18 พ.ย. 2019 เวลา 01:06 • ประวัติศาสตร์
"แฝดสยาม อิน-จัน ผู้ไม่เคยยอมแพ้" ตอนที่ 3
นับตั้งแต่ที่แฝดสยามได้เดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อไปแสดงโชว์กับพ่อค้าชาวฝรั่ง
อิน-จัน ต่างพบกับความยากลำบากมากมาย
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้แฝดหนุ่มรู้สึกท้อแต่อย่างใด วันแล้ววันเล่า จากวันเป็นเดือน จากเดือนเคลื่อนย้ายสู่หลายปี และแล้ว!!
cr. dsciennc by mahadol
#วันที่รอคอยก็มาถึง
วันที่ 1 มิถุนายน 2375 อินและจันได้ปลดแอกตนเองจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้สำเร็จ
ที่กล่าวว่า ไม่เป็นธรรมนั้น ขอยกอ้างอิงมาจากหนังสือชื่อ Duet for a lifetime ซึ่งเขียนโดยทายาทรุ่นหลานของโรเบิร์ต ฮันเตอร์
ในเนื้อความบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า
ความตั้งใจเดิมของการเดินทางครั้งนั้น
เป็นเพียงการจากไปชั่วคราวเท่านั้น
ซึ่งเนื้อความตรงนี้ก็ไปสอดคล้องกับหนังสือ
"คู่กันนิรันดร์" ที่เล่าเรื่องสัญญาไว้ว่า
มีกำหนดการ กับระยะเวลาที่แจ้งไว้แตกต่างกัน
1
Desciennc by Mahidol
ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ต่างประเทศ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการให้ค่าตอบแทนที่นาย ฮันเตอร์
มอบแก่มารดาของ อิน -จัน ในครั้งนั้น
เท่ากับการซื้อตัวอิน-จัน ไปแล้วในแบบที่
อิน -จัน ก็ไม่ได้ทราบล่วงหน้ามาก่อนว่า
สัญญาฉบับนั้นจะเป็นสัญญาผูกมัดตนเองนานหลายปีทั้งที่ตอนแจ้งแก่มารดา มีระยะเวลาเพียงสั้นๆเท่านั้น
กลับมาในวันที่อิน -จัน ได้พบกับอิสระภาพ
ทั้งคู่ดีใจขนาดที่ว่า ยอมซื้อซิการ์ 500 มวน
แจกผู้คนเพื่อฉลองอิสระภาพที่ตนเองได้รับ และหลังจากนั้น อิน-จัน ก็กลายเป็น "นักแสดงโชว์" ที่ตระเวนออกแสดงทั่วสหรัฐและอังกฤษ
ฝรั่งเศล อิตาลี และประเทศยุโรป
อีกหลายๆประเทศ อิน -จัน ได้มีโอกาสไปเปิดแสดงโชว์ด้วยตัวเอง เริ่มพบปะผู้คนมากมาย
เริ่มเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวตะวันตก
ด้วยความที่ยังเป็นหนุ่มทั้งคู่ จึงรู้จักการดูแลตนเองมากขึ้น
เสื้อผ้าการแต่งกายของแฝดสยามคู่นี้ ก็ค่อยๆเปลี่ยนไปตามวัฒธรรมตะวันตกในช่วงนั้น
cr.wikipedia
ในช่วงนั้น อิน-จัน ตระเวนโชว์ตัว แทบไม่มีวันหยุดพักผ่อนเพื่อหวังจะเก็บเงินให้ได้มากที่สุดในช่วงที่ยังมีโอกาส
จนเมื่อกระทั่งทั้งคู่มีอายุ 28ปี
อิน-จัน ทำรายได้ทั้งหมดประมาณ 60,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
เมื่ออินและจัน มีเงินที่ได้จากการแสดงโชว์มากพอจึงยุติอาชีพนักแสดงโชว์ และตัดสินใจว่า
จะลงหลักปักฐานโดยการซื้อที่ดิน 50 เอเคอร์
เพื่อทำการเกษตร (ไร่ฝ้าย )
และย้ายไปอยู่ที่เมืองวิลเคสบอโร (Wilkesboro) มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา
อิน-จัน ได้ใช้เงินสร้างบ้านด้วยตัวเอง ซึ่งในขณะนั้น บ้านของแฝดสยามคู่นี้ ถือว่าเป็นบ้าน ที่ดูดี โอ่อ่าที่สุดในระแวกนั้น
cr.Desciennc Mahidol
และที่นี่เองที่แฝดอิน-จันจดทะเบียนชื่อสกุลเป็นบังเกอร์ (Bunker) ในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840)
เพื่อให้มีสิทธิเป็นชาวอเมริกันอย่างสมบูรณ์ เพราะทางการไม่ยอมให้โอนสัญชาติหากไม่มีชื่อสกุลเป็นคริสต์ จึงได้ร้องขอต่อเพื่อนสนิท
ขอใช้นามสกุลเพื่อเปลี่ยนสัญชาติ และเพื่อนรักของแฝดหนุ่มก็ไม่ได้อิดออดแต่อย่างใด กลับรู้สึกยินดีและเต็มใจให้ทั้งคู่ใช้นามสกุล บังเกอร์
และนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
อิน - จัน จึงเป็นที่รู้จักในชื่อ
อิน บังเกอร์ และ จัน บังเกอร์ นั่นเอง
และที่แห่งนี้ ในอาณาจักรของแฝดหนุ่ม
ทำให้เขาพบกับคู่ชีวิตคือ
Sarah Ann Yates
และ Adelaide Yates
cr.คมชัดลึก
แม้ทั้ง2 จะกลายเป็นคู่ชีวิตของแฝดหนุ่ม
แต่นี่ยังไม่ใช่รักแรกของแฝดสยาม
ส่วนรักแรกของทั้งคู่จะเป็นใครนั้น ?
และอิน-จัน พบรักกับภรรยาทั้ง 2 ได้อย่างไร
โปรดติดตามตอนต่อไป
เขียนนอกกรอบ เรียบเรียง
Ref. :
ท่านนิพัทธ์ ทองเล็ก
The Two: The Story of the Original Siamese Twins, Amy and Irving Wallace, Simon & Schuster, 1978,
ประวัติศาสตร์ชาติไทยก่อนและหลัง พ.ศ 2475
ประวัติแฝดสยามคู่แรกของโลกเกิดที่ประเทศไทย,คู่กันนิรันดร
เขียนนอกกรอบ
18/11/2019

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา