการอบรมที่ดูจะเข้มข้นทีเดียว คือ 70 ชั่วโมง ต่อด้วย 50 ชั่วโมง และมีการสอบด้วย
จึงไม่แน่ใจว่าจะเป็นข้อให้ผู้มาสมัครท้อใจหรือไม่ ต้องดูกันต่อไป และอยากให้เน้นปฎิบัติมากกว่าทฤษฎีค่ะ
🍀 ศักยภาพในการดูแลแบบ 'พื้นฐาน' ที่ไม่เกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์
อาจไม่ตอบโจทย์ผู้ป่วยที่สร้างความลำบากใจนัก เนื่องจากมักเป็นผู้ต้องการดูแลซับซ้อนขึ้น เช่น ดูดเสมหะ, ดูแลท่อให้อาหาร, ดูแลแผลกดทับ แต่ก็อาจ 'บรรเทา' งานของวิชาชีพลงได้บ้าง
⭐ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เห็นประกาศนี้แล้วคิดอย่างไรคะ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 🙂
Reference:
1.สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.dn.core-website.com › backendPDF
Untitled
โฆษณา